แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
นางสาวนิลิลลายอดวารี พยาบาลวีชาชีพชำนาญการ
นางสารอมูหะมะสาเล็ม ผอ.รพ.สต.ตะโละกาโปร์
โรคเบาหวาน เป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เป็นหนึ่งในปัญหาสุขภาพที่สำคัญของประเทศไทยและทั่วโลก ผู้ป่วยเบาหวานหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องและปรับพฤติกรรมอย่างต่อเนื่องภายใต้การดูแลของแพทย์และทีมสหสาขาวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งไม่ได้มีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสี่ยงที่สำคัญ อาจส่งผลให้โรคเบาหวานทวีความรุนแรงขึ้น อีกทั้งยังอาจนำไปสู่การเกิดโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ ภาวะแทรกซ้อนทางตา ไต ปลายประสาท และเท้า ได้ อีกทั้งยังเกิดภาวะแทรกซ้อนแบบเฉียบพลันและแบบเรื้อรังอันนำไปสู่ ความพิการและเสียชีวิตก่อนวัยอันควร ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิต ภาวะเศรษฐกิจ และคุณภาพชีวิตของผู้ป่วย ครอบครัว รวมทั้งประเทศชาติ ได้ปัจจุบัน ประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคเบาหวานกว่า 5 ล้านราย โดยมีผู้ป่วยเพียงครึ่งหนึ่งที่ได้รับการรักษา และในจำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการรักษา มีเพียง 1 ใน 3 คนที่สามารถบรรลุเป้าหมายของการรักษา สามารถควบคุมระดับน้ำตาลเฉลี่ยสะสมในเลือด HbA1c ให้ลดลงได้ การพัฒนาคุณภาพบริการให้ประชาชนได้เข้าถึงบริการที่มีคุณภาพ ได้รับการดูแลรักษาอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพจึงเป็นสิ่งสำคัญ ปัญหาสุขภาพที่สำคัญในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ ได้แก่ โรคเบาหวาน เป็นโรคที่ก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนมากเป็นอันดับ 1 ของสถิติผู้ป่วยนอก และมีแนวโน้มจำนวนผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะเพิ่มมากขึ้น ในปี 2566 พบผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 234 รายและปี 2567 จำนวน 261 รายเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.34ดังนั้น รพ.สต.ตะโละกาโปร์ตระหนักถึงความสำคัญ ของปัญหาดังกล่าว ในการจัดทำรูปแบบการจัดการโรคเบาหวานให้เข้าสู่ระยะสงบ (Diabetes Remission) เพื่อส่งเสริมให้ผู้เป็นเบาหวานสามารถปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเอง โดยใช้ข้อมูลที่เป็นจริง เพื่อเป็นแรงขับเคลื่อนในการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิตจริงของแต่ละรายบุคคล รวมทั้งการใช้แบบบันทึกการติดตามเยี่ยมบ้านผู้ป่วยเบาหวานตามรูปแบบโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา (Time-restricted feeding) และนำมาพูดคุยให้คำปรึกษา รวมทั้งหารือทีมสหวิชาชีพโรงพยาบาลเพื่อวางแผนการรักษาพยาบาลให้สอดคล้อง กับวิถีชีวิตของผู้เป็นเบาหวานแต่ละบุคคล และมีการติดตามผลการรักษาอย่างต่อเนื่องรายบุคคล พูดคุย สอบถามแนะนำทางโทรศัพท์ หรือ ไลน์ ลดการเดินทางมาโรงพยาบาลและประหยัดเวลาในการ รอคอย ส่งผลให้ผู้เป็นเบาหวานเข้าใจถึงความสำคัญในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้วยตนเองเพื่อลดความ รุนแรงและความเสี่ยงของโรค คาดหวังให้เกิดการส่งเสริมพฤติกรรมสุขภาพในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ของผู้เป็นเบาหวานอย่างยั่งยืน รวมถึงลดและชะลอการเกิดภาวะแทรกซ้อนของโรคมุ่งสู่เบาหวานระยะสงบ (Diabetes Remission) ได้
-
1. เพื่อพัฒนาแนวทางการดูแลผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ให้เข้าสู่ระยะสงบตัวชี้วัด : 1.มีโปรแกรมการจัดการตนเองในการรับประทานอาหารแบบจำกัดเวลา 2.อสม.ผู้ดูแลมีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 20.00
-
2. เพื่อให้กลุ่มผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดได้ดี ลดยาเบาหวานได้ตัวชี้วัด : ร้อยละการเข้าสู่เบาหวานระยะสงบของผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 เป้าหมายอย่างน้อย 10 % ของผู้ป่วยเบาหวานขนาดปัญหา 70.00 เป้าหมาย 10.00
