กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ม.8 บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
รหัสโครงการ 68-L3325-2-4
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ กลุ่ม อสม.รพ.สต.บ้านดอนศาลา
วันที่อนุมัติ 14 มีนาคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 1 มีนาคม 2568 - 31 สิงหาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 8,055.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางเพลินพิศ ขุนเศรษฐ
พี่เลี้ยงโครงการ นางอมรรัตน์ ทุ่มพุ่ม
พื้นที่ดำเนินการ ม.8 บ้านดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานผู้สูงอายุ
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มวัยทำงาน 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน :

กลุ่มผู้สูงอายุ 15 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้สูงอายุ :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ผู้สูงอายุที่ได้รับการคัดกรอง 9 ด้าน ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม (คน)
44.00
2 จำนวนผู้ช่วยเหลือ(CG)ที่มีทักษะการดูและช่วยเหลือผู้สูงอายุในชุมชน (คน)
2.00
3 จำนวน อสม.ในชุมชนที่สามารถดูแลช่วยเหลือผู้สูงอายุได้
15.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ม.8 บ้านดอนศาลา ต.มะกอกเหนือ มีผู้สูงอายุ จำนวน 170 คน คิดเป็นร้อยละ 36.25 ของจำนวนประชากรทั้งหมด(ประชากรทั้งหมดของ ม.8 บ้านดอนศาลา มีจำนวน 469 คน) จากการประเมินสุขภาพด้านความคิด ความจำ โดยใช้แบบประเมิน 9 ด้าน แบบ Mini Cog ได้รับการประเมิน จำนวน 162 คน คิดเป็นร้อยละ 95.29 พบผู้สูงอายุที่มีปัญหาด้านความคิดความจำที่เสี่ยงต่อภาวะสมองเสื่อม จำนวน 44 คน คิดเป็นร้อยละ 27.16 (รายงานจากระบบ 3 หมอ) ภาวะสมองเสื่อมก่อให้เกิดผลกระทบต่อผู้สูงอายุ ผู้ดูแลและสังคม ซึ่งผลของอาการที่เกิดขึ้นทำให้สูญเสียความสามารถในการควบคุมสถานการณ์ต่างๆ และขาดความมั่นใจในตนเอง เนื่องจากการสูญเสียความสามารถในการรู้คิด ตัดสินใจที่ซับซ้อน เมื่อเป็นสมองเสื่อมระยะแรก ต่อมาเมื่อมีอาการมากขึ้นจะทำให้ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้แก่ การเดิน การรับประทานอาหาร และนำไปสู่การช่วยเหลือตนเองไม่ได้ในที่สุด ผู้สูงอายุนับเป็นบุคคลที่เปี่ยมด้วยความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ แต่ภาวะสมองเสื่อมทำให้ผู้สูงอายุดังกล่าวไม่สามารถถ่ายทอดประสบการณ์ที่เป็นประโยชน์ให้กับคนรุ่นหลังได้ นอกจากนี้ภาวะสมองเสื่อมยังเพิ่มภาระการดูแลแก่สังคม เช่น การสูญเสียเงิน ในการดูแลสุขภาพ ทำให้สูญเสีย รายได้ของประเทศชาติ เนื่องจากต้องมีการนำเข้ายาจากต่างประเทศที่มีราคาแพง เป็นต้น จากสภาพปัญหาดังกล่าวข้างต้น กลุ่ม อสม.ม.8 บ้านดอนศาลา ร่วมกับ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านดอนศาลา ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างเสริมพฤติกรรมสุขภาพในผู้สูงอายุเพื่อป้องกันภาวะสมองเสื่อมรวมถึงการส่งต่อและการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อมแล้ว และต้องการตอบสนองนโยบายของรัฐเพื่อพัฒนาความเป็นเลิศในด้านการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุในชุมชน จึงได้จัดทำ" โครงการผู้สูงวัย ห่างไกลสมองเสื่อม ม.8 บ้านดอนศาลา ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 ” ขึ้น เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของผู้สูงอายุในชุมชนต่อไป

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

ร้อยละของผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม

40.00 50.00
2 เพื่อให้ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

ร้อยละของผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม

15.00 25.00
3 เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

ร้อยละของการสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดีให้เกิดขึ้นกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรมร่วมกัน

15.00 30.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 8,055.00 0 0.00
1 - 31 มี.ค. 68 กิจกรรมอบรมให้ความรู้ และการประเมินภาวะสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ 0 5,095.00 -
1 เม.ย. 68 - 30 ก.ย. 68 ิกิจกรรมการติดตามฝึกทักษะในผู้สูงอายุที่มีภาวะสมองเสื่อม 0 2,760.00 -
30 ก.ย. 68 สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ 0 200.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. ผู้สูงอายุมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคสมองเสื่อม
  2. ผู้สูงอายุทราบถึงแนวทางในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อป้องกันการเกิดโรคสมองเสื่อม
  3. มีปฏิสัมพันธ์ที่ดีกับผู้สูงอายุ ทำให้ผู้สูงอายุได้ทำกิจกรรรมและได้พบปะพูดคุยใกล้ชิดกัน
  4. ผู้สูงอายุได้รับการรักษา ทำให้เกิดความมั่นใจในการดูแลตนเองและอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. 2567 14:45 น.