กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลลำไพล

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล

นายศุภกร ชูแว่น ตำแหน่ง แพทย์แผนไทย ผู้รับผิดชอบโครงการ

หมู่ที่ 1, 2, 3, 9, 11 และ 12 ของตำบลลำไพล

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานผู้สูงอายุ , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การแพทย์แผนไทย เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชน โดยอาศัยองค์ความรู้ด้านศาสตร์การแพทย์แผนไทย เช่น การใช้สมุนไพรและการนวดรักษา ซึ่งครอบคลุมทั้งด้านการรักษาพยาบาล การบำบัด ฟื้นฟูสุขภาพ และการส่งเสริมสุขภาวะของประชาชน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลลำไพล ในฐานะหน่วยบริการปฐมภูมิที่มุ่งเน้นการดูแลสุขภาพอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ ได้บูรณาการ การแพทย์แผนไทย เข้ากับระบบบริการสุขภาพของโรงพยาบาล โดยมี คลินิกแพทย์แผนไทย เป็นศูนย์กลางในการให้บริการ ทั้งด้านการรักษาและการส่งเสริมสุขภาพ นอกจากนี้ โรงพยาบาลยังให้ความสำคัญกับ การขยายงานด้านแพทย์แผนไทย เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการรักษาที่ครอบคลุมและเป็นองค์รวมมากขึ้น อีกทั้งยังสนับสนุน การมีส่วนร่วมของชุมชน ในการพัฒนาระบบบริการด้านการแพทย์แผนไทย ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญในการเสริมสร้างระบบสุขภาพที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อประชาชนในสังคม

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพประชาชน

ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัย

60.00
2 การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในท้องถิ่นและในรั้วโรงเรียน

1.โรงเรียนเป็นหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แแผนไทย
2. ส่งเสริมการดูแลลสุขภาพในชุมชนด้วยสมุนไพรในท้องถิ่น
3. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กทารกได้รับพัฒนาการที่เหมาะสม

60.00
3 เพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในชุมชน

ประชาชนในชุมชนได้รับการบริการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง

60.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 360
กลุ่มวัยทำงาน 50
กลุ่มผู้สูงอายุ 50
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 20
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 50
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ 50
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 21/03/2025

กำหนดเสร็จ : 22/12/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพประชาชน

ชื่อกิจกรรม
ส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่นในการดูแลสุขภาพประชาชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. สำรวจและขึ้นทะเบียนหมอพื้นบ้านในชุมชน จำนวน 6 หมู่บ้าน
  2. สำรวจและขึ้นทะเบียนผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในชุมชน จำนวน 6 หมู่บ้าน
  3. อบรมฟื้นความรู้แก่หมอพื้นบ้าน/ผู้ช่วยแพทย์แผนไทย จำนวน 15 คน
    • ค่าอาหารว่างผู้เข้าร่วมอบรม จำนวน 15 คนๆละ 1 มื้อๆละ 30 บาท เป็นเงิน 450.00 บาท
    • ค่าตอบแทนวิทยากรในการให้ความรู้ จำนวน 1 คน จำนวน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  4. จัดทำทำเนียบหมอพื้นบ้าน/ผู้ช่วยแพทย์แผนไทยในชุมชน
    • ค่าทำโฟมบอร์ดทำเนียบหมอพื้นบ้านและผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ขนาดสูง 90 ซม.*120ซม. จำนวน 1 แผ่นๆละ 900 บาท
  5. สำรวจสมุนไพรในท้องถิ่นโดยให้ อสม.สำรวจในชุมชน รายครัวเรือน
    • แบบสำรวจสมุนไพรในชุมชน จำนวน 111 แผ่นๆละ 2 บาท เป็นเงิน 222.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในท้องถิ่นได้รับการดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3372.00

กิจกรรมที่ 2 การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในท้องถิ่นและในรั้วโรงเรียน

