กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

stars
1. รายละเอียดโครงการ
ชื่อโครงการ โครงการ Hct Kids for health (หยดเลือดชี้สุขภาพ) ปีงบประมาณ 2568
รหัสโครงการ 68-L3017-01-01
ประเภทการสนับสนุน ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต.
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ สถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด อำเภอเมืองปัตตานีจังหวัดปัตตานี
วันที่อนุมัติ 26 พฤศจิกายน 2567
ระยะเวลาดำเนินโครงการ 18 เมษายน 2568 - 5 พฤษภาคม 2568
กำหนดวันส่งรายงาน 5 มิถุนายน 2568
งบประมาณ 30,950.00 บาท
ผู้รับผิดชอบโครงการ นางฮานาน มะยีแต
พี่เลี้ยงโครงการ นายอิมรอน หะยีสามะ
พื้นที่ดำเนินการ ตำบลปุยด อำเภอเมืองปัตตานี จังหวัดปัตตานี
ละติจูด-ลองจิจูด place
stars
2. ความสอดคล้องกับแผนงาน
แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว , แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง
stars
3. งวดสำหรับการทำรายงาน
stars
4. กลุ่มเป้าหมาย

(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน 120 keyboard_arrow_down

กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน :

กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
stars
5. หลักการและเหตุผล/สถานการณ์
สถานการณ์ปัญหาขนาด

ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันภาวะโลหิตจางถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของโลกและประเทศไทย จากการสำรวจขององค์การอนามัยโลก ค.ศ. 1993 – 2005 พบว่าประชากร 1.62 พันล้านคน มีภาวะโลหิตจาง คิดเป็นร้อยละ 24.8 ของประชากรทั่วโลก และพบความชุกสูงสุดในเด็กก่อนวัยเรียน ร้อยละ 47.4 ในภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พบโลหิตจางในกลุ่มเด็กเล็กในภาพรวมสูงถึงร้อยละ 65.5และจากรายงานการสำรวจภาวะอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546 กองโภชนาการ กรมอนามัย พบความชุกของภาวะโลหิตจางในกลุ่มเด็กปฐมวัย อายุ 6 เดือน – 5 ปี (ฮีโมโกลบิน < 11 กรัม/เดซิลิตร) ร้อยละ 25.9 และการสำรวจภาวะโภชนาการเด็กของเด็กไทย อายุ 6 เดือน – 12 ปี พ.ศ. 2553 – 2555 ภายใต้โครงการ South East Asia Nutrition Survey (SEANUTS) พบว่าในเด็กไทยกลุ่ม 6 – 3 ปี พบความชุกของภาวะโลหิตจางสูงในเขตชนบท ร้อยละ 41.7 ในเขตเมืองร้อยละ 26.4 โดยภาพรวมสถานการณ์ภาวะโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็กของประเทศไทยในเด็กไทยยังมีแนวโน้มไม่ลดลงซึ่งส่วนใหญ่เกิดจากการขาดธาตุเหล็ก หรืออาจเกิดจากพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม จนทำให้เด็กเกิดภาวะทุพโภชนาการ ซึ่งปัญหาเหล่านี้สามารถตรวจพบและประเมินได้อย่างมีประสิทธิภาพผ่านการตรวจวัดระดับ HCT (Hematocri) HCT เป็นตัวชี้วัดปริมาณเซลล์เม็ดเลือดแดงในเลือดที่สะท้อนถึงประสิทธิภาพในการลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย การตรวจ HCT มีความสำคัญเป็นพิเศษในเด็ก เพราะระบบร่างกายของเด็กยังอยู่ในช่วงที่มีความเปราะบาง หากปล่อยให้เกิดภาวะโลหิตผิดปกติโดยไม่ได้รับการวินิจฉัยและรักษา อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโต การเรียนรู้ และคุณภาพชีวิตในระยะยาว
ดังนั้นสถานีอนามัยเฉลิมพระเกียรติฯ ตำบลปูยุด เล็งเห็นถึงความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำโครงการ “Hct kids for health หยดเลือดชี้สุขภาพ”เพื่อศึกษากลุ่มเสี่ยงในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปีที่มีภาวะโลหิตจาง โดยการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือด Hctเพื่อเป็นแนวทางในการทบทวนปรับปรุงการดำเนินงานป้องกันและควบคุมภาวะโลหิตจางในเด็กและส่งเสริมความตระหนักรู้ในครอบครัวและชุมชนเกี่ยวกับความสำคัญของสุขภาพเด็ก โดยการให้ข้อมูลและคำปรึกษาแก่ผู้ปกครอง

stars
6. วัตถุประสงค์/เป้าหมาย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดปัญหาเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อศึกษากลุ่มเสี่ยงภาวะโลหิตจางในเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปีด้วยการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือด (Hct)

ร้อยละ ๘๐ ของเด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดทุกราย

0.00
2 เพื่อเสริมสร้างความรู้แก่ผู้ปกครองในการส่งเสริมภาวะโภชนาการของเด็กอายุ 6 เดือน ถึง 3 ปี อย่างถูกต้อง

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ได้อย่างถูกต้อง

0.00
3 เพื่อเสริมสร้างความตระหนักแก่ผู้ปกครองและเด็กเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการ

ร้อยละ ๘๐ ของผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการ

0.00
stars
7. การดำเนินงาน/กิจกรรม
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม กลุ่มเป้าหมาย
(คน)
งบกิจกรรม
(บาท)
ทำแล้ว
 
ใช้จ่ายแล้ว
(บาท)
วันที่ กิจกรรม 0 30,950.00 0 0.00
18 เม.ย. 68 กิจกรรมตรวจคัดกรองภาวะโลหิตจางในเด็ก อายุ6 เดือน – 3 ปี โดยวิธีการเจาะเลือด HCT 0 13,050.00 -
5 พ.ค. 68 กิจกรรม “คืนข้อมูล เพื่อสุขภาพเด็ก” 0 17,900.00 -

 

stars
8. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.เด็กอายุ 6 เดือน – 3 ปี ได้รับการคัดกรองตรวจความเข้มข้นของเลือดทุกราย

2.ผู้ปกครองมีความรู้ในการส่งเสริมภาวะโภชนาการเด็กอายุ 6 เดือนถึง 3 ปี ได้อย่างถูกต้อง

3.ผู้ปกครองและเด็กมีความตระหนักเกี่ยวกับผลกระทบของภาวะทุพโภชนาการ

stars
9. เอกสารประกอบโครงการ

โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 26 พ.ย. 2567 00:00 น.