กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการแก้ปัญหาและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตำบลตะปอเยาะ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะปอเยาะ

กองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ

-

ตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอจังหวัดนราธิวาส

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ตามที่องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ อำเภอยี่งอ จังหวัดนราธิวาสได้ดำเนินงานกองทุน
หลักประกันสุขภาพองค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะเพื่อสนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุข ในการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค และฟื้นฟูสมรรถภาพและการรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก ที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตของประชาชนในชุมชนหรือท้องถิ่นและตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การกำหนดหลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่น หรือพื้นที่ พ.ศ. 2567 ข้อ 10 (5) เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมกิจกรรมกรณีโรคระบาดหรือภัยพิบัติในพื้นที่ ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาสาธารณสุขได้ตามความจำเป็นเหมาะสมและทันสถานการณ์ได้
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานมีความสอดคล้องตามประกาศคณะกรรมการฯ ทางกองสาธารณสุขและ
สิ่งแวดล้อม องค์การบริหารส่วนตำบลตะปอเยาะ ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการป้องกันสุขภาพที่จะตามมาจาก
น้ำท่วม จึงได้จัดทำโครงการแก้ปัญหาและป้องกันโรคที่เกิดจากภัยพิบัติน้ำท่วมตำบลตะปอเยาะ 2568 เพื่อ
เตรียมความพร้อมในการรับมือกับปัญหาสุขภาพจากภาวะอุทกภัยน้ำท่วมในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ บรรเทาความ
เดือดร้อนของประชาชน ป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิตและสุขภาพ รวมถึงการฟื้นฟูสภาพร่างกายและจิตใจ
ของประชาชนในพื้นที่ตำบลตะปอเยาะ

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1.เพื่อให้ประชาชนได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วมและป้องกันตนเองได้อย่างถูกต้อง

ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับการาสามัญประจำบ้านที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหาสุขภาพจากภาวะน้ำท่วมและป้องกันได้อย่างถูกต้อง)

100.00 100.00
2 2.เพื่อให้การช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่น ๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

ร้อยละ 100 ประชาชนได้รับช่วยเหลือและสนับสนุน ในการดูแลสุขภาพที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม)

100.00 100.00
3 3. เพื่อลดอัตราป่วย ภาวะแทรกซ้อนและผลกระทบจำภาวะฉุกเฉินทางสุขภาพ

ร้อยละ 80 ลดอัตราป่วยโรคน้ำกัดเท้า หรือโรคไข้เลือดออก และภาวะแทรกซ้อน)

80.00 80.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 2,400
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/12/2024

กำหนดเสร็จ : 31/12/2024

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคเชิงรุก-แก้ไขผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จากน้ำท่วม

ชื่อกิจกรรม
1.กิจกรรมควบคุมป้องกันโรคเชิงรุก-แก้ไขผลกระทบต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตประชาชนในพื้นที่จากน้ำท่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ค่าจัดซื้อเวชภัณฑ์/ยาสามัญประจำบ้าน ประกอบด้วย 1.1 ค่าป้ายประชาสัมพันธ์ ขนาด 1.2x 2.40 เมตรๆละ 250 บาท เป็นเงิน 720 บาท 1.2 แผ่นพับให้ความรู้การปฏิบัติตัวก่อนเผชิญสถานการณ์น้ำท่วมและหลังเผชิญสถานการณ์น้ำท่วม 1.3 ค่าน้ำยากัดเท้า จำนวน 2,400 หลอดๆ 10 บาท เป็นเงิน 24,000 บาท 1.4 ค่ายาพาราจำนวน2,400แผงๆ10.5 บาท เป็นเงิน 25,200บาท
1.5 ค่ายาแก้หวัด จำนวน 360 กระปุกๆ12.5 บาท เป็นเงิน4,500 บาท
1.6 ค่ายาทากันยุงจำนวน 2,400 ซองๆ19 บาท เป็นเงิน 45,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ธันวาคม 2567 ถึง 31 ธันวาคม 2567
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคที่มากับน้ำท่วม ตามความจำเป็นและเหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
100000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 100,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการแก้ปัญหาสุขภาพที่ตามมาจากน้ำท่วม
2. ประชาชนในพื้นที่ได้รับการช่วยเหลือและสนับสนุนการดำเนินงานอื่นๆ ในการดูแลสุขภาพประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากโรคที่มากับน้ำท่วม ตามความจำเป็นและเหมาะสม
3 ประชาชนในพื้นที่ไม่เป็นโรคที่เกิดจากน้ำท่วม


>