กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการเสริมสร้างโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเสริมสร้างโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)

โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอาหารและโภชนาการ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในวัยประถมศึกษามีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต โภชนาการที่เหมาะสมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและการสำรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนวัดตะโหมด(หมุนคณานุสรณ์) จำนวน 126 คน พบว่าเด็กนักเรียน จำนวน 32 คน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และนักเรียนจำนวน 2 คนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จะเห็นได้ว่านักเรียนบางส่วนยังขาดโภชนาการที่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ขาดหรือการเติบโตที่ไม่สมส่วน อันเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและพัฒนาการด้านอื่น ๆ โรงเรียนวัดตะโหมดตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโภชนาการในกลุ่มเด็กวัยเรียน เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่สมบูรณ์และลดปัญหาสุขภาพในระยะยาว
ดังนั้น โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินโครงการ "โครงการเสริมสร้างโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดตะโหมด(หมุนคณานุสรณ์) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับอาหารที่มีคุณภาพและสมดุล รวมถึงปลูกฝังพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีทั้งหมดเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและพร้อมต่อการพัฒนาการเรียนรู้และชีวิตในอนาคต เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) มีความรู้และส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการแก่เด็กนักเรียน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูและชุมชนในการส่งเสริมโภชนาการของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง สมส่วนและมีความพร้อมในการเรียนรู้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านโภชนาการและการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่เด็กนักเรียน

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและเลือกอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพได้

0.00
2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนให้เลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ70 มีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ดีขึ้นจากการสังเกตหรือแบบสำรวจ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการเจริญเติบโตที่สมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 85 มีค่าดัชนีมวลกายและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย

0.00
4 ปลูกฝังทักษะการปลูกพืชผักสวนครัวและการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิต

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถร่วมปลูกและเก็บเกี่ยวพืชผักสวนครัวได้และมีทักษะการเตรียมอาหารอย่างง่าย

0.00
5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียน

ผู้ปกครองและครูอย่างน้อยร้อยละ 75 มีความพึงพอใจและให้การสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • จัดทำป้าย ขนาด 1.5 X 3 เมตร จำนวน 500 บาท
    -จัดทำป้ายเมนูอาหาร ขนาด 1.5 X 3 เมตร จำนวน 500 บาท
  • ค่าตอบแทนวิทยากร (นักโภชนาการ 2 คน ๆละ 3 ชม. ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท แม่ครัวท้องถิ่น จำนวน 1 คน 3 ชม. ๆละ 100 บาท เป็นเงิน 300 บาท รวม 3,900 บาท
  • ค่าอาหารว่าง 2 มื้อ ๆ ละ 25 บาท 2 มื้อ จำนวน 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
    -ค่าวัสดุ เป็นเงิน 3,625 บาท รวมเป็นเงิน 13,525 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 6 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13525.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักสวนครัว

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักสวนครัว
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าวิทยากร จำนวน 1 ชม. 2 คน เป็นเงิน 1,200 บาท
  • ค่าอาหารว่าง จำนวน 2 มื้อ ๆละ 25 บาท 100 คน เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวัสดุ 2,520 บาท
    รวมเป็นเงิน 8,720 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
4 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 6 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
8720.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 22,245.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. นักเรียนมีการเจริญเติบโตที่สมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน
2. นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและสามารถเลือกอาหารที่เหมาะสม
3. นักเรียนมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
4. ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมโครงการ เกิดความตระหนักสนับสนุนการบริโภคอาหารทีี่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก
5. นักเรียนได้รับการปลูกฝังความรู้ด้านโภชนาการตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้มีพื้นฐานที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง
6. โรงเรียนมีแนวทางในการจัดอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมการเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการที่สามารถขยายผลไปยังโรงเรียนใกล้เคียงได้


>