แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางอมรรัตน์ ด้วยกาแด
นางสาวธัญพร สมันตรัฐ (ผู้รับผิดชอบโครงการ)
หลักการเเละเหตุผล ภาวะโลหิตจาง ถือเป็นความผิดปกติทางระบบเลือดที่พบได้บ่อยที่สุดในสตรีตั้งครรภ์ โดยมีอุบัติการณ์เฉลี่ยร้อยละ 42 ของการตั้งครรภ์ แต่ในประเทศที่กำลังพัฒนาพบความชุกมากถึงร้อยละ 35-75 และจะมีความรุนแรงที่มากขึ้นดังมีรายงานการเสียชีวิตของมารดาสัมพันธ์กับภาวะโลหิตจางถึงร้อยละ 20โดยภาวะ โลหิตจางในหญิงตั้งครรภ์หมายถึงภาวะที่ค่าความเข้มข้นของ ฮีโมโกลบิน (Hemoglobin, Hb) ต่ำกว่า 11 กรัมต่อเดซิลิตร หรือค่าฮีมาโตคริต(Hematocrit, Hct) ต่ำกว่า 33 เปอร์เซ็นต์สาเหตุสำคัญของภาวะ โลหิตจางในสตรีตั้งครรภ์คือการขาดสารอาหารจากธาตุเหล็กและกรดโฟลิก แต่สาเหตุที่พบบ่อยของการขาด ธาตุเหล็กเกิดจากขณะตั้งครรภ์มีความต้องการธาตุเหล็กเพิ่มขึ้นและหญิงตั้งครรภ์มีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ ไม่เหมาะสม ได้แก่ การบริโภคอาหารที่มีธาตุเหล็กไม่เพียงพอกับความต้องการของร่างกายที่ต้องการธาตุเหล็ก เพิ่มขึ้น หญิงตั้งครรภ์รับประทานอาหารจานด่วน ขนมปังหรือ ขนมกรุบกรอบแทนอาหารมื้อหลัก 3 ไม่รับประทานเนื้อสัตว์ ไข่ ตับ รับประทานผักไม่ครบทุกมื้อ เลือกเวลาดื่มนมไม่เหมาะสม รับประทานยาเม็ดเสริม ธาตุเหล็กพร้อมนม หรือรับประทานหลังอาหารทันที และรับประทานไม่สม่ำเสมอทุกวัน รวมถึงเมื่อ รับประทานยาเม็ดเสริมธาตุเหล็กแล้วมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก และภาวะโลหิตจางรุนแรงจะทำให้ ทารกแรกเกิดมีโอกาสน้ำหนักตัวน้อย คลอดก่อนกำหนด คะแนนแอพการ์ แรกคลอดไม่ดี ทารกเจริญเติบโตช้าในครรภ์ เกิดการเจ็บป่วย ภายหลังคลอด และทำให้การเจริญเติบโตไม่ดี ในวัยเด็กและวัยรุ่น และยังเสี่ยงต่อการเสียชีวิตของมารดา เนื่องจากการทำงานของหัวใจหนักขึ้น เพิ่มความเสี่ยงหัวใจล้มเหลว โอกาสติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้น ช่วงการคลอดและหลังคลอดมีผลกระทบซ้ำเติมต่อมารดาจากการเสียเลือด ทำให้เกิดจากวะช็อก ได้ สัมพันธ์กับการเกิดภาวะซึมเศร้าหลังคลอด (postpartum depression) กระทรวงสาธารณสุข กำหนดตัวชี้วัดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ไม่ควรเกิน ร้อยละ 14 เเต่จากข้อมูลในปีงบประมาณ 2567 พบหญิงตั้งครรภ์ในเขตตำบลพิมาน อำเภอเมืองสตูล จำนวน 184 คน มีภาวะซีด 38 คน คิดเป็นร้อยละ 20.65 อายุระหว่าง 16-25 ปีพบว่าซีดมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89 การศึกษาส่วนใหญ่ชั้นมัธยม พบร้อยละ 64 รายได้ครอบครัวส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง5,000-10,000 บาท ต่อเดือน คิดเป็นร้อยละ 53 กลุ่มที่มีภาวะซีด พบว่าร้อยละ 72 ไม่ได้กินอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงทุกวันร้อยละ 16 ไม่เคยได้รับความรู้เรื่องภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ (ฝากครรภ์ในคลินิกนอก) และร้อยละ 15 ที่ไม่ได้กินยาเสริมธาตุเหล็กทุกวัน เนื่องจาก กินแล้วจะมีอาการข้างเคียงคือมึนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน เหม็นและท้องผูก จากข้อมูลข้างต้น ผู้รับผิดชอบงานแม่และเด็ก จึงสนใจ พัฒนากิจกรรมการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลพิมาน ร่วมกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข คาดว่าจะสามารถลดและป้องกันการเกิดภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้
