แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L5311
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
วัณโรคเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมาเป็นเวลานาน ซึ่งก่อให้เกิดผลเสียหายทางสังคมและเศรษฐกิจอย่างมาก อุบัติการณ์ของวัณโรคเคยลดลงอย่างช้าๆในอดีตแต่ในระยะหลังนี้กลับเพิ่มขึ้น เนื่องจากการแพร่ระบาดของโรคเอดส์และการดื้อยา แม้ว่าประเทศไทยจะนำกลยุทธ์ DOTS มาใช้ในการดำเนินงานควบคุมวัณโรค แต่อัตราผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะพบเชื้อยังอยู่ และประกอบกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคเอดส์ทำให้ปัญหาวัณโรคทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น ในแต่ละปีมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ขึ้นทะเบียน รายใหม่ประมาณครึ่งหนึ่งเป็นผู้ป่วยวัณโรคปอดเสมหะบวกที่สามารถแพร่เชื้อได้ และมีแนวโน้มของการดื้อต่อยารักษาวัณโรคเพิ่มสูงขึ้นการดำเนินการเร่งรัดการค้นหาผู้ที่มีอาการเข้าข่ายเป็นผู้ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ อาทิ ผู้สูงอายุอายุ 65 ปีที่สูบบุหรี่ ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลสะสมในเลือดไม่ได้ (Hba1c มากกว่าเท่ากับ 7) ผู้ที่ติดเชื้อเอชไอวีผู้ที่อาศัยร่วมบ้านหรือผู้สัมผัสผู้ป่วยวัณโรค ย้อนหลัง 2 ปี รวมถึงเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ดูแลผู้ป่วย พบว่าอัตราการค้นหาผู้ป่วยรายใหม่ยังน้อยอยู่ ทำให้ผู้ป่วยรายใหม่ยังไม่ถูกค้นพบจะพบเมื่อผู้ป่วยมีอาการแสดงหรืออาการรุนแรงแล้วทำให้เชื้อแพร่กระจายไปยังชุมชนอย่างรวดเร็ว ซึ่งสถานการณ์วัณโรคในอำเภอละงู ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2565 – 2567มีผู้ป่วยวัณโรคที่ขึ้นทะเบียนรักษารายใหม่ 63 ราย, 62 ราย, 71 ราย และ82 รายตามลำดับ ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะเห็นได้ว่าจำนวนของผู้ป่วยวัณโรครายใหม่มีแนวโน้มที่จะมีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ในพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้เป็นพื้นที่หนึ่งที่มีจำนวนผู้ป่วยวัณโรครายใหม่เพิ่มขึ้นซึ่งในปี 2565 – 2567มีผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ จำนวน 2 ราย , 2ราย, 3 ราย และ 4 รายตามลำดับดังนั้นการค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในกลุ่มเสี่ยง จึงมีความสำคัญและความจำเป็นในการลดการแพร่เชื้อโรค เนื่องจากสามารถนำผู้ป่วยเข้าสู่ระบบการรักษาได้เร็ว และได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องจากเจ้าหน้าที่ ทำให้เกิดผลสำเร็จในการรักษา และลดปัญหาการดื้อยาวัณโรคจึงได้จัดทำโครงการอบรมการป้องกันและแก้ไขปัญหาวัณโรคในชุมชน ปีงบประมาณ 2568โดยการให้ความรู้และคัดกรองค้นหาผู้ป่วยวัณโรคในเชิงรุกตามแบบคัดกรองและการส่งตรวจเอกซเรย์ทรวงอก เพื่อทำให้ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรก ซึ่งเป็นการตัดวงจรการแพร่กระจายเชื้อและลดอัตราการเสียชีวิตจากการป่วยด้วยวัณโรค
-
1. เพื่อค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ตัวชี้วัด : ค้นหาผู้ป่วยวัณโรครายใหม่ ตามตัวชี้วัด ได้ร้อยละ 100 ( 6 ราย)ขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
-
2. เพื่อให้ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรค และได้รับการคัดกรองวัณโรคตัวชี้วัด : 1.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงมีความรู้ความเข้าใจเรื่องวัณโรค ร้อยละ 80 2.ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมาย ตามข้อ 2จำนวน98 คนได้รับการคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจาร้อยละ 100 3. ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมายข้อ 2จำนวน 98 คนได้รับการคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการเอกซเรย์ทรวงอกร้อยละ 70 4. ผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรกทุกรายขนาดปัญหา เป้าหมาย 0.00
