โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล |
รหัสโครงการ | 68-L8008-03-09 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 3 สนับสนุนหน่วยงานที่มีหน้ารับผิดชอบเกี่ยวกับเด็ก ผู้สูงอายุ และคนพิการ |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล |
วันที่อนุมัติ | 10 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 มิถุนายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 กรกฎาคม 2568 |
งบประมาณ | 16,600.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอารมย์ พูลภักดี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ก.พ. 2568 | 30 มิ.ย. 2568 | 16,600.00 | |||
รวมงบประมาณ | 16,600.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน | 20 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | สำรวจเด็กและประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลทั้งหมด จำนวน 80 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัย ได้กลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการเกิน จำนวน 10 คน | 10.00 | ||
2 | สำรวจเด็กและประเมินภาวะโภชนาการด้วยการชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูงเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลทั้งหมด จำนวน 80 คน ด้วยโปรแกรมคำนวณภาวะโภชนาการของกรมอนามัย ได้กลุ่มเป้าหมายในการแก้ไขปัญหาภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 10 คน | 10.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การเสริมสร้างสุขภาพกับการศึกษา เป็นสิ่งที่จะต้องดำเนินการควบคู่กันไป การพัฒนาเด็กและเยาวชน จึงอยู่ที่กระบวนการจัดการศึกษาและการสร้างสุขภาพ ภายใต้ความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง นับตั้งแต่ระดับครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและองค์กรในท้องถิ่น ซึ่งจะต้องมีการประสานความร่วมมือ ประสานประโยชน์ที่เอื้อต่อการพัฒนาเด็กให้มีสุขภาพกาย สุขภาพจิตที่ดี สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมอย่างมีความสุขและปลอดภัย ซึ่งโรงเรียนก็เป็นสถาบันหนึ่งของสังคมมีหน้าที่ให้ความรู้และพัฒนาคนให้มีสุขภาพและศักยภาพที่ดีสามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข นอกจากการให้การศึกษาแล้วการส่งเสริมสุขภาพอนามัยในโรงเรียน เป็นปัจจัยสำคัญในการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนที่จะเจริญเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า การส่งเสริมสุขภาพ การดูแลสุขภาพอนามัยแก่นักเรียน การให้บริการด้านสุขภาพอนามัย การให้ความรู้ด้านสุขภาพตามสุขบัญญัติ สามารถดำรงชีวิตอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทซบาลเมืองสตูล จึงได้จัดโครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาภาวะโภชนาการในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูล วัตถุประสงค์เพื่อแก้ปัญหาเด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการและเด็กที่มีโภชนาการเกินทางงานอนามัยศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลเมืองสตูลได้เล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเป็นสำคัญ จึงจัดให้มีการประเมินโภชนาการในเด็กอายุ 2 ปี 6 เดือน ถึง 3 ปี เพื่อให้ทราบว่าเด็กได้รับสารอาหารที่เพียงพอหรือไม่ทั้งนี้ การเจริญเติบโตของเด็กแรกเกิด - 5 ปี เปลี่ยนแปลงได้ง่าย จึงจำเป็นต้องมีการประเมินการเจริญเติบโต เพื่อติดตามการเปลี่ยนแปลงการเจริญเติบโตของเด็กรายบุคคล อย่างสม่าเสมออย่างน้อย ทุก ๆ 3 เดือน
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อให้เด็กที่มีภาวะโภชนาการเกินได้รับการปรับเปลี่ยนด้านโภชนาการ ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนโภชนาการในโรงเรียน |
10.00 | 10.00 |
2 | เพื่อให้เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการได้รับการดูแลด้านโภชนาการให้ได้ตามเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมายได้รับการปรับเปลี่ยนโภชนาการในโรงเรียน |
10.00 | 10.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 16,600.00 | 1 | 0.00 | |
3 - 28 ก.พ. 68 | สำรวจภาวะโภชนาการของนักเรียน | 0 | 0.00 | ✔ | 0.00 | |
20 - 28 ก.พ. 68 | จัดประชุมให้ความรู้แก่ผู้ปกครองนักเรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย | 0 | 2,200.00 | - | ||
3 - 31 มี.ค. 68 | ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมให้แก่เด็กที่มีภาวะทุพโภชนาการ | 0 | 7,200.00 | - | ||
3 มี.ค. 68 - 31 พ.ค. 68 | ปรับพฤติกรรมการทานของเด็กเล็กที่มีภาวะโภชนาการเกิน | 0 | 7,200.00 | - | ||
1 - 30 มิ.ย. 68 | ติดตามประเมินผล เยี่ยมบ้าน | 0 | 0.00 | - |
1.นักเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 20 คน มีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น
2.มีการติดตามภาวะโภชนาการของนักเรียนภายในศูนย์เด็กเล็กอย่างต่อเนื่อง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.