โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568
ชื่อโครงการ | โครงการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 |
รหัสโครงการ | 68-L5311-02-11 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุข รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ |
วันที่อนุมัติ | 15 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 กันยายน 2568 |
งบประมาณ | 25,692.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางประไพ ยังนิ่ง |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลน้ำผุด อำเภอละงู จังหวัดสตูล |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 ม.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 25,692.00 | |||
รวมงบประมาณ | 25,692.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง | 100 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออก 1 มกราคม – 31 ธันวาคม พ.ศ. 2566 มีจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกจำนวน 33 ราย และมกราคม – สิงหาคม2567 มีผู้ป่วยโรคไข้เลือดออก จำนวน45 ราย ซึ่งการดำเนินงานควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก ของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน รพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ ในหมู่ที่ 1 ,2,3,7,8 ตั้งแต่เดือน มกราคม – สิงหาคม 2567 ภาพรวมพบว่าค่าลูกน้ำยุงลายยังมีค่าเกินมาตรฐาน HI , CI มากกว่า 10 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดถึงสถานการณ์ของโรค ซึ่งผลที่ได้จากการดำเนินงานพบว่าในชุมชนยังขาดความร่วมมือจากประชาชนในพื้นที่ กระบวนการเดินรณรงค์เพื่อสำรวจ และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายตามครัวเรือน ประชาชนยังมองว่าเป็นบทบาทหลักของ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านเท่านั้น และในหมู่บ้านยังขาดกติกาชุมชน หรือมาตรการทางสังคมที่คนในชุมชนหมู่บ้านคิดร่วมกัน ยอมรับและถือปฏิบัติไปในทิศทางเดียวกัน โดยกิจกรรมเดินรณรงค์ใส่ทรายที่มีฟอสเป็นประจำ รวมถึงการให้คำแนะนำให้ ความรู้แก่ครัวเรือน อย่างต่อเนื่อง น่าจะส่งผลให้ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในบ้าน (HI) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (CI) และค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในสถานที่ราชการ เช่นโรงเรียน มัสยิด ลดลงไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด
ดังนั้นชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านรพ.สต.บ้านทุ่งไหม้ รับผิดชอบ 5 หมู่บ้าน ได้แก่ ม. 1 บ้านทุ่งไหม้ ม. 2 บ้านหัวควน ม.3บ้านหนองสร้อย ม.7 บ้านลานเสือ ม.8 บ้านหนองยูง ได้เล็งความสำคัญของการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกที่จะมีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้นซึ่งลูกน้ำยุงลายนำมาซึ่งโรคไข้เลือดออก การควบคุมไม่ให้มีลูกน้ำยุงลายหรือไม่ให้มีเกินค่ามาตรฐาน จะสามารถป้องกันหรือลดการเกิดโคไข้เลือดออกได้ และอยากส่งเสริมการมีส่วนร่วมที่แท้จริงในชุมชน หมู่บ้าน มีคณะกรรมการป้องกัน และควบคุมโรคในหมู่บ้าน เพื่อช่วยกันเฝ้าระวังโรคภัยในหมู่บ้านต่อไป จึงได้จัดทำโครงการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก ปีงบประมาณ 2568 ขึ้น
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อลดความชุกของลูกน้ำยุงลายไม่ให้เกินเกณฑ์มาตรฐานสาธารณสุข ( HI < 10 , CI < 10 ) ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายในหมู่บ้าน โรงเรียน มัสยิด ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กระทรวงสาธารณสุขกำหนด ( HI < 10 ,CI < 10 ) |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนในการป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก ผู้เข้าร่วมประชุมมีความรู้ในการควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก มากกว่าร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อส่งเสริมการสร้างมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนในเรื่องการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก มีมาตรการทางสังคม หรือกติกาชุมชนอย่างน้อยหมู่บ้านละ 2 ข้อ |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 25,692.00 | 0 | 0.00 | |
1 ม.ค. 68 - 31 มี.ค. 68 | ประชาสัมพันธ์ความรู้เกี่ยวกับการป้องกัน และควบคุมโรคไข้เลือดออก | 0 | 2,592.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้ | 0 | 23,100.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | รณรงค์ใส่ทรายเคมีฟอส และทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในทุกหมู่บ้าน | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | สุ่มสำรวจลูกน้ำยุงลายหาค่า HI , CI | 0 | 0.00 | - | ||
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 | คืนข้อมูลให้กับชุมชนและสรุปผลกิจกรรมการดำเนินงานโครงการ | 0 | 0.00 | - |
- ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายของ หมู่ที่ 1,2,3,7,8ไม่เกินเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด ประชาชนในหมู่บ้านมีความตระหนักในการควบคุม และป้องกันโรคไข้เลือดออก ส่งผลให้ เกิดความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่างๆ ในหมู่บ้าน จึงทำให้ลดภาวะเสี่ยงจากการเกิดโรคไข้เลือดออกในชุมชน อีกทั้งเกิดมาตรการทางสังคมหรือกติกาชุมชนเพื่อเป็นมาตรการในการป้องกันควบคุมโรคในชุมชนต่อไป
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 ธ.ค. 2567 00:00 น.