-
1. เพื่อสร้างแกนนำอาสาสมัครในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดในชุมชนตัวชี้วัด : อาสาสมัครตัวแทนชุมชนที่เข้าร่วมโครงการมีความรู้ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลัง คลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด เพิ่มขึ้นร้อยละ 80ขนาดปัญหา 60.00 เป้าหมาย 80.00
-
2. หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดได้รับการดูแลโดยการมีส่วนร่วมของอาสาสมัครแกนนำชุมชนตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ ได้รับการติดตามจาก อาสาสมัครตัวแทนชุมชนในการดูแลเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีด อย่างต่อเนื่องตามเกณฑ์ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80ขนาดปัญหา เป้าหมาย 30.00
-
3. เพื่อลดภาวะซีดของหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการตัวชี้วัด : หญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด ที่ยินดีเข้าร่วมโครงการ มีค่าเฉลี่ยของค่าฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้นในภาพรวมหรือมีค่าเฉลี่ยของค่าฮีมาโตคริตเพิ่มขึ้น ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนผู้เข้าร่วมโครงการทั้งหมดขนาดปัญหา เป้าหมาย 15.00
- 1. จัดประชุมชี้แจง และอบรมให้ความรู้แก่ตัวแทน อาสาสมัคร (จำนวน 60 )รายละเอียด
กลุ่มอาสาสมัคร คัดเลือกจากชุมชนในตำบลพิมาน จำนวน 20 ชุมชนๆละ 3 คน เฉพาะที่มีความสนใจและมีจิตอาสาในการดูเเลหญิงตั้งครรภ์หญิงเเละหลังคลอด รวม จำนวน 60 คน
งบประมาณ
1.1 ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คน x 2 มื้อ x 25 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
1.2 ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่ม จำนวน 60 คนx 1 มื้อ x 70 บาท เป็นเงิน 4,200 บาท
1.3 ค่าจัดทำคู่มือสำหรับ อาสาสมัคร ในการใช้ติดตาม/ดูแลกลุ่มเป้าหมายเล่มละ30 บาท x 60 เล่ม เป็นเงิน 1,800 บาท
1.4 ค่าสมนาคุณวิทยากรในหน่วยงาน ชั่งโมงละ 300 บาท x 3 ชม.เป็นเงิน 900 บาท
กำหนดการ โครงการดูแลหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอดเพื่อป้องกันและแก้ปัญหาภาวะซีดโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ตำบลพิมาน ณ ห้องประชุมศูนย์สันทนาการผู้สูงอายุเทศบาลเมืองสตูล
08.00 - 09.00 น.ลงทะเบียน
09.00 – 09.30 น. พิธีเปิด
09.30 –10.00น. ทำแบบทดสอบก่อนการอบรม
10.00 -12.00 น. การบรรยาย หัวข้อ” ภาวะซีดในหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด” วิทยากรด้านสาธารณสุข
12.00 -13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 -14.30 น. บทบาทของ อาสาสมัครในชุมชน ในการดูแลหญิงตั้งครรภ์ /หญิงหลังคลอดวิทยากร
14.30 - 15.45 น.อธิบายขั้นตอน กระบวนการในการติดตามดูแล หญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดในชุมชน ของอาสาสมัคร
15.45-16.30 น.ทำแบบทดสอบหลังการอบรม
16.30 น. ปิดการอบรม
หมายเหตุ : พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม เวลา 10.30 น. และ เวลา 15.00 น.
กำหนดการอาจเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสมงบประมาณ 9,900.00 บาท - 2. อาสาสมัครเยี่ยมติดตามหญิงตั้งครรภ์เเละหญิงหลังคลอด ตามเเนวทางทางที่กำหนดเพื่อป้องกันเเละเเก้ปัญหาภาวะซีด(หญิงตั้งครรภ์เเละหญิงหลังคลอด จำนวน 30-40 คน)รายละเอียด
ขั้นตอนการดำเนินการ
อาสาสมัครสำรวจหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดใน ชุมชนตนเองทุกเดือน รวม 3 เดือน เริ่ม 16 เมษายน. 16 พฤษภาคม, 16 มิถุนายน 2568 เเละเชิญเข้าร่วมโครงการ เพื่อรวบรวมรายชื่อให้ผู้รับผิดชอบโครงการ (เนื่องจาก มีโอกาสพบหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดได้ทุกเดือน)
ขั้นตอนการประชาสัมพันธ์หากลุ่มเป้าหมายและติดตามผล 1.อาสาสมัคร นำโปสเตอร์ที่มีข้อมูลการป้องกัน เเละเเก้ปัญหาภาวะซีด ไปติดในที่สาธารณะต่างๆ เพื่อประชาสัมพันธ์ เช่น ศาลาชุมชน วัด มัสยิด ฯลฯ เเละนำเเผ่นพับที่มีข้อมูลการป้องกัน เเละเเก้ปัญหาภาวะซีดไปเเจกให้กับหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอดไม่เกิน 42 วัน ที่สมัครใจเข้าร่วมโครงการ
2. อาสาสมัคร มีการติดตาม การดูเเลตนเองของกลุ่มเป้าหมาย ตามเเนวทางที่มีในเเบบติดตามที่ได้รับจากโครงการ กรณีพบปัญหา ให้ประสานผู้รับผิดชอบโครงการตลอด 24 ชม.
3.อาสาสมัคร มีการติดตาม ในกลุ่มเป้าหมาย ที่เป็นหญิงตั้งครรภ์ /หญิงหลังคลอด ต่อเนื่อง ไม่น้อยกว่า 1 เดือน หรือ 4 สัปดาห์
งบประมาณ
1. ค่าแผ่นพับประชาสัมพันธ์ แผ่นละ 2 บาทx 500 แผ่น เป็นเงิน 1,000บาท
2. ค่าโปสเตอร์ประชาสัมพันธ์ แผ่นละ 50 บาทx 40 แผ่นเป็นเงิน 2,000 บาท
3. ค่าแฟ้ม สมุดบันทึก ปากกาชุดละ 30 บาทx 60 ชุด เป็นเงิน 1,800 บาท
4. ค่าถ่ายเอกสารประกอบการประชุม และติดตาม เป็นเงิน 1,200 บาท
5. สรุปผลการดำเนินโครงการ จำนวน 2 เล่ม ๆละ 250 บาท เป็นเงิน 500 บาทงบประมาณ 6,500.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 เมษายน 2568 ถึง 31 สิงหาคม 2568
ตำบลพิมาน
รวมงบประมาณโครงการ 16,400.00 บาท
หมายเหตุ : ค่าใช้จ่ายทุกรายการถั่วเฉลี่ยจ่ายกันได้
- ตำบลพิมาน มีจำนวนหญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอดที่มีภาวะซีดลดลง
- หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด สามารถดูเเลตนเองได้ในการป้องกันเเละเเก้ปัญหาภาวะซีดได้ 3.หญิงตั้งครรภ์/หญิงหลังคลอด มีภาวะเเทรกซ้อนจากภาวะซีดลดลง
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองสตูล รหัส กปท. L8008
อำเภอเมืองสตูล จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................