กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเข้าสุนัตหมู่เยาวชนชาย สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ตะโละกาโปร์

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์

นายอับดุลเลาะ ตาเละ

ตำบลตะโละกาโปร์

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เยาวชนและผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง รักษาความสะอาดร่างกาย และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข

 

10.00
2 ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์

 

3.00
3 ร้อยละเยาวชนชายมุสลิมที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์(คน)

 

60.00
4 ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเพศสัมพันธ์เสี่ยง

 

30.00

ตามหลักคำสอนศาสนาอิสลามเรื่องความสะอาด ความว่า “แท้จริงอัลลอฮจะโปรดผู้ที่สำนึกตัวและชอบผู้ที่รักษาความสะอาด” (สูเราะห์อัลบากอเราะฮ์: 222) การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย (การเข้าสุนัต) คือ การทำความสะอาดร่างกายที่ต้องตัดแต่งเพื่อขจัดความสกปรกและเหตุผลทางการแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้ ท่านนบีมูฮำหมัด ศ็อลฯ ได้ให้โอวาทไว้ดังนี้ ธรรมชาติ 5 สิ่ง (ในร่างกายมนุษย์) ที่ต้องได้รับการตกแต่ง คือการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศ ขจัดขนในร่มผ้า ติดเล็บและการตกแต่งหนวดเครา การตัดหนังหุ้มปลายอวัยวะสืบพันธ์ของชาย เพื่อความสะอาดเป็นสำคัญ จากงานวิจัยพบว่าการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย สามารถลดความเสี่ยงการติดเชื้อHIV ได้ร้อยละ 50-60 นอกจากนี้การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย ผู้ขลิบจะลดโอกาสเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น ซิฟิลิส แผลริมอ่อน และลดความเสี่ยงของมะเร็งองคชาติ และถ้าหากขลิบในเด็กทารก ก็จะลดโอกาสเกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะในเด็กได้ด้วย ผู้หญิงที่เป็นคู่ของผู้ชายที่ขลิบจะลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์และลดอัตราเสี่ยงการเกิดมะเร็งปากมดลูกด้วย จากบริบทในเขตเทศบาลตำบลตะโละกาโปร์นับถือศาสนาอิสลาม 100 % ของพื้นที่ พบว่า การขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย หรือ “คีตาล(ภาษาอาหรับ) หรือ “ทำสุนัต”(ภาษามลายู) เป็นประเพณีของชุมชน เป็นประเพณีที่คนเฒ่าคนแก่เคยทำกัน ซึ่งเป็นกิจกรรมการกระตุ้นให้เด็กและเยาวชนที่เข้าสุนัต มีความตระหนัก เพราะกำลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ โดยเฉพาะเรื่องความรับผิดชอบในหน้าที่ การรักษาละหมาด 5 เวลา เป็นต้น
ในปัจจุบันการทำคิตานที่ถูกสุขอนามัยนั้น ต้องมีค่าใช้จ่ายในการใช้จ่ายที่สูงมากพอสมควรทำให้ผู้ปกครองของเยาวชนไม่มีงบประมาณเพียงพอที่จะจ่ายค่าใช้จ่ายในการทำได้ ทำให้ผู้ปกครองหันไปพึ่งกับผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านหรือตำบลอื่นที่มีประสบการณ์ในการทำคิตานแบบโบราณแทน มีราคาที่ถูกกว่า ซึ่งบางแห่งยังไม่ถูกสุขอนามัยเท่าที่ควร เสี่ยงต่อการติดเชื้อมาก จึงเป็นปัญหาอย่างหนึ่งของผู้ปกครองในตำบลตะโละกาโปร์
ดังนั้นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงได้คิดทำโครงการเข้าสุนัตหมู่เยาวชนชาย สะอาด ปลอดภัย ห่างไกลโรค ตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปี 2568 ขึ้น เพื่อแบ่งเบาภาระให้กับผู้ปกครอง และลดเความเสี่ยงของเด็กเยาวชนที่ทำคิตาน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเยาวชนและผู้ปกครองมีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง รักษาความสะอาดร่างกาย และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข
  1. ร้อยละ 100 ของเยาวชนและผู้ปกครอง มีความรู้และตระหนักในการดูแลสุขภาพตนเอง รักษาความสะอาดร่างกาย และไม่ยุ่งเกี่ยวกับอบายมุข
10.00 100.00
2 เพื่อลดปัญหา ประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์

