กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

directions_run

โครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2568

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค ในเขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3325-1-9
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ รพ.สต.บ้านปากคลอง
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 15,675.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางวรลักษณ์ บุญจันทร์ศรี
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ เขตพื้นที่ ม.1,2,3,5และ7
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานโรคเรื้อรัง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 200 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง :

กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 800 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคเบาหวาน
44.47
2 ร้อยละประชาชนที่มีความเสี่ยงเป็นโรคความดันโลหิตสูง
44.47

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไม่ติดต่อเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญทั่วโลกรวมทั้งในประเทศไทย ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและความเป็นอยู่ของประชาชน ทำให้วิถีการดำรงชีวิตของประชาชนเปลี่ยนแปลงตามไปจากการประเมินสถานการณ์พบว่า อัตราชุกของโรคเหล่านี้ มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นแบบชันอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ในส่วนของโรคเบาหวานเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญและมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ปัจจุบันมีจำนวนผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น สถานการณ์โรคเบาหวานทั่วโลก จากข้อมูล IDF Diabetes Atlas ทั่วโลกมีผู้ป่วยโรคเบาหวานมากถึง 537 ล้านคน มากกว่า 90% เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกือบครึ่งหนึ่งยังไม่ได้รับการวินิจฉัย คาดว่าภายในปี 2573 จะเพิ่มขึ้นเป็น 643 ล้านคน และภายในปี 2588 จะเพิ่มมากถึง 783 ล้านคน ส่วนสถานการณ์โรคเบาหวานในประเทศไทย ข้อมูลจากรายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข ปี พ.ศ.2566 ประเทศไทยพบอุบัติการณ์โรคเบาหวานมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในปี 2566 มีผู้ป่วยรายใหม่ เพิ่มขึ้น 3 แสนคนต่อปี ในปี พ.ศ. 2565 มีผู้ป่วยโรคเบาหวานสะสมจำนวน 3.3 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ. 2564 มากถึง 1.5 แสนคน (รายงานสถิติสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข,2566) ซึ่งโรคเบาหวาน เป็นภาวะที่ร่างกายขาดอินซูลินหรือไม่สามารถใช้อินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้เกิดความผิดปกติในกระบวนการเผาผลาญคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติเกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบต่างๆ ของร่างกาย (สมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ฯ, 2566)เมื่อคนๆหนึ่งเป็นโรคเบาหวานมีโอกาสจะเป็นโรคเรื้อรังอย่างอื่นตามมา ตามกลไกของการเกิดโรค สถานการณ์โรคเบาหวานของจังหวัดพัทลุง ในปี 2565 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 28,456 ราย สามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 45.02มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 64,039 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ61.58ในปี 2566 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 30,364 รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 44.61 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 66,114 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ 62.15 และในปี 2567 มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานทั้งหมด 32,203 รายสามารถควบคุมระดับน้ำตาลได้ดีร้อยละ 44.24 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงทั้งหมด 70,027 ราย สามารถควบคุมระดับความดันได้ดีร้อยละ63.35 (HDC จ.พัทลุง, 2567) ผู้ป่วยที่ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลและความดันโลหิตได้ดี จะมีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้สูง มีผลกระทบต่อตัวผู้ป่วยและครอบครัวโดยตรงและอาจจะมีการคุกคามชีวิตได้ นอกจากนี้ ในเขตพื้นที่รับผิดชอบของรพ.สต.บ้านปากคลอง ในปี พ.ศ.2567 มีกลุ่มเสี่ยงเบาหวาน 33 ราย พบเป็นผู้ป่วยเบาหวานรายใหม่ 11 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.33 และมีกลุ่มเสี่ยงความดันโลหิตสูง 67 ราย พบผู้ป่วยความดันโลหิตสูงรายใหม่ 1 ราย คิดเป็น ร้อยละ 1.49จะเห็นได้ว่าโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของพื้นที่ จำเป็นต้องมีการดำเนินการจัดทำโครงการพัฒนาระบบบูรณาการ โรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูงเพื่อลดอุบัติการณ์การเกิดโรครายใหม่และเพิ่มอัตราการควบคุมโรค อย่างต่อเนื่อง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชากรกลุ่มเป้าหมายที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง

ประชากรอายุ 35 ปีขึ้นไป ได้รับการคัดกรองเพื่อวินิจฉัยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ร้อยละ 90

80.00 90.00
2 เพื่อประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยเป็นโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงจากการคัดกรอง ได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามหลัก 3 อ. 2 ส.

ประชาชนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มสงสัยป่วยโรคเบาหวาน/ความดันโลหิตสูง มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ ร้อยละ 80

50.00 80.00
3 เพื่อให้ผู้ป่วยเบาหวานได้รับการส่งเสริมการดูแลสุขภาพและเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนทาง ตา ไต เท้า

ผู้ป่วยเบาหวานในเขตรับผิดชอบ ได้รับการตรวจภาวะแทรกซ้อนทางตา ไตและเท้า ร้อยละ 80

40.00 80.00
4 เพื่อให้ผู้ป่วยโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูงในสถานบริการและชุมชน ได้รับความรู้และส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วย เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลและความดับโลหิตได้ดี

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ร้อยละ 60 ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงที่ควบคุมได้ดี  ร้อยละ 60

40.00 60.00
5 เพื่อลดจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่

จำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ ไม่เกินร้อยละ 10

34.00 10.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
วันที่ชื่อกิจกรรมกลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
15 - 28 ก.พ. 68 ประชุมชี้แจงโครงการ 0 0.00 -
17 - 28 ก.พ. 68 คัดกรองโรคเบาหวานและความดันโลหิตสูง ในประชากร.อายุ 35 ปี ขึ้นไป 0 12,500.00 -
1 มี.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ส่งเสริมการดูแลสุขภาพของผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูง 0 0.00 -
1 - 31 มี.ค. 68 การคัดกรองภาวะแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน ทางตา ไต เท้า 0 0.00 -
23 พ.ค. 68 ฝึกอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในกลุ่มเสี่ยง 0 3,175.00 -
1 - 30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินโครงการและคืนข้อมูล 0 0.00 -
รวม 0 15,675.00 0 0.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

มีจำนวนผู้ป่วยเบาหวานและความดันโลหิตสูงรายใหม่ลดลง และผู้ป่วยเบาหวานสามารถคุมระดับน้ำตาลได้ดีเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยความดันโลหิตสูงสามาถควบคุมภาวะความดันได้ดีและไม่มีภาวะการแทรกซ้อนของโรค

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 13 ธ.ค. 2567 09:36 น.