กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัย ตำบลกะลุวอเหนือ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือ

พื้นที่เขตเทศบาาลตำบลกะลุวอเหนือ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม

 

4.00

ตามที่ได้มีสถานการณ์ฝนตกหนักและเกิดภาวะอุทกภัยน้ำท่วม ใน 3 จังหวัดชายแดนใต้ ส่งผลให้เกิดความเดือดร้อนแก่ประชาชนในหลายพื้นโดยเฉพาะ พื้นที่จังหวัดยะลา นราธิวาสปัตตานี นั้น ทั้งนี้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประสบภัยสามารถเขียนโครงการด้านสุขภาพขอรับการสนับสนุนงบประมาณเพื่อดำเนินการแก้ปัญหาสุขภาพที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตลอดจนโครงการป้องกันและแก้ปัญหาโรคหรือสุขภาพที่เกิดขึ้นภายหลังจากน้ำลดแล้วจากกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับพื้นที่หรือ กองทุนสุขภาพตำบลตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อ สนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2561 ข้อ10(5) กรณีเกิดโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ให้คณะกรรมการกองทุนพิจารณาอนุมัติจ่ายเงินกองทุนเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมในการป้องกันและแก้ปัญหาสาธารณสุขได้ ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันต่อสถานการณ์ประกอบกับตามประกาศฯ ฉบับ 3 แก้ไขให้ เพิ่มอำนาจประธานกองทุนสุขภาพตำบล ในการอนุมัติโครงการเผชิญและแก้ปัญหาสาธารณสุขจากโรคระบาด ให้สามารถอนุมัติโครงการเลย ไม่ต้องเรียกประชุมคณะกรรมการ เงื่อนไขคือ เป็นการแก้ปัญหาสาธารณสุขเบื้องต้น
สำหรับในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ซึ่งเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่ประสบอุทกภัยประชาชนได้รับความเดือดร้อนกว่า 3,000 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2567) เทศบาลตำบลกะลุวอเหนือมีความตระหนักในปัญหาสุขภาพที่จะตามมาจากน้ำท่วมครั้งนี้ คือ โรคน้ำกัดเท้า หรือ บ่อน้ำบริโภคถูกน้ำท่วมสูง ส่งผลต่อการขาดแคลนน้ำดื่ม ตลอดจนการระบาดของโรคฉี่หนู หรือ โรคไข้เลือดออก โรคหัดที่กำลังระบาดอยู่เดิม จึงจำเป็นต้องดำเนินโครงการเผชิญและบรรเทาผลกระทบจากภัยพิบัติ รวมทั้งมีผู้ปวยติดบ้านติดเตียง ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ที่ไม่สามารถเดินทางไปรับบริการ ณ หน่วยบริการตามปัญหาสุขภาพและความจำเป็นได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม (ร้อยละ) 50

-ไม่เกิดโรคระบาดหลังน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลกะลุวอเหนือ - ประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยได้รับการดูแลทางด้านสุขอนามัย  และสภาพแวดล้อม ร้อยละ 50
-ประชาชนที่มีภาวะสุขภาพได้รับการดูแลส่งต่ออย่างเหมาะสม ร้อยละ 90

4.00 2.00

สามารถลดปัญหาทางสาธารณสุขเบื้องต้นและบรรเทาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะน้ำท่วม (ร้อยละ) 50

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 250
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 05/12/2024

กำหนดเสร็จ : 31/01/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่สำรวจ ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ และจัดหายาและอุปกรณ์ควบคุมป้องกันโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมเจ้าหน้าที่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร่วมกับอาสาสมัครสาธารณาสุขประจำหมู่บ้าน ลงพื้นที่สำรวจ ผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยในพื้นที่ และจัดหายาและอุปกรณ์ควบคุมป้องกันโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าเวชภัณฑ์ กระเป๋าปฐมพยาบาลเบื้องต้น มีค่าใช้จ่ายรวม2,431บาท ดังนี้ 1. กระเป๋าปฐมพยาบาลเบื้องต้นจำนวน 1 ใบ ราคา950 บาทเป็นเงิน 950บาท
2. Elastic bandage ขนาด 3 นิ้ว6ม้วนๆละ 30บาท เป็นเงิน 180 บาท 3. Elastic bandage ขนาด 4 นิ้ว6ม้วนๆละ 33บาท เป็นเงิน198 บาท 4. Elastic bandage ขนาด 6 นิ้ว6ม้วนม้วนละ 50 บาทเป็นเงิน 300 บาท 5. alum milk 200 ml. 2 ขวดๆละ59บาท เป็นเงิน 118 บาท 6. MOM2 ขวดๆละ80บาท เป็นเงิน160 บาท 7. ไม้พันสำลี M 3 ถุงๆละ35บาทเป็นเงิน105บาท 8. กรรไกรตัดไหม2 อันละ75 บาท เป็นเงิน 150บาท 9. Transpore ขนาด 1 นิ้ว 2ม้วนๆ 40บาท เป็นเงิน 80บาท 10. Dimenhydrinate50 mg.10 แผงๆละ10บาทเป็นเงิน100บาท 11. Ammonia 30 ml จำนวน 3 ขวดๆละ 30 บาท เป็นเงิน90บาท 12. เครื่องวัดความดันอัตโนมัติ จำนวน 1 เครื่อง 3,000บาท 13. เครื่องวัดไข้ดิจิตอลจำนวน 1 เครื่อง500บาท 14. ยา วัสดุและน้ำยาฆ่าเชื้อต่างๆที่จำเป็นต้องใช้ในการปฐมพยาบาลเบื้องต้น เช่น น้ำเกลือ แอลกอฮอล์ ฯลฯ1,500บาท

