2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมากการบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาดังนั้นการส่งเสริมด้านภาวะโภชนาการให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง
จากรายงานของระบบ Health Data Center จังหวัดสตูล พบว่าอำเภอเมือง ปีพ.ศ. 2562-2567 พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 52.55 , 55.68 , 49.2 , 44.54 , 45.86 และ 56.48 ตามลำดับ ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สูงดีสมส่วน≥ ร้อยละ 57 ) มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 14.36 , 12.11 , 14.06 , 18.11 , 14.9 และ 15.42 ตามลำดับ สูงกว่าค่าเป้าหมาย (เริ่มอ้วนและอ้วน ≤ ร้อยละ 10 ) ซึ่งตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จากรายงาน Health Data Center (HDC) พบว่า ร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน (6-14 ปี) มีแนวโน้มลดลง ในปีพ.ศ. 2562-2567 เท่ากับ ร้อยละ 58.79 , 56.05 , 49.2 , 46.5 , 45.86 และ 52.96 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 57) และพบว่ามีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปีพ.ศ. 2562 - 2567 เกินกว่าเป้าหมาย เท่ากับ ร้อยละ 13.01,11.93 , 12.74 , 14.06 , 16.01 และ 14.34 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10) และมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 10.97 , 17.02 , 7.03 , 4.98 , 5.58 และ 8.54 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 9.5) มีภาวะผอม ร้อยละ 6.91 , 4.59 , 5.37 , 5.67 , 5.83 และ 5.86 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5)
จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล จึงได้จัดทำโครงการเด็กพิมานเท่ หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายต่อไป
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/04/2025
กำหนดเสร็จ 31/08/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
2. ปัญหาภาวะโภชนาการ (อ้วนและเริ่มอ้วน) ลดลง
3. มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน