กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ม.8 บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน

กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา

1. นางเพลินพิศขุนเศรษฐโทร.064 0320614
2. นางอรพิมลมากคง
3. นางอารีย์ ยี่โส
4. นางจีรนัน ชูแสง
5. นางพัชรินทร์คงเขียว

ม.8 บ้านดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานผู้สูงอายุ

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 9 ด้าน ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม (คน)

 

44.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)

 

2.00
3 จำนวน อสม.ในชุมชนที่สามารถดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุได้

 

15.00

ม.8 บ้านดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ มีผู้สูงอายุ จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 36.25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด(ประชากรทั้งหมดของ ม.8 บ้านดอนศาลา มีจำนวน 469 คน) จากการประเมินสุขภาพด้านความคิด ความจำ โดยใช้แบบประเมิน 9 ด้าน แบบ Mini Cog ได้รับการประเมิน จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 95.29 พบผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความคิดความจำที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 27.16 (รายงานจากระบบ 3 หมอ)
ภาวะสมองเสื่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและสังคม ซึ่งผลของอาการที่เกิดขึ้นทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ และขาดความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากการสูญเสียความสามารถในการรู้คิด ตัดสินใจที่ซับซ้อน เมื่อเป็นสมองเสื่อมระยะแรก ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้นจะทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้แก่ การเดิน การรับประทานอาหาร และนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในที่สุด ผู้สูงอายุนับเป็นบุคคลที่เปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ แต่ภาวะสมองเสื่อมทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้กับคนรุ่นหลังได้ นอกจากนี้ภาวะสมองเสื่อมยังเพิ่มภาระการดูแลแก่สังคม เช่น การสูญเสียเงิน ในการดูแลสุขภาพ ทำให้สูญเสีย รายได้ของประเทศชาติ เนื่องจากต้องมีการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เป็นต้น
จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น กลุ่ม อสม.ม.8 บ้านดอนศาลา ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมรวมถึงการส่งต่อและการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว และต้องการตอบสนองนโยบายของรัฐเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้จัดทำ" โครงการผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ม.8 บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ” ขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

40.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

ร้อยละของผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

15.00 25.00
3 เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละของการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

15.00 30.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 15
กลุ่มผู้สูงอายุ 15
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/03/2025

กำหนดเสร็จ 31/08/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. ประสานงานวิทยากรให้ความรู้ เรื่่อง ภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ แก่ อสม. จำนวน 15 คน และผู้สูงอายุที่เข้าอบรม จำนวน 15 คน รวม 30 คน
  2. วิทยากรให้ความรู้แก่ อสม.และผู้สูงอายุ เกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม ได้แก่ สาเหตุ อาการ การป้องกันภาวะสมองเสื่อม กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 30 คน
  3. ถ่ายเอกสารแบบประเมินภาวะสมองเสื่อม ได้แก่ แบบ Thai Mini-Mental State Examination 2002 (TMMSE) เพื่อฝึกการประเมิน และใช้ติดตามประเมินที่บ้าน เป็นระยะเวลา 6 เดือน
  4. ฝึกทักษะบริหารสมองด้วยเกมส์ต่างๆ เพื่อกระตุ้นกระบวนการคิด ความจำและการสั่งการของสมอง เกมบริหารสมองเพื่อป้องกันอัลไซเมอร์ จำนวน 3 เกม เช่น เกมจับผิดภาพ, เกมนับเหรียญ, เกมบวกเลข โดยจับคู่เล่นเกมฝึกสมอง ได้ 15 คู่ ระหว่าง อสม.กับ ผู้สูงอายุที่เข้าอบรม
  5. แลกเปลี่ยนเรียนรู้สิ่งที่ได้จากการเข้าร่วมอบรม ค่าใช้จ่าย
  6. ค่าสมนาคุณวิทยากร จำนวน 1 คน x 3 ชั่วโมง x 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
  7. ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม ผู้เข้าอบรมและวิทยากร พร้อมผู้สังเกตการณ์ จำนวน 35 คน x 1 มื้อๆละ 25 บาท เป็นเงิน 875 บาท
  8. ค่าจ้างทำป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 2.8 x 1.2 เมตร จำนวน 1 ป้าย เป็นเงิน 500 บาท
  9. ค่าถ่ายเอกสาร แบบประเมิน TMMSE ใช้ในการอบรม จำนวน 60 ชุดๆละ 2 บาท( 1 ชุดมี 2 หน้า) เป็นเงิน 120 บาท
  10. ค่าถ่ายเอกสารใบเกม(ภาพสี) จำนวน 3 เกมๆละ 30 ใบๆละ 20 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  1. กลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม จำนวน 30 คน ร้อยละ 100
  2. กลุ่มเป้าหมายมีความรู้ในเรื่องภาวะสมองเสื่อม
  3. อสม.มีทักษะ ในการใช้แบบประเมิน TMMSE ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5095.00

กิจกรรมที่ 2 ิกิจกรรมการติดตามฝึกทักษะในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม

ชื่อกิจกรรม
ิกิจกรรมการติดตามฝึกทักษะในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  1. อสม.ติดตามเยี่ยมบ้าน เพื่อทำกิจกรรมฝึกทักษะการป้องกันสมองเสื่อม แบบตัวต่อตัว กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้สูงอายุ จำนวน 30 คน โดยใช้แบบประเมิน TMMSE ติดตามเป็นระยะเวลา 6 เดือน
    ค่าใช้จ่าย แบบประเมิน จำนวน 30 ชุดๆละ 2 หน้า รวม 180 ชุดๆละ 2 บาท เป็นเงิน 360 บาท (ระยะเวลา 6 เดือน)
  2. อสม.ส่งใบรายงานผลการประเมินต่อ หมอ 2 เพื่อรับทราบสถานการณ์สุขภาพด้านความคิดความจำ และหมอ 2 ส่งต่อ หมอ 3 เป็นรายกรณี
  3. การฝึกทักษะความคิด ความจำ จะติดตามเยี่ยมบ้านโดย อสม.ทุกเดือน เป็นเวลา 6 เดือน อย่างสม่ำเสมอ โดยใช้เกมอื่นๆ ในการฝึกทักษะที่บ้านเพิ่มเติม ค่าถ่ายเอกสารเกมอื่นๆอีก 4 เกม ได้แก่ เกมจับคู่เงา, เกมเขาวงกต, เกมเติมผลไม้ และเกมเป่ายิ้งฉุบ จำนวน 4 เกมๆละ 30 ใบ ๆละ 20 บาท เป็นเงิน 2,400 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

จำนวนผู้สูงอายุที่ได้รับการประเมินและฝึกทักษะ จำนวน 30 คน ร้อยละ 100 จำนวนผู้สูงอายุที่สงสัยมีภาวะสมองเสื่อม ได้รับการส่งต่อ ร้อยละ 100

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2760.00

กิจกรรมที่ 3 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ จำนวน 1 เล่ม ค่าใช้จ่ายเอกสารสรุป 200 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
30 กันยายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีรูปเล่มสรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 1 เล่ม

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
200.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 8,055.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการถัวเฉลี่ยกันได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
2. ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
3. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน
4. ผู้สูงอายุได้รับการรักษา ทำให้เกิดความมั่นใจในการดูแลตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข


>