กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ทุ่งใหญ่

รพสต.ทุ่งใหญ่

นางสาวสุภาพร กนกเพ็ชร

ตำบลทุ่งใหญ่

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง , แผนงานมลพิษจากสิ่งแวดล้อม

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เกษตรกรตำบลทุ่งใหย่ร้อยละ 100 พบสารเคมีบนเปื้นในเลือด

 

200.00

สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน
กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับ
ความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีด
ที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจ
ละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์หาสารพวกออร์กาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเมท จากอวัยวะต่างๆ หรือจากเลือดมักจะได้ผลไม่ดี เนื่องจากสารพิษเหล่านั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเกิดปฏิกิริยาทางเคมีหลายอย่าง ตำบลทุ่งใหญ่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ขึ้นเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับสมุนไพลล้างพิษ เพื่อทำการเฝ้าระวังระดับสารเคมีในกระเเสเลือดของเกษตรกรต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่เกษตรกร

เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยบวกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ร้อยละ 80

0.00
2 เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยง จากสารเคมีจากการเกษตร

เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีระดับสารเคมีในเลือดลดลงอย่างน้อยร้อยละ 60

0.00

1. เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่เกษตรกร
2. เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยง จากสารเคมีจากการเกษตร

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 200
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1. ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเกษตรกร

ชื่อกิจกรรม
1. ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเกษตรกร
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเกษตรกร ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม สำหรับผู้เข้ารับการฝึกอบรม
    • จำนวน 200 คนx30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
  2. ค่าวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ละ ๖๐๐ บาท x 4 ชั่วโมง เป็นเงิน2,400บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8400.00

กิจกรรมที่ 2 2.กิจกรรมดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
2.กิจกรรมดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

2.1เพื่อประเมินความเสี่ยงจากการใช้สารเคมี (การคืนข้อมูลการตจรวจเลือดในปี 2566) 2.2 แนะนำสมุนไพรลดล้างพิษ สำหรับผู้มีความเสี่ยง พร้อมการรณรงค์การใช้สมุนไพรล้างพิษ - ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม 200 คนx30 บาท x 1 มื้อเป็นเงิน6,000 บาท - ค่าสมุนไพรล้างพิษ (รางจืด) 200 กล่องๆละ 50 บาท เป็นเงิน 10000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
16000.00

กิจกรรมที่ 3 3.ติดตามผลการใช้สมุนไพรล้างพิษ (คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีซ้ำ)

ชื่อกิจกรรม
3.ติดตามผลการใช้สมุนไพรล้างพิษ (คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีซ้ำ)
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

3.ติดตามผลการใช้สมุนไพรล้างพิษ (คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีซ้ำ) - ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่ม 200 คนx30 บาท x 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท - ค่าชุดตรวจสารเคมีในเลือดเกษตรกร 8000 บาท ประกอบด้วย กระดาษทดสอบโคลีนเอสเตอเรส, แผ่นเทียบสีมาตรฐาน, เข็มเจาะเลือด, หลอดฮีมาโตคริต, แผ่นกระจก, ดินน้ำมัน, สำลีแอลกอฮอล์, ชุดตรวจสารเคมีในเลือด

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 38,400.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
2.เกษตรกรและผู้บริโภครู้จักความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.เกษตรกรและผู้บริโภคมีค่าระดับสารเคมีในเลือดลดน้อยลง


>