แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
กลุ่มวัยทำงานเป็นกลุ่มประชากรที่อยู่ในช่วงวัย 15 - 59 นับได้ว่าเป็นกลุ่มประชากรที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาประเทศ คือเป็นกำลังสำคัญในการหารายได้เพื่อเลี้ยงตนเองและครอบครัว และเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กร ทำให้เกิดการพัฒนาองค์กร พัฒนาประเทศ ดังนั้นการมีสุขภาพที่ดีในวัยทำงานจึงเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตในทุกมิติแต่เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ สังคม การดำรงชีวิตและเทคโนโลยีใน“โลกปัจจุบัน” ส่งผลให้เกิดการแข่งขันทางด้านเศรษฐกิจสูง คนทำงานส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่กับงานมากกว่า 8-10 ชั่วโมงการใช้ชีวิตส่วนใหญ่ในสถานที่ทำงานมากกว่าที่บ้านและต้องใช้ชีวิตอยู่บนความเร่งรีบ ก่อให้เกิดความเหนื่อยล้าจากภาระงานจนทำให้ละเลยการดูแลสุขภาพโดยรวมของตนเอง เช่น เรื่องการพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ มีแนวโน้มการสูบบุหรี่และดื่มสุราเพิ่มขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคที่ไม่ถูกต้อง ไม่พิถีพิถันในการเลือกรับประทานอาหาร มีความเครียดสูง ขาดทักษะในการจัดการความเครียด ซึ่งความเครียดและพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่เหมาะสมนี้ทำให้คนวัยทำงานมีความเสี่ยงหรือปัญหาสุขภาพเกิดขึ้นได้ทั้งปัญหาสุขภาพทางกาย สุขภาพจิตเช่นโรคออฟฟิตซินโดรมมีอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง ปัญหาเกี่ยวกับตา จากการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ตเป็นเวลานาน ปัญหาสุขภาพจิต เช่น มีความเครียดสะสมวิตกกังวล ซึมเศร้า หรือมีภาวะหมดไฟในการทำงาน (burnout syndromes) นอกจากนี้ยังเสี่ยงต่อการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (โรค NCDs) ซึ่งโรคในกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด 6 โรค ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหลอดเลือดสมองและหัวใจ โรคถุงลมโป่งพอง โรคมะเร็งโรคความดันโลหิตสูง และโรคอ้วนลงพุง
เทศบาลเมืองเบตง มีนโยบายพัฒนาด้านสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม ในการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การเฝ้าระวังสุขภาพจิตในชุมชน การส่งเสริมการดูแลสุขภาพของประชาชนให้สมบูรณ์แข็งแรง และได้รับบริการสาธารณะอย่างทั่วถึง เท่าเทียม โดยเน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา รณรงค์ให้ความรู้แก่ประชาชนในการดูแลสุขภาพของตนเองให้เข้มแข็งและซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ข้อที่ 3 การมีสุขภาพและความเป็นอยู่ที่ดี และข้อที่ 17 การมีส่วนร่วมในการพัฒนา ที่มุ่งเน้นให้ประชาชนและบุคลากรมีสุขภาพที่ดีอันเป็นจุดเริ่มต้นให้มนุษย์มีความเป็นอยู่ที่ดีในทุกๆ ด้าน โดยเทศบาลเมืองเบตง เป็นแหล่งรวมของคนวัยทำงานจำนวนมากกว่า 200คน ซึ่งบุคลากรจะบางส่วนจะประสบมีปัญหาสุขภาพในหลาย ๆ เรื่อง เช่น โรคออฟฟิศซินโดรม ภาวะเครียด ปัญหาสุขภาพจิต อ้วนลงพุง เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง จึงจำเป็นต้องตื่นตัวในเรื่องการดูแลสุขภาพเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุดที่ทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนต้องร่วมเรียนรู้และแก้ไขปัญหาร่วมกัน และสิ่งสำคัญที่สุดคือ การปลูกฝังมุมมองให้รับรู้ร่วมกันว่า "สุขภาวะ" ไม่ใช่แค่เรื่องของความเจ็บป่วยทั้งของตนเอง และคนรอบตัว สุขภาวะที่ดี จะต้องสร้างความสุขเชื่อมโยงถึงกัน คือการช่วยเหลือเกื้อกูล และ พึ่งพาอาศัยของทุกคนในสังคม "สุขภาพ” จึงเป็น เรื่องของคนทุกคนที่ช่วยกันสร้างความเข้าใจและการปฏิบัติที่ถูกต้องด้วยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพซึ่งเป็นการปรับวิถีชีวิตด้านสุขภาพด้วยตนเองนั่นเอง