- 1. ขั้นเตรียมการรายละเอียด
ประชุมทีมงานเครือข่ายสหวิชาชีพ เพื่อออกแบบและจัดทำคู่มือโปรแกรมการจัดการตนเองของผู้เป็นเบาหวาน และคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านฯ
- ค่าจัดทำคู่มือการดูแลตนเองที่บ้านของผู้ป่วยเบาหวาน จำนวน 42 เล่มๆ ละ 50 บาท เป็นเงิน 2,100 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 10 คนๆละ 30 บาทเป็นเงิน 300 บาทงบประมาณ 2,400.00 บาท - 2. ขั้นดำเนินการรายละเอียด
- ค่าป้ายไวนิล 1 แผ่น ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
- เครื่องตรวจค่าน้ำตาล จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,290 บาท เป็นเงิน 11,450 บาท
- Stip แผ่นตรวจน้ำตาล จำนวน 5 กล่องๆ ละ 1,500 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท
- เครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 5 เครื่องๆละ 2,490 บาท เป็นเงิน 12,450 บาท
กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การดูแลผู้ป่วยเบาหวานในชุมชน ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน แก่ อสม. จำนวน 70 คน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาท เป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 70 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 2,100 บาทกิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้เรื่องโรคเบาหวาน อาการ การจัดการโรคเบาหวานแก่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 42 คน
- ค่าตอบแทนวิทยากร 1 คน 3 ชั่วโมงๆละ 600 บาทเป็นเงิน 1,800 บาท
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 42 คนๆละ 30 บาทเป็นเงิน 1,260 บาทงบประมาณ 39,110.00 บาท - ค่าป้ายไวนิล 1 แผ่น ขนาด 1.2 x 2.5 เมตร เป็นเงิน 750 บาท
- 3. ขั้นติดตามและประเมินผลรายละเอียด
**** ดูแลให้ผู้ป่วยเบาหวานกลุ่มเป้าหมาย ได้รับการติดตามเจาะติดตามน้ำตาลสะสมในเลือด ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน จำนวน 10 ครั้ง
1.เจาะเลือดตรวจระดับน้ำตาลสะสม (HbA1c) 1 ครั้ง
- เจ้าหน้าที่เจาะเลือดส่งตรวจ ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่มให้ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 42 คนๆละ 30 บาท เป็นเงิน 1,260 บาท- เจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วหลังอาหาร (DTX) 9 ครั้ง
- อสม. ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน
ม.1 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 22 คน , อสม.ลงติดตาม 6 คน
ม.2 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 7 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
ม.3 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 3 คน ,อสม.ลงติดตาม 1 คน
ม.4 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
ม.5 ผู้ป่วยโรคเบาหวาน 5 คน ,อสม.ลงติดตาม 2 คน
ค่าอาหารว่างเเละเครื่องดื่มให้ อสม. 13 คนๆละ 30 บาท x 9 ครั้ง เป็นเงิน 3,510 บาท
- อสม. ติดตามผู้ป่วยโรคเบาหวาน
*** เกิดตกลงร่วมกันในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวานและเกิดบุคคลต้นแบบ
งบประมาณ 4,770.00 บาท - เจาะระดับน้ำตาลปลายนิ้วหลังอาหาร (DTX) 9 ครั้ง
ตั้งแต่ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ตำบลตะโละกาโปร์
รวมงบประมาณโครงการ 46,280.00 บาท
- จำนวนผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 ที่สามารถลดยาได้ และไม่เกิดภาวะ Hypoglycemia เพิ่มขึ้น
- ผู้เป็นเบาหวานชนิดที่ 2 สามารถดำรงชีวิตประจำวันได้ตามปกติ โดยสามารถลดยาเบาหวานได้ และมีค่า DTX ที่ดีขึ้น
- อสม. มีความรู้และความเข้าใจด้านการดูแลผู้ป่วยโรคเบาหวานเพิ่มขึ้น
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์ รหัส กปท. L8420
อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................