2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงตามไปจากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในส่วนของโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก จากข้อมูล IDF Diabetes Atlas ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน ส่วนสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2566 ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน (รายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข,2566) ซึ่งโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายขาดอินซูลินหรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ของร่างกาย (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ฯ, 2566)เมื่อคนๆหนึ่งเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสจะเป็นโรคเรื้อรังอย่างอื่นตามมา ตามกลไกของการเกิดโรค
สถานการณ์โรคเบาหวานของจังหวัดพัทลุง ในปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 28,456 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 45.02มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 64,039 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ61.58ในปี 2566 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 30,364 รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 44.61 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 66,114 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ 62.15 และในปี 2567 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 32,203 รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 44.24 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 70,027 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ63.35 (HDC จ.พัทลุง, 2567) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัวโดยตรงและอาจจะมีการคุกคามชีวิตได้
นอกจากนี้ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านปากคลอง ในปี พ.ศ.2567 มีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 33 ราย พบเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 และมีกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 67 ราย พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 ราย คิดเป็น ร้อยละ 1.49จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ จำเป็นต้องมีการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค อย่างต่อเนื่อง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/03/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามาถควบคุมภาวะความดันได้ดีและไม่มีภาวะการแทรกซ้อนของโรค