ค่าเวชภัณฑ์แก้ปัญหาโรคน้ำกัดเท้า และเจ็บป่วยของ ปชช. มีค่าใช้จ่ายรวม 62,210บาท ดังนี้ 1. Paracetamol 500 mg. จำนวน 500แผงๆละ 15 บาทเป็นเงิน7,500บาท 2. Chlorpheniramine จำนวน 250 ขวดๆละ 10 บาทเป็นเงิน 2,500บาท 3. ครีมยาทาน้ำกัดเท้า จำนวน 250 หลอดๆละ 30 บาทเป็นเงิน 7,500บาท 4. Povidone Iodine จำนวน 250 ชุด ๆละ 35 บาทเป็นเงิน 8,750บาท 5. ยาหม่อง จำนวน 250 ชุด ๆละ 40 บาทเป็นเงิน 10,000บาท 6. พลาสเตอร์ยา (100 ชิ้น) จำนวน 15 กล่อง ๆละ 100 บาทเป็นเงิน1,500 บาท 7. ORS (50 ซอง) จำนวน 10กล่อง ๆละ 150 บาทเป็นเงิน 1,500 บาท 8. โลชั่นกันยุงจำนวน 250 ขวดๆละ 50บาทเป็นเงิน10,000บาท 9. ก๊อซ จำนวน 25 กล่องๆละ 98 บาท เป็นเงิน1,960 บาท 10. สำลี จำนวน 15 แพค ๆละ 100 บาทเป็นเงิน 1,000บาท 11. ถุงซิปล็อคบรรจุยา จำนวน 2แพค ๆละ 130 บาท เป็นเงิน 260 บาท 12. กล่องพลาสติกบรรจุยา กันน้ำ 250 ชิ้นๆ 25 บาท เป็นเงิน5,000บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
5 ธันวาคม 2567 ถึง 14 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนผุ้ประสบภัยได้รับการเบี่ยมบ้าน ได้รับการประเมินภาวะสุขภาพเบื้องต้น มียาหรือเวชภัณฑ์บรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากภาวะอุทกภัย และได้รับการดูแลส่งต่อได้อย่างทันท่วงทีหากเกิดภาวะสุขภาพที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาอย่างเร่งด่วน ช่วยลดการแพร่กระจายเชื้อไปสู่บุคคลอื่นหรือชุมชนได้ หากเกิดโรคติดต่อ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
69655.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการฟื้นฟู ปชช.ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น การทำความสะอาดหรือล้าง กำจัดขยะที่เกิดจากน้ำท่วมหรือช่วงน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการฟื้นฟู ปชช.ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เช่น การทำความสะอาดหรือล้าง กำจัดขยะที่เกิดจากน้ำท่วมหรือช่วงน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. คลอรีนผง ถัง 5 กิโลกรัมจำนวน 20 ถังๆละ 450 บาท เป็นเงิน 9,000 บาท
  2. สารส้มกระสอบละ 30 กิโลกรัม จำนวน 4 กระสอบๆละ 400 เป็นเงิน 1,600 บาท
  3. ถุงพลาสติกPEแบบหนา จำนวน 10 แพคๆละ100 บาท เป็นเงิน 1,000 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
8 ธันวาคม 2567 ถึง 31 มกราคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สภาพแวดล้อมหลังน้ำท่วมไม่เกิดแหล่งรังโรค  ได้รับการทำความสะอาดอย่างถูกหลักอนามัย  บ่อน้ำอุปโภคบริโภคของประชาชนได้รับการฆ่าเชื้อหลังน้ำลดได้อย่างเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
25345.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 95,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ปชช.ไม่เกิดโรคจากน้ำท่วม
2. ปชช.ได้รับการดูแลเบื้องต้นทางสุขภาพภายหลังจากน้ำท่วม ไม่ก่อให้เกิดโรคระบาดภายหลัง


>