โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ
ชื่อโครงการ | โครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ |
วันที่อนุมัติ | 14 กุมภาพันธ์ 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 เมษายน 2568 - 29 สิงหาคม 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 สิงหาคม 2568 |
งบประมาณ | 38,400.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลทุ่งใหญ่ อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 200 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด | |||
---|---|---|---|---|
1 | เกษตรกรตำบลทุ่งใหญ่ร้อยละ 100 พบสารเคมีปนเปื้อนในเลือด | 200.00 |
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
สถานการณ์โรคและภัยสุขภาพจากสารเคมีในปัจจุบัน สะท้อนให้เห็นว่าแนวโน้มการนำเข้าสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสูงขึ้น ส่งผลให้อัตราป่วยของโรคจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่งสูงขึ้นเช่นกัน
กลุ่มเกษตรกรเป็นกลุ่มแรงงานที่สำคัญของประเทศ และยังคงมีปัญหาการเจ็บป่วยจากพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช และสารกำจัดแมลง ซึ่งอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชดังกล่าวทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ
ทั้งเฉียบพลันและเรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิตขึ้นอยู่กับระดับ
ความเข้มข้น ความเป็นพิษและปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติในร่างกาย สารเคมีที่เข้าไปสะสมจะไปทำลายอวัยวะภายในร่างกาย เช่น ตับ ไต ปอด สมอง ผิวหนัง ระบบประสาท ระบบสืบพันธุ์ และตา ซึ่งขึ้นอยู่กับว่าจะได้รับสารเคมีเข้าสู่ร่างกายทางใด และปริมาณมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่แล้วการที่อวัยวะภายในร่างกายได้สะสมสารเคมีไว้จนจนถึงขีด
ที่ร่างกายไม่อาจทนได้ จนแสดงอาการต่างๆขึ้นมา เช่น โรคมะเร็ง โรคต่อมไร้ท่อ โรคเลือด และระบบภูมิคุ้มกัน เป็นต้น สารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจ
ละอองสารเคมีที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานน้ำและอาหารที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรมการใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้น ทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชนและผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชเพิ่มขึ้น ในส่วนของการตรวจวิเคราะห์หาสารพวกออร์กาโนฟอสเฟตหรือคาร์บาเมท จากอวัยวะต่างๆ หรือจากเลือดมักจะได้ผลไม่ดี เนื่องจากสารพิษเหล่านั้นจะเกิดการเปลี่ยนแปลงในร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยเกิดปฏิกิริยาทางเคมีหลายอย่าง ตำบลทุ่งใหญ่ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรม โดยมีพื้นที่ที่ใช้ในการเกษตรส่วนใหญ่ของพื้นที่ทั้งหมด ผลกระทบจากการใช้สารเคมีในการควบคุมและกำจัดศัตรูพืช จึงกระจายและขยายเป็นวงกว้าง ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลทุ่งใหญ่ จึงเล็งเห็นความสำคัญของสุขภาพเกษตรกรในพื้นที่ จึงได้จัดทำโครงการเกษตรกรปลอดโรค ผู้บริโภคปลอดภัย สมุนไพรล้างพิษ ขึ้นเพื่อให้ประชาชนและเกษตรกรกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่ ได้รับสมุนไพลล้างพิษ เพื่อทำการเฝ้าระวังระดับสารเคมีในกระเเสเลือดของเกษตรกรต่อไป
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | 1. เพื่อให้มีการจัดบริการดูแลสุขภาพเชิงรุกแก่เกษตรกร เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยบวกับการใช้สารเคมีที่ถูกต้อง ร้อยละ 80 |
0.00 | |
2 | เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยและความสูญเสียจากปัจจัยเสี่ยง จากสารเคมีจากการเกษตร เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีระดับสารเคมีในเลือดลดลงอย่างน้อยร้อยละ 60 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 38,400.00 | 0 | 0.00 | |
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | 1. ถ่ายทอดความรู้แก่อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และผู้ที่เกี่ยวข้องให้มีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพเกษตรกร | 0 | 8,400.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | 2.กิจกรรมดูแลสุขภาพเชิงรุกในชุมชน | 0 | 16,000.00 | - | ||
1 มี.ค. 68 - 31 ก.ค. 68 | 3.ติดตามผลการใช้สมุนไพรล้างพิษ (คัดกรองความเสี่ยงจากการใช้สารเคมีซ้ำ) | 0 | 14,000.00 | - |
1.เกษตรกรและผู้บริโภคมีความปลอดภัยจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 2.เกษตรกรและผู้บริโภครู้จักความเสี่ยงจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช 3.เกษตรกรและผู้บริโภคมีค่าระดับสารเคมีในเลือดลดน้อยลง
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 6 ธ.ค. 2567 09:43 น.