กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล

1. นางสาวอุษณามรรคาเขตผู้รับผิดชอบโครงการ089-6532553
2. นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด หัวหน้างาน

แกนนำนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนเทศบาล 2 จำนวน 50 คน/ คณะทำงาน จำนวน 20 คน รวม 70 คน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ

 

50.00

การจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิตจากสาเหตุการบาดเจ็บ (Injury) โดยทั่วโลกพบว่าคนที่จมน้ำเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) สำหรับประเทศไทยในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อจากข้อมูลค่าเฉลี่ยใน 10 ปีพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตทุกสาเหตุ โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 - 2564) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 7,374 คนเฉลี่ยปีละ737 คน หรือวันละ 2 คนอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนจากการตกน้ำจมน้ำ อยู่ในช่วง 5.0 – 8.6 เพศชายเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิง 2 เท่าตัวอัตราป่วยตาย (Case Fatality Rate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 29.2 กลุ่มเด็กอายุ 5 – 9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดรองลงไปคือกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มอายุ 10 -14 ปี ช่วงฤดูร้อนและปิดภาคการศึกษา (มีนาคม - พฤษภาคม และตุลาคม )วันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์) และช่วงเวลา 12.00 – 17.59 น. เป็นช่วงที่มีการเกิดเหตุสูงสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดแหล่งน้ำที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ แหล่งน้ำขุดเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำธรรมชาติ การจมน้ำของเด็กอายุ 15 ปี เป็นสาเหตุของความสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability – Adjusted Life Year : DALY) อันดับ 3 ในเด็กชาย (DALY = 26,000 ปี) และอันดับที่ 6 ในเด็กหญิง (DALY = 10,000 ปี) ปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ รวมทั้งมีหลายปัจจัยร่วมกันซึ่งการดำเนินงานเพียงมาตรการเดียว ไม่ช่วยทำให้การจมน้ำเสียชีวิตลดลงมากนักจำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลากหลายมาตรการร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสตูลมีประชากรเด็กเฉลี่ย 3 ปี (พ.ศ. 2559- 2561) จำนวน75,448 ราย พบอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยร้อยละ 10.2ทำให้อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มอายุ 0 - 15 ปี เพิ่มมากขึ้นในทุกปี พบในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนและแนวโน้มของเด็กจมน้ำสูงขึ้นในทุกปีเนื่องจากช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา ระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาตำบลพิมานไม่พบผู้ป่วยเด็กอายุ0 – 15 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำหรือผลัดตกจากการจมน้ำ
จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุ 0 -15 ปี ในเขตตำบลพิมานพบว่า 3 ปีที่ผ่านมาไม่พบผู้ป่วยจมน้ำที่เสียชีวิตจากการพลัดตกน้ำ ทางกลุ่มงานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความตระหนักให้เกิดแกนนำนักเรียนตำบลพิมานเพื่อสร้างทีมผู้ก่อการดีตำบลพิมานสามารถได้รับความรู้ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนได้ในกรณีที่เกิดเหตุจมน้ำ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนและผ่านอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ

ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ(50 คน)

0.00 50.00
2 ไม่มีอุบัติการณ์การจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี

อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในเขตตำบลพิมาน ไม่เกิน 2.5 คน/แสนประชากร

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการ CPR

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการ CPR
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รับสมัครกลุ่มเป้าหมายระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม)
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมวิทยากรคณะทำงานจำนวน70 คน x 70บาทx1วัน เป็นเงิน 4,900 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มผู้เข้าอบรมวิทยากรคณะทำงานจำนวน70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500บาท
- ค่าธรรมเนียมเช่าสระว่ายน้ำเทศบาลเมืองสตูล เป็นเงิน 2,000บาท
- ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการจัดอบรม เป็นเงิน 2,000บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรบรรยาย 600 บาท x 1คน x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน1,800บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มปฏิบัติ ชม.ละ 300 บาท x 4 คน x 3 ชั่วโมงเป็นเงิน 3,600 บาท
- ค่าป้ายไวนิลประชาสัมพันธ์โครงการ 1 ชิ้น (ขนาด 1.20 เมตร x 2.40 เมตร) แผ่นละ 432 บาท จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 432 บาท
- ค่าเกียรติบัตรจำนวน 50 ใบ x 25 บาทเป็นเงิน1,250 บาท
กำหนดการอบรมโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ห้องประชุมกิจกรรมนันทนาการและสระว่ายน้ำศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา เทศบาลเมืองสตูล
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
08.30 - 09.00 น. พิธีเปิดการอบรม โดยประธานคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพเทศบาลเมืองสตูล
09.00 - 10.30 น.ความปลอดภัยทางน้ำ(Water Safety Knowledge)การเอาชีวิตและพื้นฐานการว่ายน้ำ (Swim and Service)การให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางน้ำ (Water Rescue) โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย
10.30 - 10.45 น. พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
10.45 - 12.00 น. หลักสูตรการช่วยฟื้นคืนชีพ (CPR) โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 16.30 น. ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
- กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
- กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
- กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
- กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
โดยนายสาโรจน์ ศรีน้อย (หัวหน้าทีม) , นางสาวชุติมา บุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ดาราหมาน
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม
พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10.30 น. และ 14.45 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการ CPR

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
19482.00

กิจกรรมที่ 2 จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR

ชื่อกิจกรรม
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำนักเรียนโรงเรียนเทศบาล 2 (วัดชนาธิปเฉลิม) ฝึกปฏิบัติการช่วย CPR
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน70 คน x 70 บาท x 1 วัน เป็นเงิน 4,900บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คน x 25 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 3,500บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรกลุ่มปฏิบัติ ชม.ละ 300 บาท x 4 คน x 6 ชั่วโมงเป็นเงิน 7,200 บาท
- ค่าถ่ายเอกสารและเข้าเล่มสรุปผลการดำเนินโครงการจำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

กำหนดการอบรม โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ห้องประชุมกิจกรรมนันทนาการและสระว่ายน้ำศูนย์วิทยาศาสตร์การกีฬา เทศบาลเมืองสตูล
08.00 - 08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม
08.30 - 12.00 น.ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
- กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
- กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
- กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
- กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
โดยนายสาโรจน์ ศรีน้อย (หัวหน้าทีม),นางสาวชุติมา บุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ ดาราหมาน
12.00 - 13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 1ุ6.00 น. ฝึกปฏิบัติการทดสอบทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว (ต่อ)
- กลุ่ม 1 ฝึกปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขการกอดรัด
- กลุ่ม 2 ฝึกปฏิบัติการช่วยประสบทางน้ำและสถานการณ์สมมติ
- กลุ่ม 3 ฝึกปฏิบัติการเอาชีวิตรอดในน้ำ
- กลุ่ม 4 ฝึกทดสอบรายบุคคลทักษะการว่ายน้ำและการลอยตัว
โดยนายสาโรจน์ศรีน้อย (หัวหน้าทีม) , นางสาวชุติมาบุญเรือง (ผู้ช่วยหัวหน้าทีม) ,นายภัทรวรรธน์ฝ่ายมะลิทอง,น.ส.นูรบารียะห์ ดาราหมาน
16.00 น. เสร็จสิ้นการฝึกปฏิบัติ
หมายเหตุ กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงตามความเหมาะสม / พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่มเวลา 10.30 น. และ 15.00 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้และผ่านการอบรมหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16100.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 35,582.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ ร้อยละ 100
2. ไม่เกิดการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี


>