กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล
1.นางสาวอารมย์ พูลภักดี 089-8778873
2.นางสาวสุพรรษา อึ้งพินิจ 084-9652102
3.นางสาวธิดารัตน์ ตันตระกูล 064-8870026

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 สำรวจเด็กและประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลทั้งหมด จำนวน 80 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัย ได้กลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 10 คน

 

10.00
2 สำรวจเด็กและประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลทั้งหมด จำนวน 80 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัย ได้กลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน

 

10.00

การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทซบาลเมืองสตูล จึงได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล วัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีโภชนาการเกินทางงานอนามัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเป็นสำคัญ จึงจัดให้มีการประเมินโภชนาการในเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี เพื่อให้ทราบว่าเด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือไม่ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด - 5 ปี เปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการเจริญเติบโต เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของเด็กรายบุคคล อย่างสม่าเสมออย่างน้อย ทุก ๆ 3 เดือน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินได้รับการปรับเปลี่ยนด้านโภชนาการ

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนโภชนาการในโรงเรียน

10.00 10.00
2 เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลด้านโภชนาการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน

ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนโภชนาการในโรงเรียน

10.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน 20
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สำรวจเด็กและประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง เด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล จำนวน 81 คน ดังนี้
1.สำรวจเด็ก และประเมิน สำรวจเด็ก และประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลทั้งหมด จำนวน 81 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัยได้กลุ่มเป้าหมายทั้งหมดจำนวน20คน
- บันทึกผลการประเมิน/แปรผลด้วยโปรแกรมประเมินภาวะโภชนาการ
2.แจ้งข้อมูลให้กับผู้ปกครองสำหรับเด็กที่มีภาวะโภชนาการ เพื่อให้ได้รับการดูแลและแก้ไขซึ่งต้องอาศัยความร่วมมือจากผู้ปกครอง

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ได้กลุ่มเป้าหมายเด็กเล็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 20 คน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย

ชื่อกิจกรรม
จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เชิญวิทยากรให้ความรู้แก่ผู้ปกครองเพื่อช่วยปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้แก่เด็กกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน
เพื่อให้ความรู้ด้านโภชนาการ อาหารดีมีประโยชน์ และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคให้แก่ผู้ปกครองรับทราบและให้ความร่วมมือกับทางศูนย์เด็กเล็กในการดูแลเด็กกลุ่มเป้าหมาย
งบประมาณ
1.ค่าไวนิลป้ายโครงการ ขนาด 2 x 1 เมตร จำนวน 400 บาท
2.ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
3.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้ปกครอง จำนวน 20 ชุดๆละ 30 บาท เป็นเงิน 600 บาท
กำหนดการอบรม
08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น. อบรมให้ความรู้แก่ผู้ปกครอง โดยวิทยากร
10.00 - 11.00 น. แบ่งผู้ปกครองและครูผู้ดูแลเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
กลุ่มที่ 1 ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะทุพโภชนาการ
กลุ่มที่ 2 ผู้ปกครองของนักเรียนที่มีภาวะโภชนาการเกิน
11.00 -12.00 น. สรุปประเด็นที่ผู้ปกครองต้องไปติดตามดูแลเด็กที่บ้าน
12.00น. ปิดการอบรม
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม

ระยะเวลาดำเนินงาน
20 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ปกครองนักเรียนกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 20 คน เข้าร่วมการอบรมให้ความรู้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2200.00

กิจกรรมที่ 3 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม
1.จัดอาหารเสริมแก่เด็กเล็ก 10 คน ที่มีน้ำหนักตัวต่ำกว่าเกณฑ์หรือส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์หรือค่อนข้างผอม เตี้ย และผอม ระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน โดยการเสริม(ไข่ต้ม1ฟอง/นม1กล่อง/วัน/คน) เป็นเวลา 60 วัน งบประมาณ
1.1 ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคา 5 บาท ต่อเด็ก 1 คน / วันจัดอาหารให้เด็ก 10 คน เป็นเวลา 60 วัน รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
1.2 นมกล่อง 1 กล่อง ราคา 7 บาท ต่อเด็ก 1 คน / วันจัดอาหารให้เด็ก 10 คน เป็นเวลา 60 วัน รวมเป็นเงิน 4,200 บาท รวมเป็นเงิน 7,200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายที่มีภาวะทุพโภชนาการ 10 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 4 ปรับพฤติกรรมการทานของเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน

ชื่อกิจกรรม
ปรับพฤติกรรมการทานของเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รูปแบบกิจกรรม จัดอาหารเสริมแก่เด็กเล็ก 10 คน ที่มีน้ำหนักตัวมากกว่าเกณฑ์หรืออ้วนหรือเริ่มอ้วนและท้วม ระยะเวลา 3 เดือนติดต่อกัน โดยการเสริม(ไข่ต้ม1ฟอง/นม1กล่อง/วัน/คน) เป็นเวลา 60 วัน
งบประมาณ
1. ไข่ไก่ 1 ฟอง ราคา 5 บาท ต่อเด็ก 1 คน / วันจัดอาหารให้เด็ก 10 คน เป็นเวลา 60 วัน รวมเป็นเงิน 3,000 บาท
2. นมกล่อง 1 กล่อง ราคา 7 บาท ต่อเด็ก 1 คน / วันจัดอาหารให้เด็ก 10 คน เป็นเวลา 60 วัน รวมเป็นเงิน 4,200 บาท
รวมเป็นเงิน 7,200 บาท
3. ปรับการทาน ลดการบริโภคน้ำตาล ของหวาน
4. จัดกิจกรรมการเคลื่อนไหวและออกกำลังกาย ในชั่วโมงการเรียนการสอน เป็นเวลา 60 วัน

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 มีนาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

นักเรียนกลุ่มเป้าหมายภาวะโภชนาการเกิน 10 คน ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 60 วัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7200.00

กิจกรรมที่ 5 ติดตามประเมินผล เยี่ยมบ้าน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามประเมินผล เยี่ยมบ้าน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ติดตามเยี่ยมบ้านเด็กกลุ่มเป้าหมายเพื่อประเมินพฤติกรรมเด็กและการดูแลเด็กที่บ้านร่วมกับผู้ปกครอง
2.ประเมินภาวะโภชนาการของเด็กกลุ่มเป้าหมายด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็ก

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มิถุนายน 2568 ถึง 30 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เด็กเล็กกลุ่มเป้าหมาย 20 คน ได้รับการประเมินผล ติดตาม เยี่ยมบ้าน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 16,600.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
2.มีการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนภายในศูนย์เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง


>