กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ชะมวง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา

เขตรับผิดชอบโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาได้แก่หมู่ที่ 3หมู่ที่ 12หมู่ที่ 14หมู่ที่ 15หมูที่ 16ตำบลชะมวงอำเภอควนขนุนจังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

 

25.00
2 ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน

 

95.27
3 ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี

 

55.91
4 ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง

 

95.79
5 ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี

 

75.66

โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO) มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์ และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่าจากการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566พบว่าจังหวัดพัทลุงมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสูงขึ้นทุกๆปี เนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกายจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ต.ชะมวงอ.ควนขนุนจ.พัทลุงพบว่าประชากรอายุ35ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,590 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,523 คนคิดเป็นร้อยละ 95.79 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ0.94 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 104 คนคิดเป็นร้อยละ 55.91 สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชากรอายุ35ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,374คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,310 คนคิดเป็นร้อยละ 95.27 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 317 คนคิดเป็นร้อยละ 75.66เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย
ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2สผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน

ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง

25.00 24.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน

ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน

95.00 96.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ50

55.91 56.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดับโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี

ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ78

75.66 78.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 1,628
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 02/01/2025

กำหนดเสร็จ 15/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม.ต่อสู้โรคNCDs

ชื่อกิจกรรม
ประชุมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม.ต่อสู้โรคNCDs
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ รพ.สต. อสม.เป็นแกนนำอสม.ต่อสู้โรค NCDs (ตรวจคัดกรองและดูแลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง)
งบประมาณ
1. ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คน และผู้เข้ารับการอบรม 82 คน รวมเป็น 87 คน x1มื้อ x25บาท เป็นเงิน 2,175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
9 มกราคม 2568 ถึง 9 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1. เจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม.ทุกคนเข้าร่วมอบรมทักษะตรวจคัดกรองและดูแลกลุ่มเสี่ยง ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง คิดเป็นร้อยละ 100
ผลลัพธ์
1. ลดอัตราการเกิดผู้ป่วยรายใหม่โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2175.00

กิจกรรมที่ 2 คัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป

ชื่อกิจกรรม
คัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

คัดกรองโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูงในประชากรอายุ 35 ปี ขึ้นไป
งบประมาณ 1. จัดซื้อแถบวัดระดับน้ำตาลพร้อมเข็มเจาะ 17 กล่อง ๆ ละ 960 บาท เป็นเงิน 16,320 บาท
2. ค่าเครื่องตรวจระดับน้ำตาลในเลือด จำนวน 3 เครื่อง ๆ ละ 2,650 บาท เป็นเงิน 7,950 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
7 มกราคม 2568 ถึง 18 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต 1.ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมากกว่าร้อยละ96 2.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ 2และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ5
ผลลัพธ์ 1. ประชาชนกลุ่มเป้าหมายรับรู้สถานะสุขภาพของตนเองและสามารถดูแลปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้เหมาะสม
2.ผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ 2และผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่จากการคัดกรองน้อยกว่าร้อยละ5

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
24270.00

กิจกรรมที่ 3 ประชุมเครือข่ายและสร้างมาตรการชุมชน

ชื่อกิจกรรม
ประชุมเครือข่ายและสร้างมาตรการชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมเครือข่ายและสร้างมาตรการชุมชนผ่านการประชุมหมู่บ้าน ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
15 มกราคม 2568 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.เกิดมาตรการในชุมชน
ผลลัพธ์
1.คนในชุมชนปฏิบัติตามมาตรการในชุมชนได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 สร้างความรอบรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
สร้างความรอบรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม อบรมให้ความรู้เรื่องโรค อาหารและการออกกำลังกายในกลุ่มเสี่ยง/สงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับเจ้าหน้าที่ รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง,วิทยากร 5 คนและผู้เข้ารับการอบรม 50 คน รวมเป็น 55 คน x1มื้อ x25บาท เป็นเงิน 1,375 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชั่วโมง เป็นเงิน 1,800บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
23 เมษายน 2568 ถึง 23 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานเข้ารับการอบรมจำนวน50 คน
ผลลัพธ์
1.กลุ่มเสี่ยงโรคความดันโลหิตสูงและโรคเบาหวานได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสม 2.ลดกลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3.ลดอัตราป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงรายใหม่

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3175.00

กิจกรรมที่ 5 กิจกรรมสร้างความรอบรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการเก็บรักษายาของผู้ป่วยที่รับบริการที่ รพ.สต.

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมสร้างความรอบรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการเก็บรักษายาของผู้ป่วยที่รับบริการที่ รพ.สต.
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.สร้างความรอบรู้และสื่อสารความเสี่ยงเรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เช่น ภาวะ Hypo hyperglycemaiภาวะStroke ผู้ป่วยที่รับบริการที่ รพ.สต.ในวันคลินิก NCD (วันพุธ สัปดาห์ที่ 3 ของเดือน)
2.สร้างความรอบรู้เรื่องการใช้ยา การเก็บรักษายา และนำยาโรคประจำตัวมาด้วยทุกครั้งที่มารับบริการ
3.จัดเก็บยาให้ผู้ป่วยตามมาตรฐานการเก็บรักษายาโรคประจำตัว
งบประมาณ 1.ชุดกล่องเก็บยาพร้อมสติ๊กเกอร์การดูแลยา ขนาด 19 CM X 24.5 CM X 15 CM ชุดละ 100 บาท จำนวน 150 ชุด คิดเป็นเงิน 15,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 20 สิงหาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่รับบริการที่คลินิก NCDsที่ รพ.สต. เข้าร่วมกิจกรรมสร้างรอบรู้ ร้อยละ 90
ผลลัพธ์ 1. ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองในการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ที่รับบริการที่คลินิก NCDsที่ รพ.สต. 2. ลดภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง
3. ลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 4. ผู้ป่วยสามารถหยิบยากินเองที่บ้านได้ถูกต้อง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15000.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน

ชื่อกิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน ค่าDTX >100mg%
งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรค เบาหวาน จากการคัดกรองได้รับการติดตามเจาะFBSมากกว่า  ร้อยละ80
ผลลัพธ์
1.กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรค เบาหวานรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเองมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มแฝง/เสี่ยงโรคความดันโลหิตสูง (SBP=120-139 mmHg. หรือ DBP = 80-89 mmHg.) หลังได้รับการคัดกรองภายใน 180 วัน
งบประมาณ -ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
3 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงจากการคัดกรองได้รับการติดตามวัดความดันที่บ้านมากกว่าร้อยละ80
ผลลัพธ์ กลุ่มเสี่ยงและสงสัยเป็นโรคความดันโลหิตสูงมีภาวะสุขภาพดีขึ้น

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 8 อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม 1.อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวาน
2.ตรวจประเมินสุขภาพช่องปากพร้อมแนะนำการแปรงฟัน ฝึกปฏิบัติตาม
3.ตรวจเท้าและแช่เท้าสมุนไพรพร้อมให้ฝึกปฏิบัติตาม
งบประมาณ 1.ค่าอาหารว่าง สำหรับเจ้าหน้าที่รพ.สต.ผู้เกี่ยวข้อง, วิทยากร 5 คนและผู้เข้ารับการอบรม 70คน จำนวน 2 รุ่น รวมเป็น75คนx1มื้อx25บาทx2รุ่น เป็นเงิน 3,750 บาท 2.ค่าสมนาคุณวิทยากร 2 คน ชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 3 ชม. จำนวน 2 รุ่น เป็นเงิน 7,200 บาท (ลักษณะฐานการเรียนรู้)

ระยะเวลาดำเนินงาน
16 เมษายน 2568 ถึง 18 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสาเข้าร่วมอบรมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร้อยละ 80 2.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ได้ รับการตรวจประเมินเท้า มากกว่าร้อยละ  80 3.ผู้ป่วยเบาหวานเขตรับผิดชอบ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ได้รับการตรวจประเมินช่องปากพร้อมฝึกปฏิบัติโดยทันตบุคลากรมากกว่าร้อยละ 80 ผลลัพธ์
1.สามารถลดภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยเบาหวานได้ 2.ลดอัตราการตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคเบาหวาน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10950.00

กิจกรรมที่ 9 เยี่ยมบ้าน ย่องครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง

ชื่อกิจกรรม
เยี่ยมบ้าน ย่องครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.เยี่ยมบ้าน ย่องครัวผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงเพื่อตรวจความเค็มและให้ความรู้เพื่อชะลอไตเสื่อม
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 27 มิถุนายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงทราบค่าความเค็มในอาหาร
ผลลัพธ์
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความรอบรู้และสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการปรุงอาหารเพื่อชะลอไตเสื่อมได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 10 สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กิจกรรม
1.ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองสัญญาณเตือนโรคหลอดเลือดสมอง
2.ประเมิน CVD risk ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง 3.ผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่มีความเสี่ยง CVD risk ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมอย่างเข้มข้นและติดตามเยี่ยมบ้านจนมีพยาธิสภาพดีขึ้น ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผลผลิต
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ได้รับการประเมินความเสี่ยง CVD มากกว่า  ร้อยละ90
ผลลัพธ์
1.ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงมีความเสี่ยงCVD riskลดลง ป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 55,570.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95
2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง
3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5ุ6
4.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ80


>