โครงการเด็กพิมานเท่ห์ หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง ปีงบประมาน 2568
ชื่อโครงการ | โครงการเด็กพิมานเท่ห์ หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง ปีงบประมาน 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8008-01-15 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานเวชกรรมสังคม |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 32,351.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวปฤษณา สิตะรุโณ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 32,351.00 | |||
รวมงบประมาณ | 32,351.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 30 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ปี 2567 นักเรียนพื้นที่อำเภอเมืองสตูลมีภาวะอ้วนสูงกว่าเกณฑ์ (ไม่ควรเกินร้อยละ 10) | 15.42 | ||
2 | ปี 2567 นักเรียนในพื้นที่อำเเภอเมืองสูงดี สมส่วน ต่ำกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (≥ ร้อยละ 57 ) | 56.48 | ||
3 | ปี 2567 นักเรียนในเขตพื้นที่อำเภอเมืองสตูล มีภาวะเริ่มอ้วน และอ้วนสูงกว่าเกณฑ์ (ไม่เกินร้อยละ 10) | 14.34 | ||
4 | ปี 2567 นักเรียนในพื้นที่อำเภอเมืองสตูล มีภาวะผอมเกินเกณฑ์ที่กำหนเ (เกณฑ์ไม่ควรเกินร้อยละ 5) | 5.86 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
ปัจจุบันสภาวะเศรษฐกิจและสังคมไทยได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมากทำให้วิถีชีวิตคนไทยเปลี่ยนสู่ความเป็นสังคมเมืองที่เต็มไปด้วยความเร่งรีบ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวมีผลกระทบต่อแบบแผนการบริโภคอาหารของครอบครัวและเด็กวัยเรียนเป็นอย่างมากการบริโภคอาหารที่ต้องอาศัยความรวดเร็วเพื่อความสะดวกต่อการดำรงชีพ ทำให้เกิดค่านิยมใหม่ในเรื่องการบริโภคอาหารประเภทจานด่วน อาหารสำเร็จรูป อาหารกึ่งสำเร็จรูป เข้ามามีบทบาทเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะกับเด็กวัยเรียน ซึ่งอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่จะมีแป้ง น้ำตาล และไขมันสูง ประกอบกับความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ รวมทั้งการติดเกมส์ทำให้เด็กวัยเรียนมีการเคลื่อนไหวและออกกำลังกายน้อยลง องค์ประกอบเหล่านี้ เป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนอันตรายของโรคอ้วนในเด็กซึ่งโรคอ้วนในเด็กกำลังเป็นปัญหาสำคัญที่เพิ่มขึ้นในประเทศที่พัฒนาและกำลังพัฒนาดังนั้นการส่งเสริมด้านภาวะโภชนาการให้เด็กวัยเรียนได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการ ครบถ้วนเหมาะสมตามวัย ทำให้เด็กมีการเจริญเติบโตที่ดีทั้งร่างกายและสมอง
จากรายงานของระบบ Health Data Center จังหวัดสตูล พบว่าอำเภอเมือง ปีพ.ศ. 2562-2567 พบภาวะโภชนาการของเด็กวัยเรียนอายุ 6-14 ปีสูงดีสมส่วนเพียง ร้อยละ 52.55 , 55.68 , 49.2 , 44.54 , 45.86 และ 56.48 ตามลำดับ ต่ำกว่าค่าเป้าหมาย (สูงดีสมส่วน≥ ร้อยละ 57 ) มีภาวะอ้วนและเริ่มอ้วน ร้อยละ 14.36 , 12.11 , 14.06 , 18.11 , 14.9 และ 15.42 ตามลำดับ สูงกว่าค่าเป้าหมาย (เริ่มอ้วนและอ้วน ≤ ร้อยละ 10 ) ซึ่งตำบลพิมาน อำเภอเมือง จังหวัดสตูล จากรายงาน Health Data Center (HDC) พบว่า ร้อยละของเด็กวัยเรียนสูงดีสมส่วน (6-14 ปี) มีแนวโน้มลดลง ในปีพ.ศ. 2562-2567 เท่ากับ ร้อยละ 58.79 , 56.05 , 49.2 , 46.5 , 45.86 และ 52.96 ตามลำดับซึ่งต่ำกว่าเกณฑ์เป้าหมาย (ร้อยละ 57) และพบว่ามีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน ปีพ.ศ. 2562 - 2567 เกินกว่าเป้าหมาย เท่ากับ ร้อยละ 13.01,11.93 , 12.74 , 14.06 , 16.01 และ 14.34 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 10) และมีภาวะเตี้ย ร้อยละ 10.97 , 17.02 , 7.03 , 4.98 , 5.58 และ 8.54 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 9.5) มีภาวะผอม ร้อยละ 6.91 , 4.59 , 5.37 , 5.67 , 5.83 และ 5.86 (เป้าหมายไม่เกินร้อยละ 5)
จากสถานการณ์ดังกล่าว กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล จึงได้จัดทำโครงการเด็กพิมานเท่ หุ่นดี สุขภาพแข็งแรง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกายต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเสริมสร้างให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายมีความรู้ความเข้าใจเรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารผ่านเกณฑ์หลังการอบรบ |
0.00 | 30.00 |
2 | เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายมีส่วนร่วมในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร ร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมายมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหารหลังการอบรม(10 คน) |
0.00 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 32,351.00 | 0 | 0.00 | |
1 - 30 เม.ย. 68 | ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการส่งเสริมสุขภาพกลุ่มวัยเรียน | 0 | 8,175.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการดูแลหุ่นสวยด้วยตนเองในเด็กวัยเรียนที่มีภาวะเริ่มอ้วนและอ้วน | 0 | 13,350.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | อบรมเชิงปฏิบัติการติดตามหนูน้อยอยากผอม | 0 | 10,826.00 | - | ||
1 ก.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 | พัฒนาระบบการส่งต่อเด็กนักเรียนที่มีปัญหาด้านภาวะโภชนาการ | 0 | 0.00 | - |
- นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
- ปัญหาภาวะโภชนาการ (อ้วนและเริ่มอ้วน) ลดลง
- มีเครือข่ายเฝ้าระวังภาวะโภชนาการในเด็กวัยเรียนในโรงเรียน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.