แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1.นางอารีรัตน์ รักษ์พันธ์ 2.นางสาวจันทรา ขุนรอง 3.นางสาวสุพัตราหนูฤทธิ์ 4.นางสายฝน รุ่นหมาด 5.นางสาวอารีย์ พูลสมบัติ
ปัจจุบันมีประชาชนเป็นจำนวนมากที่มีการเจ็บป่วยด้วยโรคอันเกิดจากพฤติกรรมซึ่งเกิดจากปัญหาหลายด้านที่ส่งผลกระทบต่อพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพเช่น ด้านเศรษฐกิจสังคม ค่านิยมและการขาดความรู้ปัญหาเหล่านี้เป็นปัจจัยที่ส่งเสริมให้ประชาชนมองข้ามในเรื่องสุขภาพและโรคที่ตามมาเนื่องจากการดำเนินชีวิตในแต่ละวันล้วนมีการแข่งขันมากขึ้นทำให้เกิดช่องว่างในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารเรื่องสุขภาพและโรคต่างๆที่สามารถป้องกันได้ สำหรับจังหวัดพัทลุง สถานการณ์โรคความดันโลหิตสูงจากข้อมูล HDC มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ เพิ่มขึ้นทุกปี โดย ในปีงบประมาณ 2562 - 2566 จังหวัดพัทลุง มีอัตราป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูง 1,136.36, 712.50 782.08 และ 1,263 ต่อแสนประชากร ตามลำดับ และจากสถิติการเกิดโรคความดันโลหิตสูง ของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปในเขตรับผิดของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลามีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงที่อยู่ในเขตรับผิดชอบ ในปี 2562 -2566 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน103 คน ,132 คน ,174 คน , 108 คน และ 112 คนในปี 2567 โดยในปีงบประมาณ 2567 ที่ผ่านมาได้ทำการคัดกรองโรคความดันโลหิตสูงในประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปพบอัตรากลุ่มสงสัยป่วยความดันโลหิตสูงในเขตรับผิดชอบ จำนวน 112 คน ได้รับการวัดความดันโลหิตที่บ้านจำนวน 95 คน คิดเป็นร้อยละ84.82จำนวนที่ถูกวินิจฉัยเป็นผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 0.47 จากสถิติการเกิดโรคดังกล่าว การแก้ไขปัญหาของโรคความดันโลหิตสูงต้องมีการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคความดันโลหิตสูง และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชน จังหวัดพัทลุงมีอัตราตายของผู้ป่วยเบาหวานร้อยละ 0.12 ต่อแสนประชาการอำเภอควนขนุนมีอัตราตาย ร้อยละ 0.14 ต่อแสนประชากร ตำบลมะกอกเหนือมีอัตราตาย 0.22 ต่อแสนประชากร (ระบบคลังข้อมูลโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง) และ มีแนวโน้มผู้ป่วยโรคเบาหวานสูงขึ้นทุกๆปี จากสถิติตั้งแต่ 2562 – 2566 ความชุกของผู้ป่วยเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นดังนี้ 5.483, 5.481 , 5.492,5.216 ,7.04 ต่อแสนประชากร ตามลำดับจากสถิติการเกิดโรคเบาหวานของประชากรกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไป โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา จังหวัดพัทลุงปี2567 คัดกรองโรคเบาหวานกลุ่มอายุ 35 ปีขึ้นไปดำเนินการคัดกรอง จำนวน 1,085 คนคิดเป็นร้อยละ 97.40 พบ ปกติ จำนวน851 คน คิดเป็นร้อยละ 78.47 พบว่า กลุ่มแฝง/เสี่ยง จำนวน 215 คน คิดเป็นร้อยละ 19.82 และกลุ่มสงสัยเป็นโรค จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ 1.66 และพบผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ในปี 2562 - 2566 จำนวน674.72 , 427.50 , 148.51,544.55 , 714.00 ตามลำดับ อัตราต่อแสนประชากร (ข้อมูล HDC สสจ.