กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำ ปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล
กลุ่มคน
1. นางสาวอุษณามรรคาเขตผู้รับผิดชอบโครงการ089-6532553
2. นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด หัวหน้างาน
3.
หลักการและเหตุผล

การจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิตจากสาเหตุการบาดเจ็บ (Injury) โดยทั่วโลกพบว่าคนที่จมน้ำเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) สำหรับประเทศไทยในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อจากข้อมูลค่าเฉลี่ยใน 10 ปีพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตทุกสาเหตุ โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 - 2564) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 7,374 คนเฉลี่ยปีละ737 คน หรือวันละ 2 คนอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนจากการตกน้ำจมน้ำ อยู่ในช่วง 5.0 – 8.6 เพศชายเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิง 2 เท่าตัวอัตราป่วยตาย (Case Fatality Rate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 29.2 กลุ่มเด็กอายุ 5 – 9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดรองลงไปคือกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มอายุ 10 -14 ปี ช่วงฤดูร้อนและปิดภาคการศึกษา (มีนาคม - พฤษภาคม และตุลาคม )วันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์) และช่วงเวลา 12.00 – 17.59 น. เป็นช่วงที่มีการเกิดเหตุสูงสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดแหล่งน้ำที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ แหล่งน้ำขุดเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำธรรมชาติ การจมน้ำของเด็กอายุ 15 ปี เป็นสาเหตุของความสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability – Adjusted Life Year : DALY) อันดับ 3 ในเด็กชาย (DALY = 26,000 ปี) และอันดับที่ 6 ในเด็กหญิง (DALY = 10,000 ปี) ปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ รวมทั้งมีหลายปัจจัยร่วมกันซึ่งการดำเนินงานเพียงมาตรการเดียว ไม่ช่วยทำให้การจมน้ำเสียชีวิตลดลงมากนักจำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลากหลายมาตรการร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสตูลมีประชากรเด็กเฉลี่ย 3 ปี (พ.ศ. 2559- 2561) จำนวน75,448 ราย พบอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยร้อยละ 10.2ทำให้อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มอายุ 0 - 15 ปี เพิ่มมากขึ้นในทุกปี พบในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนและแนวโน้มของเด็กจมน้ำสูงขึ้นในทุกปีเนื่องจากช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา ระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาตำบลพิมานไม่พบผู้ป่วยเด็กอายุ0 – 15 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำหรือผลัดตกจากการจมน้ำ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุ 0 -15 ปี ในเขตตำบลพิมานพบว่า 3 ปีที่ผ่านมาไม่พบผู้ป่วยจมน้ำที่เสียชีวิตจากการพลัดตกน้ำ ทางกลุ่มงานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความตระหนักให้เกิดแกนนำนักเรียนตำบลพิมานเพื่อสร้างทีมผู้ก่อการดีตำบลพิมานสามารถได้รับความรู้ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนได้ในกรณีที่เกิดเหตุจมน้ำ

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนและผ่านอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ(50 คน)
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 50.00
  • 2. ไม่มีอุบัติการณ์การจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
    ตัวชี้วัด : อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในเขตตำบลพิมาน ไม่เกิน 2.5 คน/แสนประชากร
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 0.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการ CPR
    รายละเอียด

    รับสมัครกลุ่มเป้าหมายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม)
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมวิทยากรคณะทำงานจำนวน70 คน x 70บาทx1วัน เป็นเงิน 4,900 บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมวิทยากรคณะทำงานจำนวน70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500บาท
    - ค่าธรรมเนียมเช่าสระว่ายน้ำเทศบาลเมืองสตูล เป็นเงิน 2,000บาท
    - ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน 2,000บาท
    - ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 1คน x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน1,800บาท
    - ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มปฏิบัติ ชม.ละ 300 บาท x 4 คน x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
    - ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ชิ้น (ขนาด 1.20 เมตร x 2.40 เมตร) แผ่นละ 432 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 432 บาท
    - ค่าเกียรติบัตรจำนวน 50 ใบ x 25 บาทเป็นเงิน1,250 บาท
    กำหนดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ห้องประชุมกิจกรรมนันทนาการและสระว่ายน้ำศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา เทศบาลเมืองสตูล
    08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
    08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดการอบรม โดยประธานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสตูล
    09.00 - 10.30 น.ความปลอดภัยทางน้ำ(Water Safety Knowledge)การเอาชีวิตและพื้นฐานการว่ายน้ำ (Swim and Service)การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย
    10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
    10.45 - 12.00 น. หลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 16.30 น. ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
    - กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
    - กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
    - กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
    - กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
    โดยนายสาโรจน์ ศรีน้อย (หัวหน้าทีม) , นางสาวชุติมา บุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ดาราหมาน
    หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
    พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.30 น. และ 14.45 น.

    งบประมาณ 19,482.00 บาท
  • 2. จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR
    รายละเอียด

    แกนนำนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) ฝึกปฏิบัติการช่วย CPR
    งบประมาณ
    - ค่าอาหารกลางวัน70 คน x 70 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 4,900บาท
    - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500บาท
    - ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มปฏิบัติ ชม.ละ 300 บาท x 4 คน x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 7,200 บาท
    - ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

    กำหนดการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ห้องประชุมกิจกรรมนันทนาการและสระว่ายน้ำศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา เทศบาลเมืองสตูล
    08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
    08.30 - 12.00 น.ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
    - กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
    - กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
    - กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
    - กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
    โดยนายสาโรจน์ ศรีน้อย (หัวหน้าทีม),นางสาวชุติมา บุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ ดาราหมาน
    12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
    13.00 - 1ุ6.00 น. ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว (ต่อ)
    - กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
    - กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
    - กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
    - กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
    โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย (หัวหน้าทีม) , นางสาวชุติมาบุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ ดาราหมาน
    16.00 น. เสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติ
    หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม / พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเวลา 10.30 น. และ 15.00 น.

    งบประมาณ 16,100.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน 50 คน

ฝึกทักษะการเอาตัวรอดในน้ำ และการช่วยฟื้นคืนชีพขั้นต้น

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

แกนนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 50 คน/ คณะทำงาน จำนวน 20 คน รวม 70 คน

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 35,582.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ ร้อยละ 100
  2. ไม่เกิดการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 35,582.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................