2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
3. สถานการณ์
ปัจจุบันภาวะโลหิตจางถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 1993 – 2005 พบว่าประชากร 1.62 พันล้านคน มีภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 24.8 ของประชากรทั่วโลก และพบความชุกสูงสุดในเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 47.4 ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโลหิตจางในกลุ่มเด็กเล็กในภาพรวมสูงถึงร้อยละ 65.5และจากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 กองโภชนาการ กรมอนามัย พบความชุกของภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน – 5 ปี (ฮีโมโกลบิน < 11 กรัม/เดซิลิตร) ร้อยละ 25.9 และการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กของเด็กไทย อายุ 6 เดือน – 12 ปี พ.ศ. 2553 – 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SEANUTS) พบว่าในเด็กไทยกลุ่ม 6 – 3 ปี พบความชุกของภาวะโลหิตจางสูงในเขตชนบท ร้อยละ 41.7 ในเขตเมืองร้อยละ 26.4 โดยภาพรวมสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของประเทศไทยในเด็กไทยยังมีแนวโน้มไม่ลดลงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถตรวจพบและประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการตรวจวัดระดับ HCT (Hematocri) HCT เป็นตัวชี้วัดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การตรวจ HCT มีความสำคัญเป็นพิเศษในเด็ก เพราะระบบร่างกายของเด็กยังอยู่ในช่วงที่มีความเปราะบาง หากปล่อยให้เกิดภาวะโลหิตผิดปกติโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตในระยะยาว
ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “Hct kids for health หยดเลือดชี้สุขภาพ”เพื่อศึกษากลุ่มเสี่ยงในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปีที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือด Hctเพื่อเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะโลหิตจางในเด็กและส่งเสริมความตระหนักรู้ในครอบครัวและชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพเด็ก โดยการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง
4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด
- บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
- ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
5. กลุ่มเป้าหมาย
6. ระยะเวลาดำเนินงาน
วันเริ่มต้น
กำหนดเสร็จ
7. วิธีการดำเนินงาน
- กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
- งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด
หมายเหตุ :
8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง
ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?1.เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดทุกราย
2.ผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ได้อย่างถูกต้อง
3.ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการ