2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ในอดีตจะพบอัตราการเกิดโรค ในช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี และพบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรค สูงขึ้น ซึ่งจากความเคร่งครัดและดำเนินงานตามโครงการในปีที่ผ่านมา สามารถช่วยลดอัตราป่วยลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการคาดสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วได้และปัจจุบันโรค ไข้เลือดออกเป็น โรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะ พันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญใน ลดอัตราการป่วย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีม SRRT อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ในการช่วยกันควบคุมป้องกันโรค อาทิ เช่น ด้วยการทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย คว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด ใส่ปูนแดงกำจัดลุกน้ำยุงลาย รวมถึงการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด โดยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น และควรเฝ้าระวัง โดยการสำรวจ แหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก และการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรค กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่
จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา พบว่าสถานการณ์ไข้เลือดออกของไทย ในปี พ.ศ. 2567 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 กันยายน 2567) มีจำนวนผู้ป่วย ทั้งสิ้น 79,689 ราย (เพิ่มขึ้น 2704 ราย) อัตราป่วย 120.15 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้พบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก 63 ราย ซึ่งถือเป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดค่อนข้าง สูง และยังเป็นอันตรายรุนแรงสามารถถึงแก่ชีวิตได้จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 2100 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 342.63 ต่อแสนประชากร มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2 ราย ในส่วนของอำเภอยะหริ่งมีจำนวนผู้ป่วยสะสม 406 ราย มากที่สุดในจังหวัดปัตตานี แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตรองลงมาคือ สายบุรี จำนวน 364 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จะเห็นได้ว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการดำเนินกิจกรรมอย่างเร่งด่วนและจากข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก พื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีพบว่า ปีพ.ศ. 2567 จำนวนผู้ป่วย 28 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 34.50 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้นที่จะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องได้รับการ ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายและลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการดูแลป้องกันบุคคลภายใน ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เช่น ในสถานที่ทำงาน โรงเรียน จึงเป็นการสูญเสียทั้งสุขภาพ เงินค่ารักษาพยาบาลหรือ ค่าใช้จ่ายขณะป่วยและพักฟื้น ของผู้ป่วยเองรวมไปถึงครอบครัว หน้าที่การงาน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง สูญเสีย งบประมาณ และทรัพยากรในการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการกำจัดให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ภัยร้ายพาหะโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น 01/01/2025
กำหนดเสร็จ 30/09/2025
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