กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลตำบลนาทวีนอก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลนาทวีนอก

เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.)

1. นายอะหมัด หลีขาหรี
2. นายฟาริด เตะมาหมัด
3. นายหสัน คงหัส
4. นายดนรอมาน หลงสลำ
5. นายอาซาน เจ๊ะหมีด

โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ ตำบลนาทวี อำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของนักเรียนที่มีความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

 

60.00
2 จำนวนนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา

 

0.00
3 ชุดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าในระดับสถานศึกษา

 

0.00
4 ร้อยละของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า

 

20.00
5 จำนวนกลุ่มแกนนำนักเรียนที่มีบทบาทในการรณรงค์ป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา

 

0.00

สถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าของประเทศไทยในปัจจุบันค่อนข้างน่าเป็นห่วง แม้จะมีกฎหมายระบุชัดเจนถึงการห้ามขาย ห้ามนำเข้าบุหรี่ไฟฟ้า แต่สถานการณ์ปัจจุบันก็ยังพบว่ามีการขายอย่างแพร่หลาย และมีการเข้าถึงสถานศึกษา พบเด็กสูบบุหรี่ไฟฟ้าตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา มีการซื้อขายในโรงเรียน ครูบางคนยังไม่รู้จักและไม่รู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า ผู้ปกครองบางคนยังเข้าใจผิดคิดว่าบุหรี่ไฟฟ้าปลอดภัย จึงไม่ห้ามให้เด็กสูบ อีกทั้งผู้ขายหรือผู้ผลิตบุหรี่ไฟฟ้า ได้ปรับรูปแบบ ปรับกลิ่นให้เข้ากับเด็ก ๆ และวัยรุ่น ซึ่งมีรูปแบบคล้ายขนม ของเล่น อุปกรณ์การเรียน มีสีสันสดใส แต่แฝงไปด้วยอันตรายร้ายแรง
จากข้อมูลการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติปี 2564 พบว่ามีผู้สูบบุหรี่ไฟฟ้า 78,742 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 30.5 เป็นกลุ่มเยาวชนที่มีอายุระหว่าง 15-24 ปี ซึ่งขณะนี้บุหรี่ไฟฟ้าได้ระบาดมากขึ้นในเด็กอายุที่ต่ำลง ตัวเลขนี้ได้รับการยืนยันจาก ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ กล่าวถึงสถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนและคนไทยในปัจจุบัน พบว่าข้อมูลจากผลสำรวจในปี 2564-2565 บุหรี่ไฟฟ้ารุนแรงเพิ่มขึ้นจาก 80,000 คน เพิ่มมา 700,0000-800,000 คน ในกลุ่มอายุ 18-30 ปี
โดยผลการสำรวจการบริโภคผลิตภัณฑ์ยาสูบในเยาวชนไทยอายุ 13-15 ปี จำนวน 6,700 คน ในโรงเรียนทั่วประเทศ พบว่าปี 2565 เด็กไทยอายุ 13-15 ปี สูบบุหรี่ไฟฟ้า 17.6% เพิ่มขึ้น 5.3 เท่าจากปี 2558 ที่มีเพียง 3.3 % และเพิ่มขึ้นเป็น 25% ในปี 2566 ที่ผ่านมา อีกทั้งกลยุทธ์ส่งเสริมการขายผ่านสื่อออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย สะดวก รวดเร็ว ทำให้เด็กและเยาวชนถูกหลอกลวงได้ง่ายขึ้น โดยส่งผลกระทบต่อชีวิตและจิตใจของเด็กและเยาวชนไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ โดยงานวิจัยการสำรวจพฤติกรรมการสูบบุหรี่ฯ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ทั่วประเทศ จำนวน 6,045 ราย ในปี 2565 พบว่าเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้ามีแนวโน้มลองสูบบุหรี่ธรรมดา เพิ่มขึ้น 5 เท่า และมีแนวโน้มที่จะสูบทั้งบุหรี่ไฟฟ้าและบุหรี่ธรรมดาเพิ่มขึ้นถึง 7 เท่า ซึ่งเป็นการย้ำว่าบุหรี่ไฟฟ้าเป็นประตูสู่การสูบบุหรี่ธรรมดาและสารเสพติดชนิดอื่น ๆ
ทั้งนี้ ในแง่ของนโยบายของรัฐบาล คณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (คสช.) ได้มีมติเห็นชอบมติสมัชชาสุขภาพเฉพาะประเด็นว่าด้วยการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้า เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2567 ที่ผ่านมา ประกอบด้วย 5 มาตรการสำคัญ ได้แก่ 1.พัฒนาและจัดการองค์ความรู้ 2.สร้างการรับรู้ภยันตรายและการเสพติดของบุหรี่ไฟฟ้าแก่เด็ก เยาวชน และสาธารณชน 3.เฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 4.พัฒนาศักยภาพภาคีเครือข่ายเพื่อสนับสนุนมาตรการป้องกัน ควบคุมบุหรี่ไฟฟ้า 5.ยืนยันนโยบายและมาตรการป้องกันและปราบปรามการแพร่ระบาดบุหรี่ไฟฟ้า
สำหรับในเขตสุขภาพที่ 12 ซึ่งประกอบด้วย 7 จังหวัดภาคใต้ตอนล่าง (จังหวัดตรัง, พัทลุง, สตูล, สงขลา, ปัตตานี, ยะลา, และนราธิวาส) มีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเด็กและเยาวชนอยู่ที่ร้อยละ 8% ซึ่งน้อยกว่าภาพรวมของประเทศที่อยู่ที่ 9.1% โดยข้อมูลจากสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา (สคร.12) พบว่าการใช้บุหรี่ไฟฟ้าในนักเรียนมัธยมและเทียบเท่าในเขตพื้นที่ภาคใต้จำนวน 5,813 คน พบว่าร้อยละ 14.5 ของนักเรียนที่ตอบแบบสอบถาม เคยใช้บุหรี่ไฟฟ้า โดยพบว่านักเรียนชายมีการใช้บุหรี่ไฟฟ้าร้อยละ 19.6 มากกว่านักเรียนหญิงที่ใช้เพียงร้อยละ 11.2 อย่างไรก็ตามสัดส่วนการใช้ผลิตภัณฑ์ยาสูบในนักเรียนเพิ่มสูงขึ้นเกือบ 2 เท่า
ในการนี้ เครือข่ายสร้างเสริมสุขภาพเยาวชน (ขสย.) พื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง ในฐานะองค์กรภาคประชาสังคมที่ขับเคลื่อนงานด้านการสร้างเสริมสุขภาพโดยเฉพาะในกลุ่มเด็กและเยาวชน ได้ตระหนักและเล็งเห็นถึงสภาพปัญหาดังกล่าว จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการ “สานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าในพื้นที่เทศบาลตำบลนาทวีนอก” โดยบูรณาการความร่วมมือและทรัพยากรจากหน่วยงานต่าง ๆ ในเขตสุขภาพที่ 12เพื่อร่วมกันแก้ไขปัญหานำไปสู่การปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดจำนวนนักเรียนที่มีความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้า