โดยเฉพาะผู้นำและบุคลากรที่ปฏิบัติหน้าที่ด้านการจัดบริการสาธารณะเพื่อบำบัดทุกข์ บำรุงสุขให้กับประชาชนซึ่งเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสุขภาพอนามัยของคนในองค์กร ในชุมชนและสังคมกองสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม เทศบาลเมืองเบตง ตระหนักถึงความสำคัญของการส่งเสริมสุขภาพของบุคลากรทุกระดับและการสร้างสภาพแวดล้อมในที่ทำงานที่เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีจึงได้บูรณาการความร่วมมือร่วมกับทุกกอง/ทุกฝ่ายจัดทำโครงการส่งเสริมสุขภาพบุคลากรเทศบาลเมืองเบตง พิชิตโรคออฟฟิศซินโดรมและโรค NCDs เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีความรอบรู้ด้านสุขภาพ สามารถเข้าถึง เข้าใจ วิเคราะห์ประเมินสุขภาพตนเอง และปรับใช้ข้อมูลความรู้ที่ได้รับ นำไปสู่การปฏิบัติปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสมลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคออฟฟิตซินโดรมและโรค NCDs และส่งเสริมให้บุคลากรเกิดพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่ดีต่อสุขภาพในระยะยาว มีสุขภาพที่แข็งแรงทั้งร่างกาย จิตใจและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นเกิดประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปสู่การจัดบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตงได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกทั้งสามารถเป็นต้นแบบ องค์กรสุขภาพดี (Healty Organization) ในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ผู้มาใช้บริการหรือองค์กรอื่น ๆ
- 1. กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น (ตระหนักรู้ภาวะสุขภาพแห่งตน)รายละเอียด
1.1 คัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ชั่งน้ำหนัก วัดรอบเอว วัดความดันโลหิต ตรวจน้ำตาลในเลือด ประเมิน BMI ทำแบบประเมินปัจจัยเสี่ยงต่อสุขภาพ เช่น ประเมิน CVD risk ประเมินภาวะซึมเศร้า ประเมินพฤติกรรมสุขภาพ 3 อ. ประเมินความเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรมฯ 1.2 แจ้งผลการคัดกรองประเมินสุขภาพรายบุคคล 1.3 แยกกลุ่มปกติ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสงสัยป่วย กลุ่มป่วย และจัดทำทะเบียนสุขภาพของบุคลากรเพื่อให้การดูแลส่งเสริมสุขภาพตามความเหมาะสมหรือส่งต่อเพื่อตรวจวินิจฉัย กิจกรรมที่ 1 คัดกรองประเมินสุขภาพเบื้องต้น
- ค่าเครื่องตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว (1 เครื่อง x 1,900 บาท) เป็นเงิน 1,900 บาท - ค่าแถบตรวจน้ำตาลในเลือดปลายนิ้ว (50 แถบ/กล่อง) จำนวน 4 กล่อง ๆ ละ 850 บาท เป็นเงิน 3,400 บาท - ค่าเข็มเจาะเลือดปลายนิ้ว (1 กล่อง x 840 บาท) (200 ชิ้น/กล่อง) เป็นเงิน 840 บาท - ค่าสำลีแอลกอฮอล์ชนิดก้อน (3 กล่อง x 160 บาท) (12 แผง/กล่อง) เป็นเงิน 480 บาท
รวมเป็นเงิน 6,620 บาทงบประมาณ 6,620.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs)รายละเอียด
กิจกรรมที่ 2 ฝึกอบรมสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ โดยจัดอบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) จำนวน 2 วัน ในเรื่องดังนี้ วันที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพเพื่อป้องกันโรคออฟฟิศซินโดรมและโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (NCDs) ฐานกิจกรรม 4 กลุ่ม ตามหัวข้อดังนี้ กลุ่มที่ 1 หัวข้อ “โรคออฟฟิศซินโดรม โรคน่ากลัวของคนวัยทำงาน” หัวข้อ “การจัดสภาพแวดล้อมและท่าทางการทำงานให้เหมาะสมตามหลักกายรศาสตร์” หัวข้อ “ท่าบริหารกล้ามเนื้อบอกลาออฟฟิศซินโดรม” กลุ่มที่ 2 หัวข้อ “โรค NCDs” โรคที่เกิดจากพฤติกรรม” หัวข้อ “Health Check-up” รู้ตน ลดเสี่ยง ลดโรค หัวข้อ “สมรรถภาพทางกาย เช็กไว้ ได้ประโยชน์” กลุ่มที่ 3 หัวข้อ “ปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงานและแนวทางการจัดการความเครียดใน