กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการบุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์ ปีงบประมาณ2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.มะรือโบออก

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง

ตำบลมะรือโบออก

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานยาสูบ , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

ปัจจุบัน “บุหรี่ไฟฟ้า” ถือว่าได้รับความนิยมขึ้นกว่าในอดีตมาก ซึ่งแรกเริ่ม บุหรี่ไฟฟ้าได้รับการโฆษณาสรรพคุณว่าเป็นตัวช่วยที่ทำให้เลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้น และไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่มาจนวันนี้ “บุหรี่ไฟฟ้า” ได้กลายเป็นเหมือนกับทางเลือกสำหรับ “วัยรุ่น” มากขึ้นในฐานะ “แฟชั่นใหม่” ภายใต้แนวความคิดที่ว่า “เท่ห์ สูบได้ และไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ” วิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าไทย ระบาดเพิ่ม 10 เท่าใน 1 ปี เปิดเผยในวงสัมมนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ ซึ่งการสำรวจของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2564 พบประชากรไทยมีอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า 0.14 % คิดเป็นจำนวน 78,742 คน ของประชากรอายุ 15 ปีขึ้นไป โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปี จำนวน 24,050 คน และการสำรวจสถานการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ ปี 2565 พบอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้า1.21%คิดเป็นจำนวน 709,677 คน โดยเป็นเยาวชนที่สูบบุหรี่ไฟฟ้า อายุ 15-24 ปีจำนวน 269,553 คน ศ.พญ.สุวรรณา เรืองกาญจนเศรษฐ์ กุมารแพทย์เด็กและวัยรุ่น ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดีกล่าวถึงวิกฤตบุหรี่ไฟฟ้าในประเทศไทยที่ระบาดเพิ่มขึ้นถึงประมาณ 10 เท่า ใน 1 ปีในเวทีเสวนา ‘บุหรี่ไฟฟ้ามหันตภัยไม่เงียบล่าเยาวชน’ ของงานสมัชชาสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 16 เมื่อวันที่ 22 ธ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ผศ.ดร.นพ.วิชช์ เกษมทรัพย์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและจัดการความรู้เพื่อการควบคุมยาสูบ (ศจย.) กล่าวว่า สถานการณ์การสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนไทย น่าวิตกกังวลอย่างยิ่งเพราะอยู่ในช่วงระบาดขาขึ้น ที่จำเป็นต้องประสานความร่วมมืออย่างเป็นระบบและเข้มข้นจากทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคีเครือข่าย ซึ่งสิ่งที่สำคัญต้อง ‘คงกฎหมายห้ามนำเข้าห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้า’เพราะหากคิดว่าคุมไม่ได้ก็ยกเลิกกฎหมายห้ามนำเข้าห้ามขายบุหรี่ไฟฟ้าไปเลย ไทยจะยิ่งตกอยู่ในสถานการณ์ลำบากกว่านี้ เหมือนแคนาดาและนิวซีแลนด์ที่เมื่อยกเลิกกฎหมายแล้ว อัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนพุ่งขึ้น 2-5 เท่าใน 3 ปี ดังนั้นสิ่งที่ไทยจะต้องทำเร่งด่วนนอกเหนือจากห้ามนำเข้า คือ ‘เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ในการจับ ปรับ อย่างจริงจัง ห้ามโฆษณาและห้ามขายโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์’ เหมือนกับที่สิงคโปร์และฮ่องกงดำเนินการ คาดการณ์ว่าอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าของเยาวชนพุ่งขึ้น 2-5 เท่าใน 3 ปี ดังนั้นสิ่งที่ไทยจะต้องทำเร่งด่วนนอกเหนือจากห้ามนำเข้า คือ ‘เข้มงวดการบังคับใช้กฎหมายให้เคร่งครัด ในการจับ ปรับ อย่างจริงจัง ห้ามโฆษณาและห้ามขายโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์’ เหมือนกับที่สิงคโปร์และฮ่องกงดำเนินการ คาดการณ์ว่าอัตราการสูบบุหรี่ไฟฟ้าในเยาวชนไทยจะไม่เพิ่มขึ้นและจะค่อยๆ ลดลง 1.7% ใน 3 ปี จากการสังเกตและติดตามประเมินภายในโรงเรียนพบว่า เด็กอายุ11-15 ปีบางกลุ่มมีพฤติกรรม เปลี่ยนไปอย่างผิดปกติเช่นติดเกมส์มาโรงเรียนพูดถึงแต่เกมส์ที่เล่นด้วยกันในค่ำคืนที่ผ่านมา ไม่สนใจเรียน ก้าวร้าวและหลับในห้องเรียน บางคนมีการขอ (ขู่) เอาเงินจากเพื่อนๆและรุ่นน้องในโรงเรียนและ/หรือที่เล่นเกมส์ด้วยกัน และมีการโพสต์ในเฟสบุ๊คกลุ่ม (ปิด) ซักชวนให้ซื้อบุหรี่ไฟฟ้า โดยเป็นตัวแทนขายตรงพร้อมกับชักชวนเพื่อนๆและรุ่นน้องให้ลองสูบบุหรี่ไฟฟ้าเป็นต้นเด็กที่มีฐานะค่อนข้างดีกลุ่มนี้จะมีทั้งเพื่อนในโรงเรียนเดียวกันและต่างโรงเรียนมีนัดที่จะไปพบกันทั้งในสนามกีฬา และสถานที่ใกล้ร้านจำหน่ายโดยผู้ปกครอง หรือ ครู ส่วนใหญ่ยังไม่รู้ ตลอดจนไม่รู้ถึงสาเหตุพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของบุตรหลานของตน เช่น ขอเงินมากกว่าปกติโดยอ้างเหตุซื้ออุปกรณ์การเรียน ฯลฯ ซึ่งสอดคล้องกับความเห็นของ ครูโรงเรียนแห่งหนึ่ง ที่กล่าวว่า บุหรี่ไฟฟ้าถือว่ามาแรงในปัจจุบัน ซึ่งที่พบมีมากในกลุ่มของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา และที่น่าเป็นห่วงก็พบในระดับชั้น ป.5 - ป.6 และที่เพิ่งตรวจพบคือชั้น ป.4
โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปิเหล็ง ตำบลมะรือโบออก อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส ได้เห็นความสำคัญของภัยร้ายจากการใช้บุหรี่ไฟฟ้าที่มีต่อกลุ่มเยาวชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในกลุ่มนักเรียนที่กำลังเข้าสู่วัยรุ่นวัยอยากรู้อยากลองจึงได้จัดโครงการ “บุหรี่ไฟฟ้า มหันตภัยใหม่ใกล้ตัวนักสูบรุ่นเยาว์ ปีงบประมาณ 2568” เพื่อให้นักเรียนและเยาวชน ได้รับรู้ถึงพิษภัย มีทัศนคติเชิงบวก และมีหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชน ได้รับรู้ถึงพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า