ร้อยละของนักเรียนที่มีความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าลดลง

60.00 30.00
2 เพื่อเพิ่มจำนวนนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา

จำนวนนโยบายและมาตรการในการป้องกันและแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาเพิ่มขึ้น

0.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มชุดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าในระดับสถานศึกษา

ชุดข้อมูลสถานการณ์ปัญหาด้านบุหรี่ไฟฟ้าในระดับสถานศึกษาเพิ่มขึ้น

0.00 1.00
4 เพื่อเพิ่มจำนวนของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า

ร้อยละของนักเรียน ครู และผู้ปกครองที่มีความตระหนักรู้และรู้เท่าทันพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้าเพิ่มขึ้น

20.00 60.00
5 เพื่อเพิ่มจำนวนกลุ่มแกนนำนักเรียนที่มีบทบาทในการรณรงค์ป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา

จำนวนกลุ่มกลุ่มแกนนำนักเรียนที่มีบทบาทในการรณรงค์ป้องกันบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษาเพิ่มขึ้น

0.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ปกครอง ครู และผู้นำชุมชน 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 1 เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงาน จำนวน 10 คน เพื่อจัดตั้งคณะทำงาน กำหนดแนวทางในการดำเนินงาน และคัดกรองนักเรียนที่มีความเสี่ยงในการใช้บุหรี่ไฟฟ้าเข้าร่วมโครงการ ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน 10 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 600 บาท
2. ค่าอาหารว่าง 10 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 700 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 10 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท
4. ค่าไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม. เป็นเงิน 430 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 5 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา
  2. เกิดแนวทางในการดำเนินงานโครงการ
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2030.00

