โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L1539-1-04 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยงานสาธารณสุขอื่นของ อปท. เช่น กองสาธารณสุขของเทศบาล |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม สำนักปลัดเทศบาลตำบลอ่างทอง |
วันที่อนุมัติ | 25 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 16 มิถุนายน 2568 - 31 กรกฎาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 19,100.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวหนึ่งฤทัย ตุงเยด |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลอ่างทอง อำเภอศรีนครินทร์ จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด | 0.09 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคไข้เลือดออก เป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาสาธารณสุข เนื่องจากโรคนี้มีแนวโน้มการระบาดในช่วงฤดูฝนของทุกปี และพบว่าประชากรที่ป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมากที่สุด ได้แก่ กลุ่มเด็กวัยเรียนที่มีอายุตั้งแต่ 5 - 14 ปีรองลงมาคือ เด็กก่อนวัยเรียนและเด็กโตตามลำดับ ปัจจุบันยังพบผู้ป่วยไข้เลือดออกในผู้ใหญ่และมีการเกิดโรคตลอดทั้งปีอีกด้วย การดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออกให้ประสบความสำเร็จ และเกิดประสิทธิภาพนั้น จำเป็นต้องระดมความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการกำจัดยุงลายที่เป็นพาหนะนำโรคและรณรงค์ให้ชุมชนตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาโรคไข้เลือดออกและร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคที่ยั่งยืน ปัญหาการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออกที่มีมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการปรับเปลี่ยน แนวคิดในการแก้ไขปัญหา จากการตั้งรับไปสู่นโยบายเชิงรุกโดยใช้ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมให้คนในชุมชนได้ ตระหนักถึงสภาพปัญหาของโรคไข้เลือดออก เกิดความรับผิดชอบต่อปัญหาที่เกิดขึ้นในชุมชนของตนเอง พร้อมทั้งหาวิธีการแก้ไข ดังนั้นการดำเนินงานป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก จึงต้องปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของโรคที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเน้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญและถือเป็นภารกิจที่ต้องช่วยกัน กระตุ้นและชักนำให้ ประชาชน องค์กรชุมชน โรงเรียน ศาสนสถาน ตลอดจนเครือข่ายสุขภาพให้มีส่วนร่วมอย่างจริงจังและต่อเนื่อง สถานการณ์โรคไข้เลือดออกในพื้นที่เทศบาลตำบลอ่างทอง เป็นพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก จากข้อมูล 3 ปี ที่ผ่านมามีผู้ป่วยเป็นไข้เป็นไข้เลือดดังนี้คือ ปี พ.ศ. 2565 จำนวน 2 ราย พ.ศ.2566 จำนวน 5 ราย และ พ.ศ. 2567จำนวน 4 ราย ซึ่งสถานการณ์โรคไข้เลือดออกมีแนวโน้มจะระบาดมากยิ่งขึ้น เนื่องจากปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมที่มีฝนตกและอากาศร้อนเป็นช่วงๆ ส่งผลให้มีการเกิดโรคอย่างต่อเนื่อง จึงเป็นกิจกรรมสำคัญที่ต้องเร่งรัดดำเนินการ เทศบาลตำบลอ่างทอง ตระหนักและเห็นความสำคัญของปัญหาจึงได้จัดทำโครงการชุมชนร่วมใจทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงลายและป้องกันภัยโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึงฉบับที่ 14 พ.ศ. 2562 ส่วนที่ 3 อำนาจหน้าที่ของเทศบาล มาตรา 50 ภายใต้บังคับแห่งกฎหมาย เทศบาลตำบลมีหน้าที่ต้องทำในเขตเทศบาล (4) ป้องกันและระงับโรคติดต่อ เพื่อการสร้างความเข้าใจ ตระหนักให้ความสำคัญ จึงเกิดความร่วมมือในชุมชนอย่างจริงจัง นำไปสู่การป้องกันไข้เลือดออกได้
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดอัตราป่วยและไม่มีผู้ป่วยตาย ด้วยโรคไข้เลือดออก ปี 2568 อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 ลดลง ร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 3 ปี ย้อนหลัง |
0.09 | 0.06 |
2 | เพื่อควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไข้เลือดออก ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก ได้รับการควบคุมโรค ร้อยละ 100 |
80.00 | 100.00 |
3 | เพื่อรณรงค์การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายและกำจัดลูกน้ำยุงลายในโรงเรียนและชุมชน ค่า HI ของหมู่บ้าน < 5 และค่า CI ในโรงเรียน วัด = 0 |
0.00 | 0.00 |
วันที่ | ชื่อกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) | งบกิจกรรม (บาท) | ทำแล้ว | ใช้จ่ายแล้ว (บาท) | |
---|---|---|---|---|---|---|
16 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมที่ ๑ เฝ้าระวังโรค | 100 | 5,600.00 | - | ||
16 มิ.ย. 68 - 31 ก.ค. 68 | กิจกรรมที่ 2 ควบคุมโรค | 0 | 13,500.00 | - | ||
รวม | 100 | 19,100.00 | 0 | 0.00 |
- ร้อยละ 80 ของประชาชนมีความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการควบคุมโรคไข้เลือดออก
- อัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในปี 2568 ลดลงร้อยละ 20 ของค่ามัธยฐาน 3 ปี ย้อนหลัง
- ค่า HI ของหมู่บ้าน < 5 และค่า CI ในโรงเรียน วัด = 0
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 09:42 น.