กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการกำจัดให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ภัยร้ายพาหะโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L8420-02-03
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ กลุ่มหรือองค์กรประชาชน
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขตำบลตะโละกาโปร์
วันที่อนุมัติ 27 มกราคม 2568
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 27 มกราคม 2568 - 30 กันยายน 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 30 กันยายน 2568
งบประมาณ 39,580.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางสาวนัสรีณี ศรีท่าด่าน
พี่เลี้ยงโครงการ นางวรรณาพร บัวสุวรรณ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด 6.89355,101.363324place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานเผชิญภัยพิบัติและโรคระบาด
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 60 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 50 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง :

stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ประชาชามีความรู้เรื่องโรคไข้เลือดออก และสามารถปฏิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง
40.00
2 ร้อยละประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด
2.00
3 จำนวนสถานที่ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่
60.00
4 พฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายของประชาชนในพื้นที่อย่างเนื่อง และถูกต้อง
40.00

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

โรคไข้เลือดออกเป็นโรคติดต่อที่เป็นปัญหาทางด้านสาธารณสุขของประเทศ ในอดีตจะพบอัตราการเกิดโรค ในช่วงปลายปี แต่ปัจจุบันสามารถพบผู้ป่วยได้ตลอดทั้งปี และพบผู้ป่วยมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งมีแนวโน้มการเกิดโรค สูงขึ้น ซึ่งจากความเคร่งครัดและดำเนินงานตามโครงการในปีที่ผ่านมา สามารถช่วยลดอัตราป่วยลงได้ แต่อย่างไรก็ตามการคาดสถานการณ์การเกิดโรคไข้เลือดออกว่ามีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วได้และปัจจุบันโรค ไข้เลือดออกเป็น โรคติดต่อที่สามารถเกิดขึ้นได้ทุกฤดูกาล โดยเฉพาะหากมีแหล่งหรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเพาะ พันธ์ยุงลายซึ่งเป็นพาหะนำโรค ดังนั้นการควบคุมป้องกันและการเฝ้าระวังไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออกจึงเป็นสิ่งสำคัญใน ลดอัตราการป่วย โดยอาศัยการมีส่วนร่วมจากหลายฝ่าย ทั้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุข ทีม SRRT อาสาสมัครสาธารณสุข ประจำหมู่บ้าน ผู้นำชุมชน และประชาชน ในการช่วยกันควบคุมป้องกันโรค อาทิ เช่น ด้วยการทำลายแหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย คว่ำภาชนะที่เป็นแหล่งน้ำขัง ปิดฝาภาชนะที่ใส่น้ำให้มิดชิด ใส่ปูนแดงกำจัดลุกน้ำยุงลาย รวมถึงการป้องกันไม่ให้โดนยุงกัด โดยการใช้สมุนไพรพื้นบ้าน เป็นต้น และควรเฝ้าระวัง โดยการสำรวจ แหล่ง เพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายเป็นประจำเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคไข้เลือดออก และการควบคุมไม่ให้เกิดการระบาดของโรค กรณีพบผู้ป่วยในพื้นที่ จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา พบว่าสถานการณ์ไข้เลือดออกของไทย ในปี พ.ศ. 2567 (ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 18 กันยายน 2567) มีจำนวนผู้ป่วย ทั้งสิ้น 79,689 ราย (เพิ่มขึ้น 2704 ราย) อัตราป่วย 120.15 ต่อแสนประชากร ทั้งนี้พบจำนวนผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้เลือดออก 63 ราย ซึ่งถือเป็นโรคติดต่อที่มีการระบาดค่อนข้าง สูง และยังเป็นอันตรายรุนแรงสามารถถึงแก่ชีวิตได้จากสถานการณ์โรคไข้เลือดออกจังหวัดปัตตานี ในปี 2567 ที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนผู้ป่วยสะสม 2100 ราย อัตราป่วยคิดเป็น 342.63 ต่อแสนประชากร มีจำนวนผู้เสียชีวิต 2 ราย ในส่วนของอำเภอยะหริ่งมีจำนวนผู้ป่วยสะสม 406 ราย มากที่สุดในจังหวัดปัตตานี แต่ยังไม่มีผู้เสียชีวิตรองลงมาคือ สายบุรี จำนวน 364 ราย มีผู้เสียชีวิต 1 ราย จะเห็นได้ว่าปัญหาโรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาที่ต้องการดำเนินกิจกรรมอย่างเร่งด่วนและจากข้อมูลอัตราป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก พื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์ อำเภอยะหริ่ง จังหวัดปัตตานีพบว่า ปีพ.ศ. 2567 จำนวนผู้ป่วย 28 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 34.50 ต่อแสนประชากร จะเห็นได้ว่าอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออกมีแนวโน้นที่จะเพิ่มจำนวนผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้โรคไข้เลือดออกส่งผลกระทบทั้งในระยะสั้นและระยะยาว คือผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกจำเป็นต้องได้รับการ ดูแลรักษาอย่างใกล้ชิด เพื่อป้องกันอันตรายและลดอัตราการเสียชีวิต รวมไปถึงการดูแลป้องกันบุคคลภายใน ครอบครัว หรือบุคคลใกล้ชิด เช่น ในสถานที่ทำงาน โรงเรียน จึงเป็นการสูญเสียทั้งสุขภาพ เงินค่ารักษาพยาบาลหรือ ค่าใช้จ่ายขณะป่วยและพักฟื้น ของผู้ป่วยเองรวมไปถึงครอบครัว หน้าที่การงาน สังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้อง สูญเสีย งบประมาณ และทรัพยากรในการควบคุมและป้องกันโรค ซึ่งอาจส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศได้ จากความสำคัญและความจำเป็นดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลตะโละกาโปร์ จึงได้จัดทำโครงการกำจัดให้เกลี้ยง ไม่เลี้ยงยุงลาย ภัยร้ายพาหะโรคไข้เลือดออกตำบลตะโละกาโปร์ ประจำปีงบประมาณ 2568 ขึ้น เพื่อเป็นการกระตุ้นให้ประชาชนเกิดความตระหนักในการ ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก ช่วยทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย และเพื่อลดอัตราการเกิดโรคไข้เลือดออก ในพื้นที่ตำบลตะโละกาโปร์

