โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำ ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำ ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L8008-01-18 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล |
วันที่อนุมัติ | 26 มีนาคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 31 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 35,582.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอุษณา มรรคาเขต |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 เม.ย. 2568 | 31 ส.ค. 2568 | 35,582.00 | |||
รวมงบประมาณ | 35,582.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน | 50 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน : ระบุ |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ | 50.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
การจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิตจากสาเหตุการบาดเจ็บ (Injury) โดยทั่วโลกพบว่าคนที่จมน้ำเสียชีวิต มากกว่าร้อยละ 50 อยู่ในกลุ่มอายุต่ำกว่า 25 ปี ทั้งนี้ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี พบว่าการจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 3 รองจากโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) และเอดส์ (HIV) สำหรับประเทศไทยในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับที่ 1 เมื่อเทียบกับทุกสาเหตุทั้งโรคติดเชื้อและไม่ติดเชื้อจากข้อมูลค่าเฉลี่ยใน 10 ปีพบว่า การจมน้ำเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของเด็กไทยอายุต่ำกว่า 15 ปี ซึ่งสูงมากกว่าการเสียชีวิตทุกสาเหตุ โดยช่วง 10 ปีที่ผ่านมา (พ.ศ. 2555 - 2564) มีเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 7,374 คนเฉลี่ยปีละ737 คน หรือวันละ 2 คนอัตราการเสียชีวิตต่อประชากรเด็กแสนคนจากการตกน้ำจมน้ำ อยู่ในช่วง 5.0 – 8.6 เพศชายเสียชีวิตสูงกว่าเพศหญิง 2 เท่าตัวอัตราป่วยตาย (Case Fatality Rate) จากการจมน้ำเท่ากับร้อยละ 29.2 กลุ่มเด็กอายุ 5 – 9 ปี มีอัตราการเสียชีวิตสูงสุดรองลงไปคือกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และกลุ่มอายุ 10 -14 ปี ช่วงฤดูร้อนและปิดภาคการศึกษา (มีนาคม - พฤษภาคม และตุลาคม )วันหยุดสุดสัปดาห์ (เสาร์ - อาทิตย์) และช่วงเวลา 12.00 – 17.59 น. เป็นช่วงที่มีการเกิดเหตุสูงสุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดแหล่งน้ำที่เกิดเหตุมากที่สุด คือ แหล่งน้ำขุดเพื่อการเกษตรและแหล่งน้ำธรรมชาติ การจมน้ำของเด็กอายุ 15 ปี เป็นสาเหตุของความสูญเสียปีสุขภาวะ (Disability – Adjusted Life Year : DALY) อันดับ 3 ในเด็กชาย (DALY = 26,000 ปี) และอันดับที่ 6 ในเด็กหญิง (DALY = 10,000 ปี) ปัจจัยเสี่ยงของการจมน้ำมีความแตกต่างกันในแต่ละช่วงอายุ รวมทั้งมีหลายปัจจัยร่วมกันซึ่งการดำเนินงานเพียงมาตรการเดียว ไม่ช่วยทำให้การจมน้ำเสียชีวิตลดลงมากนักจำเป็นต้องมีการดำเนินการในหลากหลายมาตรการร่วมกันเพื่อให้ครอบคลุมปัจจัยเสี่ยงทั้งทางด้านตัวบุคคลและสิ่งแวดล้อม จังหวัดสตูลมีประชากรเด็กเฉลี่ย 3 ปี (พ.ศ. 2559- 2561) จำนวน75,448 ราย พบอัตราการเสียชีวิตเฉลี่ยร้อยละ 10.2ทำให้อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มอายุ 0 - 15 ปี เพิ่มมากขึ้นในทุกปี พบในเด็กเล็กและเด็กวัยเรียนและแนวโน้มของเด็กจมน้ำสูงขึ้นในทุกปีเนื่องจากช่วงปิดภาคเรียนการศึกษา ระยะเวลา 3 ปี ที่ผ่านมาตำบลพิมานไม่พบผู้ป่วยเด็กอายุ0 – 15 ปีที่เสียชีวิตจากการจมน้ำหรือผลัดตกจากการจมน้ำ จากสถานการณ์ดังกล่าวข้างต้น กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสตูล ได้จัดทำโครงการพัฒนาศักยภาพแกนนำนักเรียนตำบลพิมานในการป้องกันการจมน้ำปี 2568 ขึ้น เพื่อให้เกิดการเฝ้าระวังและการป้องกันการจมน้ำในเด็กอายุ 0 -15 ปี ในเขตตำบลพิมานพบว่า 3 ปีที่ผ่านมาไม่พบผู้ป่วยจมน้ำที่เสียชีวิตจากการพลัดตกน้ำ ทางกลุ่มงานจึงได้เล็งเห็นความสำคัญและความตระหนักให้เกิดแกนนำนักเรียนตำบลพิมานเพื่อสร้างทีมผู้ก่อการดีตำบลพิมานสามารถได้รับความรู้ ทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ สามารถช่วยเหลือคนในชุมชนได้ในกรณีที่เกิดเหตุจมน้ำ
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อสร้างแกนนำนักเรียนและผ่านอบรมหลักสูตรฝึกทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ ร้อยละ 100 แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ(50 คน) |
0.00 | 50.00 |
2 | ไม่มีอุบัติการณ์การจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี อัตราการเสียชีวิตจากการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปีในเขตตำบลพิมาน ไม่เกิน 2.5 คน/แสนประชากร |
0.00 | 0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 35,582.00 | 0 | 0.00 | 35,582.00 | |
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการ CPR | 0 | 19,482.00 | - | - | ||
1 เม.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 | จัดอบรมเชิงปฏิบัติการหลักสูตรการสอนทักษะการเอาชีวิตรอดและการ CPR | 0 | 16,100.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 35,582.00 | 0 | 0.00 | 35,582.00 |
- แกนนำนักเรียนได้รับความรู้ในเรื่องการป้องกันการจมน้ำและผ่านการอบรมหลักสูตรทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำ ร้อยละ 100
- ไม่เกิดการจมน้ำของเด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.