กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม

นายศุภกิจ สัจกุล หัวหน้าฝ่ายบริหารงานสาธารณสุข
นางสาวกรองแก้ว มณีฉาย นักวิชาการสุขาภิบาลปฏิบัติการ
นางสาว พัชรีปีไสย เจ้าพนักงานสาธารณสุขชำนาญงาน

อำเภอเมืองสตูลจังหวัดสตูล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกิจการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลที่ขออนุญาตกับเทศบาล (แห่ง)

 

237.00
2 จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ขึ้นทะเบียนกับเทศบาลเมืองสตูล (แห่ง)

 

41.00
3 จำนวนผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (คน)

 

400.00

ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมการประกอบอาหาร เพื่อบริโภคเอง เปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมี ผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อตามกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยหมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ 21 (2) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรี โดยคำแนะนำคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาและกรมอนามัยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561
เทศบาลเมืองสตูลมีความเป็นชุมชนเมือง ปัจจุบันมีกิจการร้านอาหาร จำนวน 237 ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 41 ร้าน และผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล จำนวนมากกว่า 400 ราย(ข้อมูลจากผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพ ปี 2568 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล) ตลอดจนยังมีผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมและอบรมแล้วเมื่อปีงบประมาณ 2563 ซึ่งวุฒิบัตรที่ได้รับหมดอายุแล้ว จากข้อมูลจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนดและได้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารพ.ศ.2561 ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ ร้านแผงลอยและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมฯตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(คน)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

700.00 250.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80

700.00 250.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ

สถานที่จำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร อย่างน้อย ร้อยละ 90

50.00 50.00
4 เพื่อยกระดับร้านอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ SAN Plus

สถานที่จำหน่ายอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้ายSAN Plus ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

50.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 250
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 50 คน 6 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 50 คน 6 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 65 คน x 1 มื้อ x 70บาทเป็นเงิน4,550.- บาท
2.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 65 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน3,250.- บาท
3.ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง x 600บาท เป็นเงิน 3,600.- บาท
4.ค่าจัดทำป้ายพิธีเปิดโครงการ 1 ป้าย ขนาด 1.5 x 3 ม. ตร.ม.ละ 150 บาท เป็นเงิน675.- บาท
5.ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ 50 คน x30 บาทเป็นเงิน1,500.- บาท
6.ค่าวัสดุเครื่องเขียนที่ใช้ในการอบรม50 คนx 15 บาท เป็นเงิน 750.- บาท
7.ค่าวัสดุสาธิตการฝึกอบรม(ผ้ากันเปื้อนและหมวก) 50 ชุดๆละ 120 บาท เป็นเงิน 6,000.-บาท
8.ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้ประกอบการร้านอาหาร 50 คน x25 บาท เป็นเงิน1,250.- บาท
9.ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้ประกอบการร้านอาหาร 50 คน x 20 บาท เป็นเงิน1,000.- บาท
10.ป้ายไวนิลชนิดละเอียดคมชัด พร้อมขาตั้งสแตน x ขนาด 80 x 180 ซม. 8 อัน x 1,500 บาท เป็นเงิน 12,000.-บาท

กำหนดการอบรมผู้ประกอบกิจการร้านอาหารตาม “โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลประจำปีงบประมาณ 2568” ระหว่าง เวลา 08.00 – 17.00 น. ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล

เวลา 08.00 – 08.30 น. - ลงทะเบียนและรับเอกสาร
เวลา 08.30 – 09.00 น. - ชี้แจงโครงการและจัดทำแบบทดสอบก่อนการอบรม โดยวิทยากรจากกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
เวลา 09.00 – 09.15 น. - พิธีเปิดการอบรม
เวลา 09.15 – 10.15 น. - มาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหารโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
เวลา 10.15 – 11.15 น.- สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหารโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
เวลา 11.15 – 12.15 น.- กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับผู้ประกอบกิจการด้านอาหาร โดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
เวลา 12.15 – 13.00 น.- รับประทานอาหารกลางวัน
เวลา 13.00 – 14.00 น. - หลักการสุขาภิบาลอาหาร และอันตรายที่เกิดจากอาหารและน้ำที่ไม่สะอาด ปลอดภัย โดย วิทยากรจากสสจ.สตูล
เวลา 14.00 – 15.00 น. - การบริหารจัดการสถานประกอบกิจการด้านอาหาร โดย วิทยากรจาก สสจ.สตูล
เวลา 15.00 – 16.00 น. - การสาธิตและฝึกปฏิบัติโดย วิทยากรจาก สสจ.สตูลได้แก่ - วิธีการล้างผัก และผลไม้ที่ถูกวิธี
- วิธีการล้างมือ การหยิบจับอาหาร และการแต่งกายที่ถูกสุขลักษณะ
- การเลือก ล้างภาชนะ อุปกรณ์
- การเลือกใช้เครื่องปรุงอาหาร
- การติดตั้งและการดูแลถังดักไขมัน
เวลา 16.00 – 16.50 น.- จัดทำแบบทดสอบหลังการอบรม
เวลา 16.50– 17.00 น. - มอบวุฒิบัตร และวัสดุสาธิต สรุปผลโครงการ