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อให้ประชาชนช่วยกันสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายด้วยวิธีการที่เหมาะสม

ไม่พบลูกน้ำยุงลายในภาชนะรองรับน้ำในบ้าน(Container Index=0) และบริเวณบ้าน (House Index=0)

2.00 2.00
2 เพื่อควบคุมและป้องกันโรคไข้เลือดออก

ผู้ป่วยไข้เลือดออกลดลงเมื่อเทียบกับปีล่าสุด

2.00 2.00
3 เพื่อแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภาวะไข้เลือดออกระบาด

การแก้ปัญหาประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากไข้เลือดออกระบาด(ร้อยละ)

2.00 0.00
4 จำนวนสถานที่ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ลดลง

ร้อยละ 100 จำนวนสถานที่ที่มีแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในพื้นที่ลดลง

60.00 100.00
5 เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างเนื่อง และถูกต้อง

ร้อยละ 80 ประชาชนในพื้นที่มีพฤติกรรมการทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายอย่างเนื่อง และถูกต้อง

40.00 80.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 39,580.00 0 0.00
1 - 31 ม.ค. 68 ประชุมชี้แจงแนวทางในการดำเนินงานเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก 0 2,250.00 -
1 ม.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 การเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกในตำบลตะโละกาโปร์ 0 9,940.00 -
1 มี.ค. 68 - 31 ส.ค. 68 อบรมให้ความรู้เรื่องการกำจัดขยะปรับปรุงสิ่งแวดล้อมป้องกันโรคไข้เลือดออก 0 13,890.00 -
1 มิ.ย. 68 - 31 ส.ค. 68 รณรงค์กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลาย 0 12,000.00 -
1 ก.ค. 68 - 30 ก.ย. 68 ติดตาม และสรุปโครงการ 0 1,500.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ
  1. อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกในชุมชนลดลงเมื่อเปรียบเทียบย้อนหลัง 3 ปี
  2. มีบ้านตัวอย่าง แหล่งเรียนรู้กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพ
  3. ประชาชนสุขภาพดีด้วยการจัดการสิ่งแวดล้อมในบ้านและพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ
stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 28 ธ.ค. 2567 19:01 น.