- 1. ประชุมชี้แจงโครงการรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชุมชี้แจงโครงการแก่อสม.และคืนข้อมูลกลุ่มเสี่ยงวัณโรค พร้อมคัดเลือกกลุ่มเป้าหมายเข้ารับการอบรม
งบประมาณ
- ไมใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท - 2. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่องโรควัณโรค การคัดกรองความเสี่ยง การดูแลตนเองรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
1. อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้ เรื่องโรควัณโรค การคัดกรองความเสี่ยง การดูแลตนเอง แก่กลุ่มเสี่ยงผู้ที่มีอาการเข้าข่ายสงสัยวัณโรคในชุมชน
กลุ่มเป้าหมาย
-ผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลไม่ได้ HbA1C มากกว่าหรือเท่ากับ 7จำนวน42ราย
-ผู้สัมผัสร่วมบ้านผู้ป่วยวัณโรค ปี 2566-2567จำนวน 12 ราย
-ผู้สูงอายุ 65 ปี ขึ้นไป ที่สูบบุหรี่ จำนวน33ราย
-ผู้ป่วย เอช ไอ วีจำนวน 5 ราย
-เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวน 6 ราย
รวมทั้งสิ้น จำนวน 98 ราย
งบประมาณ
- ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 98 คนๆละ 80 บ. X 1มื้อเป็นเงิน 7,840 บ.
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มจำนวน 98 คน ๆ ละ 35 บาท X2 มื้อ เป็นเงิน6,860บาท
- ค่าตอบแทนวิทยากร จำนวน 4 ชั่วโมง ๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 2,400บาท
- ค่าถ่ายเอกสารประกอบการอบรมจำนวน 98 ชุด ๆ ละ 10 บ.เป็นเงิน 980 บ.
- ค่าวัสดุในการอบรม ( ปากกา , แฟ้มใส่เอกสาร) จำนวน 98ชุด ๆ ละ 30 บาท เป็นเงิน2,940บาทงบประมาณ 21,020.00 บาท - 3. การคัดกรองโรควัณโรครายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
- ประชาชนกลุ่มเสี่ยงตามกลุ่มเป้าหมายคัดกรองโรควัณโรคด้วยวิธีการสัมภาษณ์ด้วยวาจา
งบประมาณ
ไม่ใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท - 4. กลุ่มเสี่ยงเข้ารับคัดกรองวัณโรคโดยวิธีการเอกซเรย์รายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
- ส่งกลุ่มเสี่ยงเข้ารับคัดกรองวัณโรคโดยวิธีการเอกซเรย์ทรวงอก ณ โรงพยาบาลละงู
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท - 5. ส่งต่อผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ที่มีผลการเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
1. ส่งต่อผู้ที่มีอาการสงสัยวัณโรคและผู้ที่มีผลการเอกซเรย์ทรวงอกผิดปกติได้เข้ารับการตรวจวินิจฉัยและการรักษาในระยะเริ่มแรกทุกราย
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท - 6. ติดตามผลรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
1. ติดตามผลการรักษาและกำกับการกินยาผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นวัณโรคทุกราย
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท - 7. สรุปผลการดำเนินงานรายละเอียด
รายละเอียดกิจกรรม
1. สรุปผลการดำเนินงานตามแผนงานโครงการ
งบประมาณ
- ไม่ใช้งบประมาณงบประมาณ 0.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
เขตพื้นที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านทุ่งไหม้
รวมงบประมาณโครงการ 21,020.00 บาท
หมายเหตุ : ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้
- กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักและมีความรู้ในเรื่องของวัณโรคเพิ่มมากขึ้น และเข้ารับบริการการตรวจคัดกรองอย่างครอบคลุม
- กลุ่มเป้าหมายที่ติดเชื้อวัณโรครายใหม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและทันเวลา
- สามารถป้องกันการแพร่ระบาดของวัณโรคในชุมชนได้
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L5311
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.น้ำผุด รหัส กปท. L5311
อำเภอละงู จังหวัดสตูล
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................