กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (DM remission) ตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์

นางสาวนิลิลลายอดวารี พยาบาลวีชาชีพชำนาญการ
นางสารอมูหะมะสาเล็ม ผอ.รพ.สต.ตะโละกาโปร์

ตำบลตะโละกาโปร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ อาจส่งผลให้โรคเบาหวานทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต ปลายประสาท และเท้า ได้ อีกทั้งยังเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ได้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้ การพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 พบผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 234 รายและปี 2567 จำนวน 261 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34ดังนั้น รพ.สต.ตะโละกาโปร์ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล รวมทั้งการใช้แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมาพูดคุยให้คำปรึกษา รวมทั้งหารือทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องรายบุคคล พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ หรือ ไลน์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบ

1.มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา
2.อสม.ผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

50.00 20.00
2 เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ลดยาเบาหวานได้

ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู้ป่วยเบาหวาน

70.00 10.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 42
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น : 01/02/2025

กำหนดเสร็จ : 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ขั้นเตรียมการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นเตรียมการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ประชุมทีมงานเครือข่ายสหวิชาชีพ เพื่อออกแบบและจัดทำคู่มือโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
- ค่าจัดทำคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 42 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คนๆละ 30 บาทเป็นเงิน 300 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมงานเครือข่ายสหวิชาชีพเข้าใจการดำเนินงานที่จะต้องปฏิบัติให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ที่วางไว้ ร้อยละ 90

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
2400.00

กิจกรรมที่ 2 ขั้นดำเนินการ

ชื่อกิจกรรม
ขั้นดำเนินการ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายไวนิล 1 แผ่น ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
  • เครื่องตรวจค่าน้ำตาล จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,290 บาท เป็นเงิน 11,450 บาท
  • Stip แผ่นตรวจน้ำตาล จำนวน 5 กล่องๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
  • เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,490 บาท เป็นเงิน 12,450 บาท

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แก่ อสม. จำนวน 70 คน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 42 คนๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,260 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)
  • อสม. จำนวน 70 คนมีความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน ร้อยละ 80
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน มีความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ร้อยละ 80
จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
39110.00

กิจกรรมที่ 3 ขั้นติดตามและประเมินผล

ชื่อกิจกรรม
ขั้นติดตามและประเมินผล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

**** ดูแลให้ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการติดตามเจาะติดตามน้ำตาลสะสมในเลือด ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 10 ครั้ง
1.เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) 1 ครั้ง
- เจ้าหน้าที่เจาะเลือดส่งตรวจ ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่มให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 42 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท

  1. เจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วหลังอาหาร (DTX) 9 ครั้ง
    • อสม. ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน
      ม.1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 22 คน , อสม.ลงติดตาม 6 คน
      ม.2 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
      ม.3 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3 คน ,อสม.ลงติดตาม 1 คน
      ม.4 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
      ม.5 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
      ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่มให้ อสม. 13 คนๆละ 30 บาท x 9 ครั้ง เป็นเงิน 3,510 บาท

*** เกิดตกลงร่วมกันในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและเกิดบุคคลต้นแบบ

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการติดตามเจาะติดตามน้ำตาลสะสมในเลือด ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 10 ครั้ง และเจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วหลังอาหาร (DTX) 9 ครั้งครบ

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
4770.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 46,280.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. จำนวนผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดยาได้ และไม่เกิดภาวะ Hypoglycemia เพิ่มขึ้น
2. ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยสามารถลดยาเบาหวานได้ และมีค่า DTX ที่ดีขึ้น
3. อสม. มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น


>