กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
กลุ่มคน
นายศุภกิจ สัจกุล หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวกรองแก้ว มณีฉาย นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
นางสาว พัชรีปีไสย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน
3.
หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมการประกอบอาหาร เพื่อบริโภคเอง เปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมี ผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อตามกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยหมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ 21 (2) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรี โดยคำแนะนำคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาและกรมอนามัยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561 เทศบาลเมืองสตูลมีความเป็นชุมชนเมือง ปัจจุบันมีกิจการร้านอาหาร จำนวน 237 ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 41 ร้าน และผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล จำนวนมากกว่า 400 ราย(ข้อมูลจากผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพ ปี 2568 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล) ตลอดจนยังมีผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมและอบรมแล้วเมื่อปีงบประมาณ 2563 ซึ่งวุฒิบัตรที่ได้รับหมดอายุแล้ว จากข้อมูลจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนดและได้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารพ.ศ.2561 ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ ร้านแผงลอยและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมฯตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(คน)
    ตัวชี้วัด : ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535
    ขนาดปัญหา 700.00 เป้าหมาย 250.00
  • 2. เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง
    ตัวชี้วัด : ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80
    ขนาดปัญหา 700.00 เป้าหมาย 250.00
  • 3. เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ
    ตัวชี้วัด : สถานที่จำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร อย่างน้อย ร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 50.00
  • 4. เพื่อยกระดับร้านอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ SAN Plus
    ตัวชี้วัด : สถานที่จำหน่ายอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้ายSAN Plus ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 10.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 50 คน 6 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย
    รายละเอียด

    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 65 คน x 1 มื้อ x 70บาทเป็นเงิน4,550.- บาท
    2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 65 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน3,250.- บาท
    3.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
    4.ค่าจัดทำป้ายพิธีเปิดโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1.5 x 3 ม. ตร.ม.ละ 150 บาท เป็นเงิน675.- บาท
    5.ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ 50 คน x30 บาทเป็นเงิน1,500.- บาท
    6.ค่าวัสดุเครื่องเขียนที่ใช้ในการอบรม50 คนx 15 บาท เป็นเงิน 750.- บาท
    7.ค่าวัสดุสาธิตการฝึกอบรม(ผ้ากันเปื้อนและหมวก) 50 ชุดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 6,000.-บาท
    8.ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร 50 คน x25 บาท เป็นเงิน1,250.- บาท
    9.ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้ประกอบการร้านอาหาร 50 คน x 20 บาท เป็นเงิน1,000.- บาท
    10.ป้ายไวนิลชนิดละเอียดคมชัด พร้อมขาตั้งสแตน x ขนาด 80 x 180 ซม. 8 อัน x 1,500 บาท เป็นเงิน 12,000.-บาท

    กำหนดการอบรมผู้ประกอบกิจการร้านอาหารตาม “โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลประจำปีงบประมาณ 2568” ระหว่าง เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล

    เวลา 08.00 – 08.30 น. - ลงทะเบียนและรับเอกสาร
    เวลา 08.30 – 09.00 น. - ชี้แจงโครงการและจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยวิทยากรจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
    เวลา 09.00 – 09.15 น. - พิธีเปิดการอบรม
    เวลา 09.15 – 10.15 น. - มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหารโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
    เวลา 10.15 – 11.15 น.- สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหารโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
    เวลา 11.15 – 12.15 น.- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร โดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
    เวลา 12.15 – 13.00 น.- รับประทานอาหารกลางวัน
    เวลา 13.00 – 14.00 น. - หลักการสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ปลอดภัย โดย วิทยากรจากสสจ.สตูล
    เวลา 14.00 – 15.00 น. - การบริหารจัดการสถานประกอบกิจการด้านอาหาร โดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
    เวลา 15.00 – 16.00 น. - การสาธิตและฝึกปฏิบัติโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูลได้แก่ - วิธีการล้างผัก และผลไม้ที่ถูกวิธี
    - วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ
    - การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์
    - การเลือกใช้เครื่องปรุงอาหาร
    - การติดตั้งและการดูแลถังดักไขมัน
    เวลา 16.00 – 16.50 น.- จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม
    เวลา 16.50– 17.00 น. - มอบวุฒิบัตร และวัสดุสาธิต สรุปผลโครงการ

    หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมเวลา 10.15 – 10.25 น. และ เวลา 15.15 – 15.25 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

    งบประมาณ 34,575.00 บาท
  • 2. อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร 2 รุ่นๆ ละ 100 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม ประกอบด้วย
    -สำรวจร้านอาหารในเขตเทศบาลเพื่อจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร
    - ประสานกรมอนามัยเพื่อขอกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้สัมผัสอาหาร ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561
    - ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม ลงทะเบียนรายชื่อผู้อบรมผ่านระบบ Foodhandler
    - ประสานวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล หรือศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
    - ดำเนินการอบรมตามแผนปฏิบัติงาน ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ถ้าผ่านการทดสอบจะได้รับวุฒิบัตรและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร
    งบประมาณ
    1. ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 115 คน x 1 มื้อ x 70บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 16,100.-บาท
    2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่จำนวน 115 คน x 1 มื้อ x 25บาท x 2 รุ่นเป็นเงิน5,750.- บาท
    3. ค่าวิทยากร3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน3,600.- บาท
    4. ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหารจำนวน100 คนx 2 รุ่นx 30 บาทเป็นเงิน6,000.- บาท
    5. ค่าวัสดุเครื่องเขียนที่ใช้ในการอบรมจำนวน100 คน x 2 รุ่นx 15 บาทเป็นเงิน3,000.- บาท
    6. ค่าวัสดุสาธิตการฝึกอบรม(ผ้ากันเปื้อนและหมวก)จำนวน 100 คน x 2รุ่น x 120 บาทเป็นเงิน 24,000.-บาท
    7. ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหารจำนวน 100 คน x 2 รุ่น x 25 บาท เป็นเงิน5,000.- บาท
    8. ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารจำนวน100 คน x2 รุ่น x20 บาท เป็นเงิน4,000.- บาท

    กำหนดการกิจกรรมอบรมสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารภายใต้โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (รุ่น 1) ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองสตูล รุ่นที่ 1
    08.15 – 08.30 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม และทำแบบทดสอบก่อนอบรม/พิธีเปิดการอบรม
    08.30 - 09.30 น. บรรยายหัวข้อ “หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร”
    09.30 - 10.30 น. บรรยายหัวข้อ “สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร”
    10.30 - 11.30 น. บรรยายหัวข้อ “กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร”
    11.30 - 12.00 น. - ทำแบบทดสอบหลังอบรม
    - มอบวุฒิบัตร และบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารแก่ผู้เข้ารับการอบรม หมายเหตุ :- กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม /รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00 น.

    กำหนดการกิจกรรมอบรมสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารภายใต้โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (รุ่น 2) ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองสตูล รุ่นที่ 2
    13.00 – 13.30 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม และทำแบบทดสอบก่อนอบรม/พิธีเปิดการอบรม
    13.30 - 14.30 น. บรรยายหัวข้อ “หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร”
    14.30 - 15.30 น. บรรยายหัวข้อ “สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร”
    15.30 - 16.30 น. บรรยายหัวข้อ “กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร”
    16.30 - 17.00 น. - ทำแบบทดสอบหลังอบรม
    - มอบวุฒิบัตร และบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารแก่ผู้เข้ารับการอบรม

    หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม / รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 15.00 น.

    งบประมาณ 67,450.00 บาท
  • 3. ประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารที่ผ่านการอบรมเพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus
    รายละเอียด

    รายละเอียดกิจกรรม ลงพื้นที่/ประชุมเพื่อตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารจำนวน 50 ร้านที่เข้าร่วมโครงการตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus ตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร

    *มาตรฐาน SAN คือ: ต้องดำเนินการดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด 2. ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย 3. ประเมินตนเองตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร: SAN จำนวน 20 ข้อ ผู้ประกอบกิจการประเมินตนเองในระบบ Foodhandler และ เจ้าหน้าที่ อปท.ตรวจรับรองในระบบ Foodhandler เมื่อผ่านครบทุกข้อจะได้รับป้าย SAN

    *มาตรฐาน SAN Plus คือ 1. ผ่านมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหาร : SAN 2. ผ่านการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์มือผู้สัมผัสอาหาร (ผ่านร้อยละ 90) 3. ผ่านเกณฑ์ 9 ข้อ Plus 1.ผู้สัมผัสอาหารทุกคนติดบัตร/แสดงหลักฐานผ่านการอบรมตลอดเวลาในขณะปฏิบัติงาน 2.จัดบริการช้อนกลางให้แก่ผู้บริโภคทันที 3.จัดบริการอ่างล้างมือพร้อมสบู่/อุปกรณ์ทำความสะอาดมือบนโต๊ะรับประทานอาหาร4.ใช้ผัก และผลไม้ปลอดภัย 5.จัดบริการเมนูชูสุขภาพ หรืออาหารไทยถิ่น กินเป็นยา 6. ใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน 7.จัดบริการส้วมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS 8.ใช้ภาชนะปลอดภัย : NoFoam 9.มีการสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ :- อาหารปลอดภัย/โภชนาการ หรือ - อาหารไทยถิ่น กินเป็นยา และเจ้าหน้าที่ประเมินรับรองในระบบFoodhandler เมื่อผ่านครบทุกข้อจะได้รับป้าย SAN Plus

    งบประมาณ
    1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารและโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 15 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 10 ครั้ง เป็นเงิน9,000.- บาท
    2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มในการประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารและโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน15 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 10 ครั้งเป็นเงิน 10,500.-บาท
    3. ค่าจัดซื้อชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(SI-2) 4ชุดๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 5,200.- บาท
    4. ไม้ Swab(ไม้พันสำลีก้านเดียวชนิดปลอดเชื้อ)3 กล่องๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 300.- บาท
    5. ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐาน SAN ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร จำนวน 50 ป้าย x 240 บาท เป็นเงิน12,000.-บาท
    6. ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐาน SAN Plusสำหรับร้านอาหาร ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร จำนวน 20 ป้าย x 240 บาท เป็นเงิน 4,800.-บาท
    7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ เป็นเงิน 175.-บาท

    งบประมาณ 41,975.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน 250 คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 144,000.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าอบรมผ่านการทดสอบความรู้หลังอบรมตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  3. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SANไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  4. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SAN Plusไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008

อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 144,000.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................