ชีวิตประจำวัน” หัวข้อ “วัยทำงานใส่ใจการดูแลสุขภาพช่องปากและฟัน” กลุ่มที่ 4 หัวข้อ “การค้นหาความเสี่ยงและการจัดทำแผนขจัดความเสี่ยงโรคออฟฟิศซินโดรมและ หัวข้อ “แนวทางการสร้างองค์กรสุขภาพดี (Healty Organization) ในการสร้างเสริม สุขภาพให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน” วันที่ 2 อบรมเชิงปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพตามหลัก 3 อ. (อออกกำลังกาย/อารมณ์/อาหาร) หัวข้อ ออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ พิชิตโรคโรคออฟฟิศซินโดรมและโรค NCDs (ออกกำลังกาย/ อารมณ์) สาธิตและฝึกปฏิบัติ เทคนิคการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ กิจกรรมชวนขยับ ปรับพฤติกรรม
หัวข้อ จัดการตนเองด้านโภชนาการเพื่อการมีสุขภาพที่ดี แบ่งกลุ่ม 8 กลุ่ม สาธิตและฝึกปฏิบัติการจัดทำเมนูอาหารสุขภาพสำหรับวัยทำงาน การนำเสนอผลการจัดเมนูอาหารสุขภาพและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันงบประมาณ 81,430.00 บาท - 3. กิจกรรมที่ 3 นโยบายส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพ เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีและส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพอย่างอย่างยั่งยืนรายละเอียด
กิจกรรมที่ 3 นโยบายส่งเสริมสุขภาพและสิ่งแวดล้อมสถานที่ทำงานที่เอื้อต่อสุขภาพ
เพื่อสร้างสุขภาพที่ดีและส่งเสริมให้บุคลากรมีพฤติกรรมที่ดีต่อสุขภาพอย่างอย่างยั่งยืน ได้แก่ 3.1 จัดกิจกรรม “วันพฤหัส Exercise show” โดยเชิญชวนคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนการงาน บุคลากรออกกำลังกายก่อนทำงาน หรือหลังเลิกงาน และช่วยกันแชร์ภาพกิจกรรมออกกำลังกายของตนเอง กลุ่มเพื่อน ลงไลน์กลุ่มบุคลากรเทศบาลเมืองเบตง facebook เพื่อประชาสัมพันธ์สร้างกระแสการออกกำลังกายร่วมกัน
3.2 รณรงค์ลดพฤติกรรมเนือยนิ่ง เพิ่มกิจกรรมทางกาย เช่น ส่งเสริมการใช้บันไดแทนการใช้ลิฟท์ ยืนทำงานบ้าง เดินหลังมื้ออาหาร 15 นาที ลุกไปเดินทุก 90 นาที ฯ 3.3 รณรงค์ขอความร่วมมือสำนัก/กอง จัดอาหารว่างเครื่องดื่มประชุม โดยเน้นอาหารส่งเสริมสุขภาพ 3.4 จัดสวัสดิการและการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพให้แก่บุคลากร โดยประชาสัมพันธ์บริการด้านสุขภาพที่เปิดในสำนักงานเทศบาล และเชิญชวนให้มาเป็นสมาชิกและใช้บริการเพื่อสร้างสุขภาพที่ดี ได้แก่
- บริการของคลินิกสุขภาพดี (Wellness center) เปิดให้บริการคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น บริการฝึกโยคะผ่อนคลาย การฝึกท่าบริหารร่างกายป้องกันออฟฟิศซินโดรม บริการเครื่องออกกำลังกายฟิตเนส บริการคาราโอเกะ ศิลปะพาเพลิน การให้คำปรึกษาด้านอาหาร โภชนาการ การออกกำลังกาย การลดเลิกบุหรี่ฯ
- บริการของคลินิกแพทย์ไทย เปิดให้บริการนวด อบ ประคบสมุนไพรคลายปวดเมื่อยจากการทำงาน นวดสลายเครียดฯ - บริการของศูนย์บริการสาธารณสุข ให้คำปรึกษาด้านสุขภาพจิต การจัดการความเครียดงบประมาณ 67,450.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 กรกฎาคม 2568
สำนักงานเทศบาลเมืองเบตง
รวมงบประมาณโครงการ 155,500.00 บาท
หมายเหตุ : (ทุกรายการสามารถถัวเฉลี่ยกันได้)
- บุคลากรเทศบาลได้รับการตรวจประเมินด้านสุขภาพ และมีความตระหนักรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง
- บุคลากรเทศบาลมีความรอบรู้การดูแลสุขภาพป้องกันการเกิดโรค มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้องเหมาะสม
- บุคลากรเทศบาลมีสุขภาพกายใจที่แข็งแรง สิ่งแวดล้อมในการทำงานดีขึ้นส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงาน นำไปสู่การจัดบริการสาธารณะเพื่อประชาชนในเขตเทศบาลเมืองเบตงได้อย่างมีประสิทธิภาพและสามารถเป็นต้นแบบองค์กรสุขภาพดี ในการสร้างเสริมสุขภาพให้กับตนเอง ครอบครัว ชุมชน ผู้มาใช้บริการหรือองค์กรอื่น ๆ
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................