กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้

เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียน รายใหม่ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้นการดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุอายุ 65 ปีที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ (Hba1c มากกว่าเท่ากับ 7) ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีผู้ที่อาศัยร่วมบ้านหรือผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ย้อนหลัง 2 ปี รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วย พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ยังน้อยอยู่ ทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ยังไม่ถูกค้นพบจะพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงหรืออาการรุนแรงแล้วทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในอำเภอละงู ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – 2567มีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่ 63 ราย, 62 ราย, 71 ราย และ82 รายตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่มีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นซึ่งในปี 2565 – 2567มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย , 2ราย, 3 ราย และ 4 รายตามลำดับดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความสำคัญและความจำเป็นในการลดการแพร่เชื้อโรค เนื่องจากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรคจึงได้จัดทำโครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ 2568โดยการให้ความรู้และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในเชิงรุกตามแบบคัดกรองและการส่งตรวจเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่

ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามตัวชี้วัด ได้ร้อยละ 100 ( 6 ราย)

0.00
2 เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรค และได้รับการคัดกรองวัณโรค

1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรค ร้อยละ 80
2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมาย ตามข้อ 2จำนวน98 คนได้รับการคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจาร้อยละ 100
3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมายข้อ 2จำนวน 98 คนได้รับการคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการเอกซเรย์ทรวงอกร้อยละ 70
4. ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรกทุกราย

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 47
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 45
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
คณะทำงาน 6

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/01/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ประชุมชี้แจงโครงการ

ชื่อกิจกรรม
ประชุมชี้แจงโครงการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่อสม.และคืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงวัณโรค พร้อมคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม
งบประมาณ
- ไมใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่องโรควัณโรค การคัดกรองความเสี่ยง การดูแลตนเอง

ชื่อกิจกรรม
อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่องโรควัณโรค การคัดกรองความเสี่ยง การดูแลตนเอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่องโรควัณโรค การคัดกรองความเสี่ยง การดูแลตนเอง แก่กลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยวัณโรคในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
-ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 7จำนวน42ราย
-ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปี 2566-2567จำนวน 12 ราย
-ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ จำนวน33ราย
-ผู้ป่วย เอช ไอ วีจำนวน 5 ราย
-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 6 ราย
รวมทั้งสิ้น จำนวน 98 ราย
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 98 คนๆละ 80 บ. X 1มื้อเป็นเงิน 7,840 บ.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 98 คน ๆ ละ 35 บาท X2 มื้อ เป็นเงิน6,860บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 98 ชุด ๆ ละ 10 บ.เป็นเงิน 980 บ.
- ค่าวัสดุในการอบรม ( ปากกา , แฟ้มใส่เอกสาร) จำนวน 98ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน2,940บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
21020.00

กิจกรรมที่ 3 การคัดกรองโรควัณโรค

ชื่อกิจกรรม
การคัดกรองโรควัณโรค
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจา
งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 กลุ่มเสี่ยงเข้ารับคัดกรองวัณโรคโดยวิธีการเอกซเรย์

ชื่อกิจกรรม
กลุ่มเสี่ยงเข้ารับคัดกรองวัณโรคโดยวิธีการเอกซเรย์
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
- ส่งกลุ่มเสี่ยงเข้ารับคัดกรองวัณโรคโดยวิธีการเอกซเรย์ทรวงอก ณ โรงพยาบาลละงู
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 5 ส่งต่อผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ที่มีผลการเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติ

ชื่อกิจกรรม
ส่งต่อผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ที่มีผลการเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ส่งต่อผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ที่มีผลการเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรกทุกราย
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 6 ติดตามผล

ชื่อกิจกรรม
ติดตามผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. ติดตามผลการรักษาและกำกับการกินยาผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคทุกราย
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

รายละเอียดกิจกรรม
1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 21,020.00 บาท

หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและมีความรู้ในเรื่องของวัณโรคเพิ่มมากขึ้น และเข้ารับบริการการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุม
2. กลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา
3. สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชนได้


>