หมายเหตุ กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมเวลา 10.15 – 10.25 น. และ เวลา 15.15 – 15.25 น. รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้ประกอบการร้านอาหารได้อบรมสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนด
ผลลัพท์ ผู้ประกอบการร้านอาหารมีความรู้ตามหลักสุขาภิบาลอาหารและได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรมตามที่กรมอนามัยกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
34575.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร 2 รุ่นๆ ละ 100 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร 2 รุ่นๆ ละ 100 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ประกอบด้วย
-สำรวจร้านอาหารในเขตเทศบาลเพื่อจัดทำข้อมูลผู้ประกอบการและผู้สัมผัสอาหาร
- ประสานกรมอนามัยเพื่อขอกำหนดหลักสูตรการฝึกอบรมผู้สัมผัสอาหาร ตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561
- ประสานกลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมการอบรม ลงทะเบียนรายชื่อผู้อบรมผ่านระบบ Foodhandler
- ประสานวิทยากรจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสตูล หรือศูนย์อนามัยที่ 12 ยะลา
- ดำเนินการอบรมตามแผนปฏิบัติงาน ทดสอบความรู้ผู้เข้ารับการอบรม ถ้าผ่านการทดสอบจะได้รับวุฒิบัตรและบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหาร
งบประมาณ
1. ค่าอาหารกลางวันแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่ จำนวน 115 คน x 1 มื้อ x 70บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน 16,100.-บาท
2. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มแก่ผู้เข้ารับการอบรม วิทยากรและเจ้าหน้าที่จำนวน 115 คน x 1 มื้อ x 25บาท x 2 รุ่นเป็นเงิน5,750.- บาท
3. ค่าวิทยากร3 ชั่วโมง x 600 บาท x 2 รุ่น เป็นเงิน3,600.- บาท
4. ค่าจัดทำเอกสารให้ความรู้แก่ผู้สัมผัสอาหารจำนวน100 คนx 2 รุ่นx 30 บาทเป็นเงิน6,000.- บาท
5. ค่าวัสดุเครื่องเขียนที่ใช้ในการอบรมจำนวน100 คน x 2 รุ่นx 15 บาทเป็นเงิน3,000.- บาท
6. ค่าวัสดุสาธิตการฝึกอบรม(ผ้ากันเปื้อนและหมวก)จำนวน 100 คน x 2รุ่น x 120 บาทเป็นเงิน 24,000.-บาท
7. ค่าจัดทำวุฒิบัตรสำหรับผู้ผ่านการอบรมผู้สัมผัสอาหารจำนวน 100 คน x 2 รุ่น x 25 บาท เป็นเงิน5,000.- บาท
8. ค่าจัดทำบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารจำนวน100 คน x2 รุ่น x20 บาท เป็นเงิน4,000.- บาท

กำหนดการกิจกรรมอบรมสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารภายใต้โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (รุ่น 1) ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองสตูล รุ่นที่ 1
08.15 – 08.30 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม และทำแบบทดสอบก่อนอบรม/พิธีเปิดการอบรม
08.30 - 09.30 น. บรรยายหัวข้อ “หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร”
09.30 - 10.30 น. บรรยายหัวข้อ “สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร”
10.30 - 11.30 น. บรรยายหัวข้อ “กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร”
11.30 - 12.00 น. - ทำแบบทดสอบหลังอบรม
- มอบวุฒิบัตร และบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารแก่ผู้เข้ารับการอบรม หมายเหตุ :- กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม /รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.00 น.

กำหนดการกิจกรรมอบรมสุขาภิบาลอาหาร สำหรับผู้สัมผัสอาหารภายใต้โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (รุ่น 2) ณ ห้องประชุมสภาเทศบาลเมืองสตูล ชั้น 3 สำนักงานเทศบาลเมืองสตูล รุ่นที่ 2
13.00 – 13.30 ลงทะเบียนผู้เข้าร่วมประชุม และทำแบบทดสอบก่อนอบรม/พิธีเปิดการอบรม
13.30 - 14.30 น. บรรยายหัวข้อ “หลักการและมาตรฐานการสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบกิจการด้านอาหาร”
14.30 - 15.30 น. บรรยายหัวข้อ “สุขวิทยาส่วนบุคคลของผู้สัมผัสอาหาร”
15.30 - 16.30 น. บรรยายหัวข้อ “กฎหมายสำคัญที่เกี่ยวข้องกับผู้สัมผัสอาหาร”
16.30 - 17.00 น. - ทำแบบทดสอบหลังอบรม
- มอบวุฒิบัตร และบัตรประจำตัวผู้สัมผัสอาหารแก่ผู้เข้ารับการอบรม

หมายเหตุ : กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม / รับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 15.00 น.

