กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการปรับปรุงสุขาภิบาลอาหารในสถานประกอบการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล
รหัสโครงการ 68-L8008-01-10
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม
วันที่อนุมัติ 10 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 31 ตุลาคม 2568
งบประมาณ 144,000.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวพัชรี ปีไสย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
งวดวันที่งวดโครงการวันที่งวดรายงานงบประมาณ
(บาท)
จากวันที่ถึงวันที่จากวันที่ถึงวันที่
1 1 ก.พ. 2568 30 ก.ย. 2568 144,000.00
รวมงบประมาณ 144,000.00
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 250 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 จำนวนกิจการร้านอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลที่ขออนุญาตกับเทศบาล (แห่ง)
237.00
2 จำนวนแผงลอยจำหน่ายอาหารที่ขึ้นทะเบียนกับเทศบาลเมืองสตูล (แห่ง)
41.00
3 จำนวนผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล (คน)
400.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันวัฒนธรรมการบริโภคอาหารของประชาชนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นิยมการประกอบอาหาร เพื่อบริโภคเอง เปลี่ยนเป็นนิยมบริโภคอาหารนอกบ้านหรือบริโภคอาหารปรุงสำเร็จ สถานที่จำหน่ายอาหารจึงมี ผลกระทบสำคัญต่อสุขภาพประชาชน เนื่องจากสถานที่จำหน่ายอาหารที่ไม่ถูกสุขลักษณะอาจทำให้เกิดการปนเปื้อน เชื้อโรค สารเคมี หรือโลหะหนัก รวมถึงมีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อตามกฎกระทรวง สุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหาร พ.ศ. 2561 ออกตามความในพระราชบัญญัติการ สาธารณสุข พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม โดยหมวด 4 สุขลักษณะส่วนบุคคลของผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร ข้อ 21 (2) ผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารต้องผ่านการอบรมตามหลักเกณฑ์ และวิธีการที่รัฐมนตรี โดยคำแนะนำคณะกรรมการประกาศกำหนดในราชกิจจานุเบกษาและกรมอนามัยได้ออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องหลักเกณฑ์และวิธีการจัดการอบรมผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหาร พ.ศ. 2561 เทศบาลเมืองสตูลมีความเป็นชุมชนเมือง ปัจจุบันมีกิจการร้านอาหาร จำนวน 237 ร้านแผงลอยจำหน่ายอาหาร จำนวน 41 ร้าน และผู้สัมผัสอาหารในพื้นที่เทศบาลเมืองสตูล จำนวนมากกว่า 400 ราย(ข้อมูลจากผู้ขอใบอนุญาตประกอบกิจการที่อันตรายต่อสุขภาพ ปี 2568 งานสุขาภิบาลและอนามัยสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองสตูล) ตลอดจนยังมีผู้ประกอบกิจการและผู้สัมผัสอาหารที่ยังไม่ได้เข้ารับการอบรมและอบรมแล้วเมื่อปีงบประมาณ 2563 ซึ่งวุฒิบัตรที่ได้รับหมดอายุแล้ว จากข้อมูลจำเป็นต้องอบรมให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูลขึ้น เพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหาร แผงลอยจำหน่ายอาหาร และผู้สัมผัสอาหารในเขตเทศบาลเมืองสตูล ได้ผ่านการฝึกอบรมตามหลักสูตรที่กรมอนามัยกำหนดและได้มีความรู้ความเข้าใจและปฏิบัติได้ถูกต้องตามหลักสุขาภิบาลอาหารและปรับปรุงสถานที่จำหน่ายอาหารให้เป็นไปตามกฎกระทรวงสุขลักษณะของสถานที่จำหน่ายอาหารพ.ศ.2561 ให้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหารส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่เขตเทศบาลเมืองสตูล พื้นที่ใกล้เคียง รวมถึงนักท่องเที่ยวได้รับการบริโภคอาหารที่สะอาด ปลอดภัย จากสถานประกอบกิจการที่ได้มาตรฐานต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ ร้านแผงลอยและผู้สัมผัสอาหารผ่านการอบรมฯตามประกาศของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(คน)

ร้อยละ 80 ของผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องสุขาภิบาลอาหาร และพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535

700.00 250.00
2 เพื่อให้ผู้ประกอบกิจการ และผู้สัมผัสอาหาร มีความรู้ด้านการสุขาภิบาลอาหารที่ถูกต้อง

ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารร้อยละ 80

700.00 250.00
3 เพื่อลดความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคที่มีอาหารและน้ำเป็นสื่อ

สถานที่จำหน่ายอาหาร ผ่านเกณฑ์มาตรฐานตามข้อกำหนดสุขาภิบาลอาหาร อย่างน้อย ร้อยละ 90

50.00 50.00
4 เพื่อยกระดับร้านอาหารสถานที่จำหน่ายอาหารให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์ SAN Plus

สถานที่จำหน่ายอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้ายSAN Plus ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10

50.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 144,000.00 0 0.00
1 - 28 ก.พ. 68 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้ประกอบการร้านอาหาร จำนวน 50 คน 6 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย 0 34,575.00 -
1 - 28 ก.พ. 68 อบรมให้ความรู้ด้านสุขาภิบาลอาหารแก่ผู้สัมผัสอาหาร 2 รุ่นๆ ละ 100 คน จำนวน 3 ชั่วโมง ตามหลักสูตรกรมอนามัย 0 67,450.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 ประชุมคณะกรรมการตรวจแนะนำและติดตามประเมินผลร้านอาหารที่ผ่านการอบรมเพื่อรับรองมาตรฐาน SAN และ SAN Plus 0 41,975.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้ประกอบการร้านอาหารและผู้สัมผัสอาหารเข้ารับการฝึกอบรมไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  2. ผู้เข้าอบรมผ่านการทดสอบความรู้หลังอบรมตามหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 100
  3. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SANไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
  4. ร้านอาหารปรับปรุงร้านผ่านเกณฑ์มาตรฐานและได้รับป้าย SAN Plusไม่น้อยกว่าร้อยละ 40
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 29 พ.ย. 2567 00:00 น.