 

130.00 100.00
2 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชน มีทัศนคติเชิงบวกเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

 

130.00 100.00
3 เพื่อให้นักเรียนและเยาวชน มีหลักการปฏิบัติที่ถูกต้องเกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า

 

130.00 100.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 130
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/01/2025

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ในกลุ่มเยาวชนในชุมชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ในกลุ่มเยาวชนในชุมชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กําหนดการอบรม 08.30 น-09.00 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 09.00 น-10.00 น. “ทบทวนจิต” 10.00 น-11.00 น. “บุหรี่ไฟฟ้าคืออะไร” 11.00 น-12.00 น. “อะไรอยู่ในบุหรี่ไฟฟ้า” 12.00 น-13.00 น.พักรับประทานอาหารกลางวัน 13.00 น-14.00 น."โทษและพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า" 14.00 น-15.00 น. "ทักษะการปฏิเสธบุหรี่ไฟฟ้า" 15.00 น-16.00 น.“กฎหมายน่ารู้ของบุหรี่ไฟฟ้า” งบประมาณ 1.1 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 50 คน ๆ ละ25 บาทจำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 2,500 บาท
1.2 ค่าอาหารกลางวันจำนวน 50 คน ๆ ละ 60 บาทจำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท 1.3 ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชม.
เป็นเงิน 3,600 บาท 1.4 ค่าวัสดุวัสดุประกอบการอบรมเป็นเงิน 5,655 บาท 1.4.1 ค่ากระเป๋าใส่เอกสาร 50 ใบ ๆ ละ 80 บาท
เป็นเงิน 4,000 บาท 1.4.2 ค่าสมุด 50 เล่ม ๆ ละ 15 บาท
เป็นเงิน 750 บาท
1.4.3 ค่าปากกาลูกลื่น 50 ด้าม ๆ ละ 5 บาท
เป็นเงิน 250 บาท 1.4.4 ค่าปากกาเคมี 2 หัว จำนวน 10 ด้าม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 300 บาท 1.4.5 ค่าสีเทียนจำนวน 5 แพ็ค ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 150 บาท
1.4.6 กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 2 โหล ๆ ละ 40 บาทเป็นเงิน 80 บาท 1.4.7 กระดาษ A4 จำนวน 1 รีม เป็นเงิน 125 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
14755.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ในกลุ่มนักเรียน

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการการเรียนรู้แบบสร้างประสบการณ์เกี่ยวกับบุหรี่ไฟฟ้า ในกลุ่มนักเรียน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

"กําหนดการอบรม 08.00 น-08.30 น. ลงทะเบียนผู้เข้ารับการอบรม 08.30 น-09.00 น. “ทบทวนจิต” 09.00 น-11.30 น. “โทษและพิษภัยของบุหรี่ไฟฟ้า” หมายเหตุเวลา 10.00 น-10.15 น.พักรับประทานอาหารว่าง"

งบประมาณ 1 ค่าอาหารว่างพร้อมเครื่องดื่มจำนวน 80 คน ๆ ละ 25 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 2,000 บาท 2 ค่าวิทยากรชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 9 ชม.(โรงเรียนละ 3 ชม.x 3 โรงเรียน)เป็นเงิน 5,400 บาท 3 ค่าวัสดุประกอบการอบรมเป็นเงิน 2,435 บาท - ค่าสมุด 80 เล่ม ๆ ละ 15 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท -ค่าปากกาลูกลื่น 80 ด้าม ๆ ละ 5 บาท เป็นเงิน 400 บาท -ค่าปากกาเคมี 2 หัว จำนวน 15 ด้าม ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 450 บาท
-ค่าสีเทียน จำนวน 6 แพ็ค ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน 180 บาท -กระดาษฟลิปชาร์ท จำนวน 2 โหล ๆ ละ 40 บาท เป็นเงิน 80 บาท
-กระดาษ A4 จำนวน 1 รีม เป็นเงิน 125 บาท -ค่าไวนิลประชาสัมพันธ์ ขนาดกว้าง 1 เมตร ยาว 2 เมตรเป็นเงิน 500 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10335.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 25,090.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.นักสูบหน้าใหม่ในนักเรียนและเยาวชนลดลง


>