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ผู้สัมผัสอาหารได้อบรมสุขาภิบาลอาหารตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนด
ผลลัพท์ ผู้สัมผัสอาหารมีความรู้ตามหลักสุขาภิบาลอาหารและได้รับวุฒิบัตรผ่านการอบรมตามที่กรมอนามัยกำหนด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
67450.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารที่ผ่านการอบรมเพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus

ชื่อกิจกรรม
ประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารที่ผ่านการอบรมเพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม ลงพื้นที่/ประชุมเพื่อตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารจำนวน 50 ร้านที่เข้าร่วมโครงการตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร เพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus ตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร

*มาตรฐาน SAN คือ: ต้องดำเนินการดังนี้ 1. ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมตามหลักสูตรที่กำหนด 2. ขออนุญาตถูกต้องตามกฎหมาย 3. ประเมินตนเองตามแบบประเมินสุขาภิบาลอาหาร: SAN จำนวน 20 ข้อ ผู้ประกอบกิจการประเมินตนเองในระบบ Foodhandler และ เจ้าหน้าที่ อปท.ตรวจรับรองในระบบ Foodhandler เมื่อผ่านครบทุกข้อจะได้รับป้าย SAN

*มาตรฐาน SAN Plus คือ 1. ผ่านมาตรฐานสถานที่จำหน่ายอาหาร : SAN 2. ผ่านการตรวจการปนเปื้อนเชื้อโคลิฟอร์มแบคทีเรียในอาหาร ภาชนะอุปกรณ์มือผู้สัมผัสอาหาร (ผ่านร้อยละ 90) 3. ผ่านเกณฑ์ 9 ข้อ Plus 1.ผู้สัมผัสอาหารทุกคนติดบัตร/แสดงหลักฐานผ่านการอบรมตลอดเวลาในขณะปฏิบัติงาน 2.จัดบริการช้อนกลางให้แก่ผู้บริโภคทันที 3.จัดบริการอ่างล้างมือพร้อมสบู่/อุปกรณ์ทำความสะอาดมือบนโต๊ะรับประทานอาหาร4.ใช้ผัก และผลไม้ปลอดภัย 5.จัดบริการเมนูชูสุขภาพ หรืออาหารไทยถิ่น กินเป็นยา 6. ใช้เกลือหรือผลิตภัณฑ์เสริมไอโอดีน 7.จัดบริการส้วมผ่านเกณฑ์มาตรฐาน HAS 8.ใช้ภาชนะปลอดภัย : NoFoam 9.มีการสื่อสารความรอบรู้ด้านสุขภาพ :- อาหารปลอดภัย/โภชนาการ หรือ - อาหารไทยถิ่น กินเป็นยา และเจ้าหน้าที่ประเมินรับรองในระบบFoodhandler เมื่อผ่านครบทุกข้อจะได้รับป้าย SAN Plus

งบประมาณ
1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มในการประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารและโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน 15 คน x 30 บาท x 2 มื้อ x 10 ครั้ง เป็นเงิน9,000.- บาท
2.ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มในการประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารและโรงเรียนในเขตเทศบาล จำนวน15 คน x 70 บาท x 1 มื้อ x 10 ครั้งเป็นเงิน 10,500.-บาท
3. ค่าจัดซื้อชุดทดสอบโคลิฟอร์มแบคทีเรีย(SI-2) 4ชุดๆ ละ 1,300 บาท เป็นเงิน 5,200.- บาท
4. ไม้ Swab(ไม้พันสำลีก้านเดียวชนิดปลอดเชื้อ)3 กล่องๆ ละ 100 บาทเป็นเงิน 300.- บาท
5. ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐาน SAN ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร จำนวน 50 ป้าย x 240 บาท เป็นเงิน12,000.-บาท
6. ค่าจัดทำป้ายรับรองมาตรฐาน SAN Plusสำหรับร้านอาหาร ขนาด 40 x 40 เซนติเมตร จำนวน 20 ป้าย x 240 บาท เป็นเงิน 4,800.-บาท
7. ค่าใช้จ่ายอื่นๆที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการ เป็นเงิน 175.-บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต ได้ฐานข้อมูลการตรวจประเมินสุขาภิบาลอาหารของร้านอาหารในพื้นที่ที่เป็นปัจจุบัน

ผลลัพท์ ร้านอาหารที่เข้าร่วมโครงการผ่านการตรวจประเมินสุขาภิบาลและรับรองมาตรฐาน san และ san plus

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
41975.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 144,000.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ผู้เข้าอบรมผ่านการทดสอบความรู้หลังอบรมตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
3. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SANไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
4. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SAN Plusไม่น้อยกว่าร้อยละ 40


>