พัทลุง) การที่มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นทำให้ประเทศชาติสูญเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษา ดังนั้นการส่งเสริมสุขภาพให้ประชาชนไม่เป็นโรคเป็นเรื่องที่มีความสำคัญเพราะจะทำให้ประชาชนมีสุขภาพชีวิตที่ดีและไม่สูญเสียงบประมาณในการดูแลการเจ็บป่วย แนวทางการป้องกันและควบคุมโรคเบาหวาน และการป้องกันภาวะแทรกซ้อนเมื่อเกิดเป็นโรคแล้วจึงเป็นทางเลือกที่ดี การป้องกันและควบคุมโรคซึ่งสามารถกระทำได้ทั้งการส่งเสริมสุขภาพด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในระดับบุคคลครอบครัวและชุมชนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญ จึงหาแนวทางปรับความคิด แนวปฏิบัติให้กลุ่มเสี่ยงโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูง เกิดความตระหนัก ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่างๆ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อนเรื้อรังจากโรคเบาหวาน และโรคความดันโลหิตสูง โดยชุมชนมีส่วนร่วม เพื่อความยั่งยืนต่อไปในชุมชน จึงได้จัดทำโครงการคัดกรองเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมใน กลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรังขึ้นเพื่อให้ประชาชนมีความรู้ และมีความตระหนัก ต่อการดูแลสุขภาพที่เหมาะสม เฝ้าระวังไม่ให้กลุ่มเสี่ยงเกิดโรคดังกล่าว
-
1. เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานลดลงขนาดปัญหา 13.69 เป้าหมาย 12.00
-
2. 2.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงตัวชี้วัด : ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูงลดลงขนาดปัญหา 38.27 เป้าหมาย 35.00
-
3. 3.เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA)ตัวชี้วัด : ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคหลอดเลือดสมอง (CVA) ลดลงขนาดปัญหา 12.76 เป้าหมาย 10.00
-
4. เพื่อแก้ปัญหาผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวายตัวชี้วัด : ร้อยละของผู้ป่วยเบาหวานที่เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น เบาหวานขึ้นจอประสาทตา แผล ไตวาย ลดลงขนาดปัญหา 9.09 เป้าหมาย 7.00
- 1. 1.คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 15 – 34 ปีรายละเอียด
คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย อายุ 15 – 34 ปี ด้วยวาจา
1.ค่าถ่ายเอกสารแบบคัดกรองความเสี่ยงต่อภาวะโรคกลุ่ม Metabolic จำนวน 1,500 แผ่น (หน้า-หลัง) x 1 บาท เป็นเงิน 1,500บาทงบประมาณ 1,500.00 บาท - 2. 2.คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงแบบเชิงรุกในชุมชนหรือส่งเสริมการมารับบริการของประชาชนกลุ่มเป้าหมายรายละเอียด
คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในประชาชนกลุ่มเป้าหมาย
1.ค่าแถบตรวจระดับน้ำตาลในเลือดพร้อมเข็มเจาะ จำนวน 15กล่อง ๆ ละ 1,000 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท
2.สำลีก้อนชุปแอลกอฮอล์สำเร็จรูป แผงละ 10 ก้อน จำนวน 40 แผง กล่อง ละ 750 บาท x 6 กล่อง เป็นเงิน 4,500บาท
3.สำลีแห้งฆ่าเชื้อ 250 ห่อ ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 1,250 บาทงบประมาณ 20,750.00 บาท - 3. 3.สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส โดยแพทย์เวชปฏิบัติครอบครัวในวันคลินิคโรคเรื้อรังรายละเอียด
สร้างความรอบรู้ กลุ่มเสี่ยง/สงสัยป่วย เรื่องการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3อ 2ส -กิจกรรมอบรมให้ความรู้กลุ่มเสี่ยง/กลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง -ประชาสัมพันธ์สื่อสารความเสี่ยง
