2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 33 ราย และมกราคม – สิงหาคม2567 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน45 ราย ซึ่งการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ ในหมู่ที่ 1 ,2,3,7,8 ตั้งแต่เดือน มกราคม – สิงหาคม 2567 ภาพรวมพบว่าค่าลูกน้ำยุงลายยังมีค่าเกินมาตรฐาน HI , CI มากกว่า 10 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงสถานการณ์ของโรค ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินงานพบว่าในชุมชนยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ กระบวนการเดินรณรงค์เพื่อสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน ประชาชนยังมองว่าเป็นบทบาทหลักของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น และในหมู่บ้านยังขาดกติกาชุมชน หรือมาตรการทางสังคมที่คนในชุมชนหมู่บ้านคิดร่วมกัน ยอมรับและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน โดยกิจกรรมเดินรณรงค์ใส่ทรายที่มีฟอสเป็นประจำ รวมถึงการให้คำแนะนำให้ ความรู้แก่ครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง น่าจะส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ เช่นโรงเรียน มัสยิด ลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ม. 1 บ้านทุ่งไหม้ ม. 2 บ้านหัวควน ม.3บ้านหนองสร้อย ม.7 บ้านลานเสือ ม.8 บ้านหนองยูง ได้เล็งความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งลูกน้ำยุงลายนำมาซึ่งโรคไข้เลือดออก การควบคุมไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายหรือไม่ให้มีเกินค่ามาตรฐาน จะสามารถป้องกันหรือลดการเกิดโคไข้เลือดออกได้ และอยากส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในชุมชน หมู่บ้าน มีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังโรคภัยในหมู่บ้านต่อไป จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยจ่ายได้
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ หมู่ที่ 1,2,3,7,8ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้ เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน อีกทั้งเกิดมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนต่อไป