ร้อยละของประชาชนที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเพศสัมพันธ์ ลดลง

30.00 5.00
3 เพื่อเพิ่มการมุสลิมขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์เยาวชนชายขึ้น

ร้อยละของเยาวชนชายมุสลิมที่ขลิบปลายหุ้มหนังอวัยวะเพศ ถูกต้องตามหลักการแพทย์

60.00 100.00
4 เพื่อลด ภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี)

ร้อยละของเยาวชน (อายุ 16-19 ปี) ที่มีภาวะเสี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ ลดลง

3.00 0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 50
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/04/2025

กำหนดเสร็จ 30/06/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 ชี้แจงโครงการแก่ทีมงาน

ชื่อกิจกรรม
ชี้แจงโครงการแก่ทีมงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 20 คนๆละ 30 บาท จำนวน 1 มื้อ
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 29 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

ทีมงานจำนวน 20 คน เข้าใจการดำเนินงานโครงการที่จะปฏิบัติ ร้อยละ 80

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
600.00

กิจกรรมที่ 2 อบรมให้ความรู้และออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เยาวชน

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้และออกบริการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศแก่เยาวชน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าตอบแทนบริการทางการแพทย์ 1,200 บาท x 50 คนเป็นเงิน 60,000 บาท
  • ค่าอาหารกลางวันของเยาวชนเพศชายและผู้ปกครอง จำนวน 100 คนๆ ละ 60 บาท/มื้อ จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 6,000 บาท
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆละ 30 บาท 1 มื้อ เป็นเงิน 3,000 บาท
  • ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.2 x 2.5 ม. (ตร.ม.ละ 250 บาท) จำนวน 1 ผืนๆ ละ 750 บาท เป็นเงิน 750 บาท
  • ค่าผ้าสำหรับเปลี่ยนขณะขลิบหุ้มปลายจำนวน 50 ผืนๆ ละ 100 บาท เป็นเงิน 5,000 บาท
  • ค่าวิทยากร จำนวน 2 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 1,200 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มีนาคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เยาวชนชาย จำนวน 50 คน ได้รับการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศครบทุกคน และแข็งแรง ปลอดภัย

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
75950.00

กิจกรรมที่ 3 ติดตามอาการหลังจากขลิบ

ชื่อกิจกรรม
ติดตามอาการหลังจากขลิบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม 30 บาท X 50 คน X 1 ครั้ง เป็นเงิน 1,500 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 เมษายน 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 50 คน ได้รับการติดตามอาการหลังจากขลิบครบทุกคน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

กิจกรรมที่ 4 สรุปผลการดำเนินงาน

ชื่อกิจกรรม
สรุปผลการดำเนินงาน
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ไม่มีค่าใช้จ่าย

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 พฤษภาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

สามารถสรุปผลการดำเนินงานโครงการ และถอดบทเรียนในการจัดทำโครงการในครั้งต่อไปได้

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 78,050.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1. เยาวชนตะโละกาโปร์ได้รับการทำสุนัต(ขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชาย)ที่ถูกสุขลักษณะ
2. สามารถลดภาวะเสี่ยงของการออกเลือด ภาวะแทรกซ้อน (การอักเสบรุนแรง) และการติดเชื้อหลังจากได้รับการทำสุนัต
3. สามารถลดภาระค่าใช้จ่ายของผู้ปกครองในการทำสุนัต


>