1.โมเดลอาหารแลกเปลี่ยนชุดใหญ่ จำนวน 52 จาน พร้อมตู้เก็บจำนวน 1 ชุด เป็นเงิน 16,000 บาท
งบประมาณ 16,000.00 บาท - 4. 4.กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติรายละเอียด
กิจกรรมพัฒนาทักษะความรอบรู้โรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง และการดูแลตัวเองแก่ผู้ป่วยและญาติ -ให้ความรู้ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูง และญาติเกี่ยวกับโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูงการดูแลตนเองการใช้ยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ -สื่อสารความเสี่ยงภาวะอันตราย เช่นเสี่ยงต่อภาวะ Hypotension , ภาวะ Hypo - Hyperglycemia - คืนข้อมูลภาวะสุขภาพโดยใช้เกณฑ์การควบคุมระดับเบาหวานและความดันโลหิตสูงแก่ผู้ป่วยและญาติ - กิจกรรมติดตามเฝ้าระวังเชิงรุกกรณีผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงที่ไม่สามารถควบคุมน้ำตาลและระดับความดันได้ โดยการเยี่ยมบ้าน
งบประมาณ 0.00 บาท - 5. 5.กิจกรรมตรวจและเฝ้าระวังแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า ช่องปาก)รายละเอียด
กิจกรรมตรวจและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า ช่องปาก) -ให้ความรู้ผู้ป่วยเบาหวานเกี่ยวกับการป้องกันและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน -ตรวจภาวะแทรกซ้อนผู้ป่วยโรคเบาหวาน (ตา ไต เท้า ช่องปาก) ร่วมกับ รพ.ควนขนุน และส่งต่อกรณีพบความผิดปกติ
งบประมาณ 0.00 บาท - 6. 6.กิจกรรมติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัยรายละเอียด
ติดตามวัดความดันที่บ้านในกลุ่มสงสัยป่วย/ส่งต่อเพื่อการวินิจฉัย ในกลุ่มเสี่ยงที่มีระดับความดันกลุ่มสงสัยเป็นโรค และจัดตั้ง ( Health station)ในหมู่บ้านนำร่อง หมู่ที่ 4 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน
-ค่าเครื่องวัดความดันโลหิต(ดิจิตัล) คัฟใหญ่ จำนวน 2 เครื่อง ๆ ละ 3,500 บาท เป็นเงิน7,000 บาท - ป้ายโฟมบอร์ด (Health station) ขนาด 40x120 เซนติเมตร เป็นเงิน 200 บาท
-ป้ายโฟมบอร์ด ศูนย์คนไทยห่างไกลโรคเรื้อรัง ขนาด 40X120 เซนติเมตร เป็นเงิน 200 บาท -ไวนิล โรคเบาหวานขนาด 120x120 เซนติเมตร เป็นเงิน 220 บาาท
-ไวนิลความดันโลหิตสูง ขนาด 120X120 เซนติเมตร เป็นเงิน 220 บาท
- ไวนิลแนวทางการจัดบริการ ขนาด 120X120 เซนติเมตร เป็นเงิน 220 บาท - ไวนิล BMI ขนาด 120X120 เซนติเมตร เป็นเงิน 220 บาท - ไวนิลแนะนำการลดบริโภคโซเดียม ขนาด 120X120 เซนติเมตร เป็นเงิน 220 บาทงบประมาณ 8,500.00 บาท - 7. 7.กิจกรรมติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องรายละเอียด
ติดตามการรักษาผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวน 395 คน
งบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 ตุลาคม 2567 ถึง 31 สิงหาคม 2568
พื้นที่ดำเนินการหมู่ที่ 4 ,6,8,9 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง
รวมงบประมาณโครงการ 46,750.00 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้
มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามาถควบคุมภาวะความดันได้ดีและไม่มีภาวะการแทรกซ้อนของโรค
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325
อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................