โครงการบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการบูรณาการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-50105-01-08 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสา |
วันที่อนุมัติ | 22 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 2 มกราคม 2568 - 15 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | |
งบประมาณ | 55,570.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางศิรานันท์ บุตรบุรี |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 1628 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน | 25.00 | ||
2 | ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวาน | 95.27 | ||
3 | ร้อยละผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดี | 55.91 | ||
4 | ร้อยละประชาชนที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูง | 95.79 | ||
5 | ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมความดันโลหิตได้ดี | 75.66 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไม่ติดต่อเรื้อรัง(NCDs) เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยด้วยพบว่าอัตราชุกของโรคเหล่านี้มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆโดยเฉพาะโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคหลอดเลือดสมององค์การอนามัยโลก (WHO) มีการประมาณการทางสถิติว่า ทั่วโลกมีผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นเบาหวานประมาณ 125 ล้านคน และมีอัตราการเพิ่มของผู้ป่วยทุกปี และในการศึกษาสถานการณ์ และธรรมชาติวิทยาของโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชากร พบว่าภาพรวมของประเทศประชากรไทยมีแนวโน้มการตายและป่วยจากโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มสูงขึ้นใน 13 ปีขึ้นไป มากกว่าหนึ่งล้านเก้าแสนคน และมีแนวโน้มการเพิ่มขึ้นของความชุกและจำนวนผู้เป็นเบาหวานสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่ออายุสูงขึ้น มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย เมื่อเป็นโรคเบาหวานระยะเวลาหนึ่งแล้วจะเกิดโรคแทรกซ้อนทาง ตา ไต หัวใจ ระบบประสาท แผลเรื้อรัง ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่มีภาวะความดันโลหิตสูงขึ้นมีโอกาสเกิดภาวะหัวใจขาดเลือดเพิ่มขึ้น 3-4 เท่า และโรคหลอดเลือดสมองเพิ่มขึ้น 3-8 เท่าจากการดำเนินงานเพื่อตอบสนอง Service Plan สาขาโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในปีงบประมาณ 2566พบว่าจังหวัดพัทลุงมีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงสูงขึ้นทุกๆปี เนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงที่คุกคามภาวะสุขภาพเช่นพฤติกรรมการดำรงชีวิตที่อาจทำให้เกิดความเครียด ภาวะโภชนาการเกินการขาดการออกกำลังกายจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงของ รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ต.ชะมวงอ.ควนขนุนจ.พัทลุงพบว่าประชากรอายุ35ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นเบาหวานจำนวน 1,590 คนได้รับการคัดกรองเจาะน้ำตาลปลายนิ้วจำนวน 1,523 คนคิดเป็นร้อยละ 95.79 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 5 คนคิดเป็นร้อยละ0.94 ในส่วนของผู้ป่วยเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีจำนวน 104 คนคิดเป็นร้อยละ 55.91 สำหรับการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงพบว่าประชากรอายุ35ปีขึ้นไปที่ยังไม่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 1,374คนได้รับการคัดกรอง จำนวน 1,310 คนคิดเป็นร้อยละ 95.27 เป็นกลุ่มเสี่ยงจำนวน 537 คนพบผู้ป่วยรายใหม่จำนวน 6 คนคิดเป็นร้อยละ 7.32ในส่วนของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีจำนวน 317 คนคิดเป็นร้อยละ 75.66เพื่อให้การดำเนินงานการป้องกันและควบคุมจัดการงานโรคไม่ติดต่อเรื่อรัง NCDsเป็นไปอย่างต่อเนื่อง เราต้องอาศัยการทำงานร่วมกันของภาคีเครือข่ายสุขภาพรวมทั้งประชาชนเพื่อพัฒนาระบบบูรณาการการป้องกันและควบคุมจัดการโรคเบาหวาน/โรคความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดผู้ป่วยรายใหม่ลดภาวะแทรกซ้อนจากโรครวมทั้งการลดอัตราตายจากภาวะแทรกซ้อนของโรคอีกด้วย ทางโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านศาลาตำเสาจึงจัดทำโครงการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน รพ.สต.บ้านศาลาตำเสา ปีงบประมาณ 2568 ขึ้นเพื่อกระตุ้นให้ประชาชนทั่วไปและผู้ป่วยมีความตระหนักและสร้างความรอบรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ2สผู้ป่วยจะต้องได้รับการดูแลและตรวจสุขภาพประจำปีตามเกณฑ์มาตรฐานเพื่อให้ประชาชนสามารถป้องกันและควบคุมโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิต
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อแก้ปัญหาประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน ร้อยละของประชาชนทีมีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลง |
25.00 | 24.00 |
2 | เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน ร้อยละประชาชนกลุ่มเป้าหมายเข้าถึงบริการคัดกรองโรคความดันและโรคเบาหวาน |
95.00 | 96.00 |
3 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ50 |
55.91 | 56.00 |
4 | เพื่อให้ผู้ป่วยโรคความดับโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ78 |
75.66 | 78.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
7 ม.ค. 68 - 18 ธ.ค. 67 | คัดกรองโรคเบาหวานในประชาชนกลุ่มเป้าหมายอายุ 35 ปีขึ้นไป | 0 | 24,270.00 | - | ||
9 ม.ค. 68 | ประชุมพัฒนาทักษะเจ้าหน้าที่ รพ.สต./อสม.ต่อสู้โรคNCDs | 0 | 2,175.00 | - | ||
15 - 31 ม.ค. 68 | ประชุมเครือข่ายและสร้างมาตรการชุมชน | 0 | 0.00 | - | ||
1 ก.พ. 68 - 20 ส.ค. 68 | กิจกรรมสร้างความรอบรู้เรื่องโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงและการเก็บรักษายาของผู้ป่วยที่รับบริการที่ รพ.สต. | 0 | 15,000.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 พ.ค. 68 | ติดตามเจาะ FBS กลุ่มเสี่ยงเบาหวาน | 0 | 0.00 | - | ||
3 ก.พ. 68 - 30 พ.ค. 68 | ติดตามวัดความดันโลหิตที่บ้าน กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วยโรคความดันโลหิตสูง | 0 | 0.00 | - | ||
16 - 18 เม.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมผู้ป่วยเบาหวานและตรวจประเมินภาวะแทรกซ้อน | 0 | 10,950.00 | - | ||
23 เม.ย. 68 | สร้างความรอบรู้ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก3 อ. 2 ส.ในกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง | 0 | 3,175.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 27 มิ.ย. 68 | เยี่ยมบ้าน ย่องครัวผู้ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง | 0 | 0.00 | - | ||
1 พ.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | สื่อสารความเสี่ยง ป้องกันโรคหลอดเลือดสมอง | 0 | 0.00 | - | ||
รวม | 0 | 55,570.00 | 0 | 0.00 |
1.ร้อยละของประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ในเขตรับผิดชอบได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงเพิ่มขึ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ95 2.ร้อยละประชากรกลุ่มเป้าหมายมีความเสี่ยงโรคเบาหวานลดลง 3.ร้อยละของผู้ป่วยโรคเบาหวานสามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดีไม่น้อยกว่าร้อยละ 5ุ6 4.ร้อยละของผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงสามารถควบคุมระดับความดันโลหิตได้ดี ไม่น้อยกว่าร้อยละ80
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 2 ธ.ค. 2567 14:06 น.