ชื่อกิจกรรม
การอนุรักษ์และพัฒนาภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยในท้องถิ่นและในรั้วโรงเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. การส่งเสริมการปลูกพืชสมุนไพรในรั้วโรงเรียน จำนวน 6 โรงเรียน โดยคัดเลือกสมุนไพรที่ดูแลได้ง่ายและสามารถใช้ประโยชน์ได้จริง ได้แก่ ฟ้าทะลายโจร ตะไคร้ ขิง ว่านหางจระเข้ และใบเตย
    • ค่าใช้จ่ายสำหรับการจัดทำแปลงสมุนไพรสาธิต จำนวน 9000.00 บาท
    • ค่าป้ายอะคริลิคสำหรับติดบอกชื่อและสรรพคุณสมุนไพร ขนาด 20*40 ซม.จำนวน 5 ป้ายๆ ละ 250 บาท เป็นเงิน 1250 บาท จำนวน 6 โรงเรียน รวมเป็นเงิน 7500 บาท
  2. การจัดอบรมการเลือกใช้สมุนไพรในรั้วโรงเรียนและในชุมชนสำหรับนักเรียน จำนวน 6 โรงเรียนๆ ละ 60 คน
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 360 คนๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 10800.00 บาท
    • ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาม เป็นเงิน 1800 บาท จำนวน 6 โรงเรียน รวมเป็นเงิน 10800.00 บาท
  3. การจัดกิจกรรมอบรมการเลือกใช้สมุนไพรในท้องถิ่นดูแลสุขภาพ และการทำลูกประคบจากสมุนไพรในท้องถิ่น ผู้สูงอายุจำนวน 50 คน
    • ค่าอุปกรณ์สอนทำลูกประคบสมุนไพร 50 ชุด ชุดละ 50 บาท เป็นเงิน 2500 บาท
    • ค่าวิทยากรจัดกิจกรรมอบรมการใช้พืชสมุนไพรในท้องถิ่นดูแลสุขภาพ จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 รวมเป็นเงิน 1800 บาท
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 50 คนๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 1500.00 บาท
    • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1 x 3 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 450.00 บาท
  4. การส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จำนวนมารดาหลังคลอด 20 คน
    • ค่าอุปกรณ์สำหรับการทำชาชง จำนวน 20 ชุดๆ ละ 50 บาท รวมเป็นเงิน 1000 บาท
    • ค่าสมุนไพรชาชง ได้แก่ ขิง หัวปลี และกระเจี๊ยบแดง ชนิดละ 200 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท
    • ค่าวิทยากรการจัดอบรมการส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ การนวดเต้านม จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท รวมเป็นเงิน 1800 บาท
    • ค่าอาหารว่าง จำนวน 20 คนๆ ละ 30 บาท รวมเป็นเงิน 600 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 เมษายน 2568 ถึง 22 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

1.โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แแผนไทย
2. ส่งเสริมการดูแลสุขภาพในชุมชนด้วยสมุนไพรในท้องถิ่น
3. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ เพื่อให้เด็กทารกได้รับพัฒนาการที่เหมาะสม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
48350.00

กิจกรรมที่ 3 การเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
การเพิ่มการเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. เพื่อเพิ่มการเข้าถึงบริการแแพทย์แผนไทยทั้งแบบเชิงรุกและเชิงรับให้แก่ประชาชนในพื้นที่
    1.1 แบบเชิงรุก ได้แก่ การฟื้นฟูมารดาหลังคลอด การเยี่ยมบ้านผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้าน และผู้พิการ เพื่อให้การบำบัดฟื้นฟูด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทย การบริหารกล้ามเนื้อ การจ่ายยาสมุนไพร และการส่งเสริมสุขภาพด้วยศาสตร์การแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วย
    1.2 แบบเชิงรับ เพื่มหัตถการในการให้บริการแก่ผู้ป่วย เพื่อเพิ่มทางเลือกในการรักษาโรคทางการแพทย์แผนไทย ได้แก่ หัตถการเผายา พอกเข่า และการแช่มือแช่เท้า
    • แบบประเมินสุขภาพมารดาหลังคลอด ผู้ป่วยติดเตียง ผู้ป่วยติดบ้าน และผู้พิการ จำนวน 100 แผ่นๆ ละ 2 บาท รวมเป็นเงิน 200.00 บาท
    • สมุนไพรสำหรับหัตถการเผายา พอกเข่า และการแช่มือแช่เท้า รวมเป็นเงิน 5838.00 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
7 เมษายน 2568 ถึง 22 ธันวาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ประชาชนในชุมชนได้รับการบริการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
6038.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 57,760.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ประชาชนในชุมชนได้รับการดูแลสุขภาพอย่างปลอดภัย
2. โรงเรียนเป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับสมุนไพรและภูมิปัญญาการแพทย์แแผนไทย
3. ส่งเสริมการดูแลลสุขภาพในชุมชนด้วยสมุนไพรในท้องถิ่น
4. ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่
5. ประชาชนในชุมชนได้รับการบริการแพทย์แผนไทยอย่างทั่วถึง


>