กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลอ่างทอง

งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลตำบลอ่างทอง

ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

 

0.09

โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปีรองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่างทอง เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 2 ราย พ.ศ.2566 จำนวน 5 ราย และ พ.ศ. 2567จำนวน 4 ราย ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะระบาดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีฝนตกและอากาศร้อนเป็นช่วงๆ ส่งผลให้มีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ เทศบาลตำบลอ่างทอง ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ. 2562 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ของเทศบาล มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ เพื่อการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2568

อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 ลดลง ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 3 ปี ย้อนหลัง

0.09 0.06
2 เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุมโรค ร้อยละ 100

80.00 100.00
3 เพื่อรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน

ค่า HI ของหมู่บ้าน < 5 และค่า CI ในโรงเรียน วัด = 0

0.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 16/06/2025

กำหนดเสร็จ 31/07/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมที่ ๑ เฝ้าระวังโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ ๑ เฝ้าระวังโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รณรงค์ประชาสัมพันธ์และทำการสำรวจลูกน้ำยุงลาย ระหว่างหมู่บ้าน โดย คณะ อสม. แต่ละหมู่บ้านและเจ้าหน้าที่ จะทำการสุ่มสำรวจหมู่บ้านอื่น ที่ไม่ใช่หมู่บ้านของตนเอง พร้อมทั้งทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย

  • ค่าป้ายประชาสัมพันธ์โครงการ ขนาด 1.20*2.40 ม. จำนวน 3 ป้ายๆ ละ 500 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท
  • ค่าป้ายรณรงค์ป้องกันโรคไข้เลือดออก ขนาด 30*40 ซม. จำนวน 4 ป้าย ๆ ละ 150 บาท เป็นเงิน 600 บาท
  • ค่าเช่าเครื่องเสียง จำนวน 1 วัน เป็นเงิน 1,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 100 คนๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนได้รับการดูแลและป้องกันภัยจากโรคระบาด

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5600.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมที่ 2 ควบคุมโรค

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมที่ 2 ควบคุมโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าจ้างเหมา พ่นหมอกควัน เพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลาย ในสถานที่ราชการ และแหล่งชุมชน ทั้ง 8 หมู่บ้าน จำนวน 4,500 บาท
  • จัดซื้อน้ำยาเคมีพ่นหมอกควันกำจัดยุง ขนาดบรรจุ ขวด 1 ลิตร จำนวน 1 ขวดๆ ละ 1,600 บาท เป็นเงิน 1,600 บาท
  • จัดซื้อทรายอะเบทกำจัดลูกน้ำยุงลายชนิดแพคซอง 50 กรัม/500 ซอง จำนวน 2 ถังๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท
  • ค่าโลชั่นทากันยุงในกรณีบ้านที่มีการระบาด จำนวน 50 ซองๆ ละ 8 บาท เป็นเงิน 400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
16 มิถุนายน 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายในพื้นที่ตำบลอ่างทอง ไม่มีผู้ป่วยจากโรคไข้เลือดออก หรือลดลงจากปีที่แล้ว

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 19,100.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
2. อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 ลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 3 ปี ย้อนหลัง
3. ค่า HI ของหมู่บ้าน < 5 และค่า CI ในโรงเรียน วัด = 0


>