กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น ต.พิมาน อ.เมือง จ.สตูล ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กลุ่มงานเวชกรรมสังคม รพ.สตูล

1.นางสาวปฤษณา สิตะรุโณ ผู้รับผิดชอบโครงการ โทรศัพท์ 0944709069
2.นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด หัวหน้างาน

ตำบลพิมาน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี

 

17.58

จากสถิติข้อมูลการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของอำเภอเมืองสตูล ในปี 2560-2567 มีอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 10-14 ปี จำนวน 6,4,4,2,2,5,1 และ 2 ราย ตามลำดับ อัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ15 - 19 ปี เท่ากับ134 , 124 , 128 , 100 , 69 , 58 , 54 และ 42 ราย ตามลำดับ สำหรับตำบลพิมาน มีอัตราการคลอดมีชีพในหญิงอายุ 15-19 ปี ในปีงบ 2560-2567 จำนวน 31 , 13 , 14 , 13 , 8 , 4 , 6 และ 7ราย(HDC 30 ก.ย. 67) ซึ่งมีทั้งการคลอดก่อนและหลังการสมรส และหญิงวัยรุ่นส่วนใหญ่หลังคลอดพบว่าไม่ได้เรียนต่อต้องอยู่บ้านเพื่อเลี้ยงดูบุตร บางรายไม่มีรายได้ต้องพึ่งพาจากครอบครัวและชุมชน รวมทั้งยังส่งผลกระทบทั้งทางด้านสุขภาพของวัยรุ่นและเด็ก เช่นเด็กน้ำหนักน้อยกว่าเกณฑ์ ภาวะโลหิตจาง คณะทำงานตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว จึงจัดทำโครงการเพื่อให้แกนนำวัยรุ่นได้เรียนรู้เรื่องทักษะชีวิตเพศศึกษา พัฒนาการทางเพศของตนเอง รู้แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น มีภูมิคุ้มกันรู้จักใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์และสร้างเครือข่าย เฝ้าระวังระหว่างโรงเรียน ชุมชน และกลุ่มเพื่อนวัยรุ่น

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อสร้างแกนนำในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

เกิดแกนนำในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นอย่างน้อย ร้อยละ 60 (จำนวน 30 คน)

0.00 30.00
2 เพื่อให้แกนนำมีความรู้ความเข้าใจในการป้องกันตนเองจากการตั้งครรภ์ในช่วงวัยรุ่น

ร้อยละ 100 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปัญหา ผลกระทบและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น (50 คน) ตามเกณฑ์ที่กำหนด

0.00 50.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

เกณฑ์การคัดเลือกกลุ่มเป้าหมาย คุณสมบัติ ดังนี้
1.ได้รับการคัดเลือกจากคุณครู(นักเรียนแกนนำหรือมีความกล้าแสดงออก)
2.มีจิตอาสาสามารถให้คำปรึกษาเพื่อนนักเรียนและช่วยเหลืองานคุณครูได้
3.มีความสมัครใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
งบประมาณ
1.ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน/วิทยากร
- ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 700.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 10 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 600.-บาท
2.ค่าอาหารกลางวัน/อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับผู้เข้าร่วมกิจกรรม
- ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 70 บาท เป็นเงิน 3,500.-บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คน x 30 บาท x 2 มื้อเป็นเงิน 3,000.-บาท
- ค่าสมนาคุณวิทยากรภายในหน่วยงาน จำนวน 6 ชม. x 300 บาทเป็นเงิน 1,800.-บาท
3.ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการอบรม
- ค่ากระดาษกรุ๊ป จำนวน 20 แผ่น x 3บาท เป็นเงิน 60.-บาท
- ค่าปากกา จำนวน 50 ด้ามๆละ 10 บาท เป็นเงิน 500.-บาท
- ค่าปากกาเคมี จำนวน 10 ด้ามๆละ 15 บาท เป็นเงิน 150.-บาท
4.ค่าป้ายไวนิลโครงการจำนวน 1 ป้าย ขนาด 1.5 x 3 เมตรเป็นเงิน 675.-บาท
กำหนดการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการ
08.30 - 09.00 น.ลงทะเบียน
09.00 - 10.00 น.บรรยายความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์และปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
10.00 - 11.30 น.บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับพัฒนาการทางเพศ การปฏิเสธที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
11.30 - 12.00 น.กิจกรรม“ระดมความคิด” แจกกระดาษชาร์ท กลุ่มละ 1 แผ่นปากกาเคมีระดมความคิดในหัวข้อที่ได้รับ 30 นาทีและออกนำเสนอ กลุ่มละ 5 นาที
12.00 - 13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 13.30 น.กิจกรรม “ระดมความคิด” แจกกระดาษชาร์ท กลุ่มละ 1 แผ่นปากกาเคมีระดมความคิดในหัวข้อที่ได้รับ 30 นาทีและออกนำเสนอ กลุ่มละ 5 นาที
13.30 -16.00 น.กิจกรรมฐานเรียนรู้ รักเป็นปลอดภัย เข้าฐานๆละ 30 นาที
ฐานที่ 1 โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
ฐานที่ 2 มุมปลอดภัย 1
ฐานที่ 3 มุมปลอดภัย 2
ฐานที่ 4 เมื่อฉันโตขึ้น
16.00 - 16.30 น.สรุปผลและวางแผนการติดตามงาน
หมายเหตุพักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.45 น. และ 14.45 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปัญหา ผลกระทบและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10985.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างกระแสรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการสร้างกระแสรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กระบวนการดำเนินงาน
1.ลงติดตามรณรงค์สร้างกระแสป้องกันและแก้ไขการตั้งครรภ์ไม่พร้อมก่อนวัยอันควร ในโรงเรียนเขตตำบลพิมานที่มีกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมในกิจกรรมที่ 1
2.สร้างกระแสรณรงค์การป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นร่วมกับแกนนำโครงการที่เข้าร่วมในกิจกรรมที่ 1 ในโรงเรียนเขตตำบลพิมาน
3.จำนวนป้ายไวนิลที่ใช้ในการณรงค์ 5 ป้าย ใช้ในกิจกรรมรณรงค์สร้างกระแสในโรงเรียนในเขตตำบลพิมาน
งบประมาณ
1.ป้ายไวนิลขนาด 1.2 ม. x 2.4 ม. ป้ายละ 420 บาท จำนวน5 ป้าย เป็นเงิน 2,100 บาท
2.นามบัตรประชาสัมพันธ์จำนวน 100 ใบ x 5 บาท เป็นเงิน 500 บาท
3.แผ่นสติกเกอร์ประชาสัมพันธ์ จำนวน 50 แผ่นx 10 บาทเป็นเงิน 500 บาท
4.ป้ายโฟมบอร์ดการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น จำนวน 5 แผ่น x 150 บาท เป็นเงิน 750 บาท
5.ค่าอาหาร อาหารว่างและเครื่องดื่มสำหรับคณะทำงาน
5.1 ค่าอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 70 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 2,100 บาท
5.2 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 30 คน x 30 บาท x 2 มื้อ เป็นเงิน 1,800 บาท
6.สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่มๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เกิดเครือข่ายในการเฝ้าระวัง ป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น อย่างน้อย ร้อยละ 60

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8250.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,235.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจเรื่องปัญหา ผลกระทบและการป้องกันการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น
2. ปัญหาการตั้งครรภ์ในหญิงอายุต่ำกว่า 20 ปี มีจำนวนลดลง
3. เกิดเครือข่ายในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น


>