กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการเสริมสร้างโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาโรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)
รหัสโครงการ
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยงานอื่นๆ ที่ไม่ใช่หน่วยงานสาธารณสุข เช่น โรงเรียน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์)
วันที่อนุมัติ 24 ธันวาคม 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 เมษายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 เมษายน 2568
งบประมาณ 22,245.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นายวิสุทธิ์ ทองช่วย
พี่เลี้ยงโครงการ
พื้นที่ดำเนินการ
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานกิจกรรมทางกาย , แผนงานอาหารและโภชนาการ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 100 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

การเจริญเติบโตและพัฒนาการของเด็กในวัยประถมศึกษามีความสำคัญต่อการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นทรัพยากรบุคคลที่มีคุณภาพในอนาคต โภชนาการที่เหมาะสมเป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญที่ช่วยส่งเสริมการพัฒนาทั้งด้านร่างกาย สมอง และสังคมอย่างมีประสิทธิภาพ จากข้อมูลของกระทรวงสาธารณสุขและการสำรวจสุขภาพนักเรียนในโรงเรียนวัดตะโหมด(หมุนคณานุสรณ์) จำนวน 126 คน พบว่าเด็กนักเรียน จำนวน 32 คน มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ และนักเรียนจำนวน 2 คนมีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ จะเห็นได้ว่านักเรียนบางส่วนยังขาดโภชนาการที่เหมาะสม ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาภาวะโภชนาการเกิน ขาดหรือการเติบโตที่ไม่สมส่วน อันเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและพัฒนาการด้านอื่น ๆ โรงเรียนวัดตะโหมดตระหนักถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาโภชนาการในกลุ่มเด็กวัยเรียน เพื่อสร้างเสริมพัฒนาการที่สมบูรณ์และลดปัญหาสุขภาพในระยะยาว ดังนั้น โรงเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) จึงได้กำหนดแนวทางดำเนินโครงการ "โครงการเสริมสร้างโภชนาการเพื่อการเจริญเติบโตอย่างสมส่วนของนักเรียนชั้นประถมศึกษา โรงเรียนวัดตะโหมด(หมุนคณานุสรณ์) โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้นักเรียนในโรงเรียนได้รับอาหารที่มีคุณภาพและสมดุล รวมถึงปลูกฝังพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ดีทั้งหมดเพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและพร้อมต่อการพัฒนาการเรียนรู้และชีวิตในอนาคต เพื่อเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักเรียนวัดตะโหมด (หมุนคณานุสรณ์) มีความรู้และส่งเสริมการเข้าถึงอาหารที่มีคุณภาพทางโภชนาการแก่เด็กนักเรียน มุ่งเน้นการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ครูและชุมชนในการส่งเสริมโภชนาการของเด็ก ซึ่งจะช่วยให้เด็กเจริญเติบโตอย่างแข็งแรง สมส่วนและมีความพร้อมในการเรียนรู้

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านโภชนาการและการเลือกอาหารที่มีประโยชน์ให้แก่เด็กนักเรียน

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถตอบคำถามพื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและเลือกอาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพได้

0.00
2 ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารของนักเรียนให้เลือกบริโภคอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ70 มีพฤติกรรมการเลือกรับประทานอาหารที่ดีขึ้นจากการสังเกตหรือแบบสำรวจ

0.00
3 เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีการเจริญเติบโตที่สมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 85 มีค่าดัชนีมวลกายและส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานตามวัย

0.00
4 ปลูกฝังทักษะการปลูกพืชผักสวนครัวและการเตรียมอาหารที่มีประโยชน์ในชีวิต

นักเรียนอย่างน้อยร้อยละ 80 สามารถร่วมปลูกและเก็บเกี่ยวพืชผักสวนครัวได้และมีทักษะการเตรียมอาหารอย่างง่าย

0.00
5 ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของครู ผู้ปกครองและชุมชนในการพัฒนาโภชนาการและสุขภาพของเด็กนักเรียน

ผู้ปกครองและครูอย่างน้อยร้อยละ 75 มีความพึงพอใจและให้การสนับสนุนโครงการอย่างต่อเนื่อง

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
คงเหลือ
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 22,245.00 0 0.00 22,245.00
4 ก.พ. 68 - 6 เม.ย. 68 อบรมให้ความรู้ด้านโภชนาการ 0 14,325.00 - -
4 ก.พ. 68 - 6 เม.ย. 68 อบรมเชิงปฏิบัติการการปลูกผักสวนครัว 0 7,920.00 - -
รวมทั้งสิ้น 0 22,245.00 0 0.00 22,245.00

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. นักเรียนมีการเจริญเติบโตที่สมส่วนตามเกณฑ์มาตรฐาน
  2. นักเรียนมีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับโภชนาการและสามารถเลือกอาหารที่เหมาะสม
  3. นักเรียนมีพฤติกรรมบริโภคอาหารที่ดี เลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  4. ครู ผู้ปกครองและชุมชนมีส่วนร่วมส่งเสริมโครงการ เกิดความตระหนักสนับสนุนการบริโภคอาหารทีี่มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับเด็ก
  5. นักเรียนได้รับการปลูกฝังความรู้ด้านโภชนาการตั้งแต่วัยเด็ก ทำให้มีพื้นฐานที่ดีในการดูแลสุขภาพตนเอง
  6. โรงเรียนมีแนวทางในการจัดอาหารที่มีประโยชน์ ส่งเสริมการเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านโภชนาการที่สามารถขยายผลไปยังโรงเรียนใกล้เคียงได้
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 15:37 น.