กิจกรรมที่ 2 เก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์

ชื่อกิจกรรม
เก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนโรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เก็บข้อมูลสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียน เช่น การใช้และการเข้าถึงบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียน การรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียน ครู และผู้ปกครอง สภาพแวดล้อมที่เกี่ยวข้องกับการใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียน โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลนักเรียน จำนวน 100 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 2000 บาท
2. ค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลครู จำนวน 50 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
3. ค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลร้านค้า จำนวน 5 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท
4. ค่าตอบแทนการเก็บข้อมูลผู้นำชุมชน จำนวน 5 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 100 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
10 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดชุดข้อมูลสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนในสถานศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3200.00

กิจกรรมที่ 3 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่นักเรียนระดับประถมศึกษา 100 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารว่าง จำนวน 100 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 7000 บาท
2. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 100 ชุด ชุดละ 30 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
3. ค่าตอบแทนวิทยากรบรรยาย 1 คน จำนวน 5 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรประจำฐาน 3 คน คนละ 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
5. ค่าวัสดุเครื่องเขียน เป็นเงิน 700 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
25 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 25 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ มีทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15500.00

กิจกรรมที่ 4 อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่ครูและผู้ปกครอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่ครูและผู้ปกครอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

อบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้าแก่ครูและผู้ปกครอง 50 คน
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 50 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 3000 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 3500 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการอบรม จำนวน 50 ชุด ชุดละ 20 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3600 บาท
5. ค่าวัสดุเครื่องเขียน เป็นเงิน 400 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
26 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 26 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ครูและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ มีทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
11500.00

กิจกรรมที่ 5 เวทีสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า

ชื่อกิจกรรม
เวทีสานพลังภาคีร่วมปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประสานความร่วมมือจัดทำมาตรการเชิงนโยบายในสถานศึกษาและชุมชนในการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้า โดยการสานเสวนาข้อมูลสถานการณ์บุหรี่ไฟฟ้าและคืนข้อมูลที่ได้จากการสำรวจ พร้อมประชุมจัดทำข้อตกลงร่วม
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 40 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 2400 บาท
2. ค่าอาหารว่าง จำนวน 40 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2800 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 40 ชุด ชุดละ 25 บาท เป็นเงิน 1000 บาท
4. ค่าตอบแทนวิทยากรเสวนา จำนวน 3 คนคนละ 1 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
27 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 27 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดมาตรการเชิงนโยบายในสถานศึกษาและชุมชนในการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าในรูปแบบข้อตกลงร่วมและกฎระเบียบของสถานศึกษา

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8000.00

กิจกรรมที่ 6 ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะทำงานครั้งที่ 2 เพื่อถอดบทเรียนการทำงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมคณะทำงานและผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 20 คน เพื่อถอดบทเรียนการทำงานโครงการ
ค่าใช้จ่าย
1. ค่าอาหารกลางวัน 30 คน คนละ 60 บาท เป็นเงิน 1800 บาท
2. ค่าอาหารว่าง 30 คน คนละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2100 บาท
3. ค่าเอกสารประกอบการประชุม จำนวน 20 ชุด ชุดละ 20บาท เป็นเงิน 400 บาท
4. ค่าวัสดุเครื่องเขียน เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
28 พฤษภาคม 2568 ถึง 28 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดข้อมูลบทเรียนการทำงานเพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4800.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,030.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เกิดคณะทำงานขับเคลื่อนการเฝ้าระวัง ป้องกัน และแก้ไขปัญหาบุหรี่ไฟฟ้าในสถานศึกษา
2. เกิดชุดข้อมูลสถานการณ์การใช้บุหรี่ไฟฟ้าของนักเรียนในสถานศึกษา
3. นักเรียนระดับประถมศึกษา โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ มีทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า
4. ครูและผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนสมบูรณ์ศาสน์ มีทักษะการรู้เท่าทันบุหรี่ไฟฟ้า
5. เกิดมาตรการเชิงนโยบายในสถานศึกษาและชุมชนในการปกป้องเด็กและเยาวชนจากภัยบุหรี่ไฟฟ้าในรูปแบบข้อตกลงร่วมและกฎระเบียบของสถานศึกษา
6. เกิดข้อมูลบทเรียนการทำงานเพื่อนำไปใช้ในการขับเคลื่อนการปกป้องเด็กและเยาวชนจากบุหรี่ไฟฟ้าต่อไป


>