แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น
แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"
อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้
1. นางสาวปรารถนาธัมมากาศ ประธาน อสม.
2. นางอังสนาสะมะแอรองประธาน อสม.
3. นายอารยะ อิมัม เลขานุการ
4. นางธันยาภัทร์ แซ่ตั้น กรรมการ
5. นายทีปพิพัฒน์รัตนเสถียร กรรมการ
ไข้เลือดออกเป็นปัญหาหนึ่งที่สำคัญของสาธารณสุขไทยตลอดระยะเวลาหลายปี เพราะเป็นโรคติดต่อที่สร้างความเจ็บป่วยในระดับรุนแรงจนอาจถึงแก่ชีวิต เป็นผลให้ค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลพุ่งสูงขึ้น เกิดความความสูญเสียทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ขณะที่ทุกฝ่ายได้ช่วยกันรณรงค์ป้องกันและควบคุมมาอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลูก็เป็นอีกพื้นที่หนึ่งที่มีปัญหาการระบาดของโรคไข้เลือดออกอย่างต่อเนื่องชุมชนเบตงฮูลู มีจำนวนครัวเรือนทั้งหมด 395 ครัวเรือน ประชากรทั้งหมด 1,434 คน พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 6 ราย ในปี พ.ศ.2560 – 2561และในปี 2562 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 11 ราย ในปี 2563 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 3 รายและในปี 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออก จำนวน 2 ราย (ข้อมูลจากศูนย์สุขภาพชุมชนเมืองศาลาประชาคม) จากผลการสำรวจค่าดัชนีลูกน้ำยุงลายตามบ้านจำนวน 250 ครัวเรือน (HI,CI) พบลูกน้ำยุงลาย 52 ครัวเรือน จำนวนภาชนะที่สำรวจ 413 ชิ้นพบลูกน้ำยุงลายจำนวน 86 ชิ้น มีค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (HI,CI) คิดเป็นร้อยละ 13 และ 23 ตามลำดับซึ่งเกินค่ามาตรฐานรวมถึงปัจจุบันพบการระบาดของโรคไข้ปวดข้อยุงลาย หรือโรคชิคุนกุนยามีแนวโน้มการระบาดเพิ่มขึ้นในชุมชนซึ่งทั้งสองโรคนี้มีพาหนะนำโรคเป็นยุงลายเช่นเดียวกัน โดยโรคไข้เลือดออกมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะนำโรคส่วนโรคไข้ปวดข้อยุงลายมียุงลายสวน และยุงลายบ้าน เป็นพาหะนำโรค ส่วนใหญ่พบในเขตพื้นที่ภาคใต้และมีอาการคล้ายคลึงกัน ถึงแม้โรคชิคุนกุนยาจะมีความรุนแรงของโรคน้อยกว่าโรคไข้เลือดออก มีการรักษาตามอาการให้สามารถหายได้เอง แต่อาจจะมีอาการปวดข้อเรื้อรังตามมา ในบางรายอาจปวดนานถึง 2 ปี และในปัจจุบันโรคชิคุนกุนยายังไม่มีวัคซีนป้องกันซึ่งการจะแก้ไขปัญหาไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ให้หมดไปจากชุมชนจำเป็นต้องเสริมสร้างความรู้ให้แก่ประชาชนให้ตระหนักถึงภัยอันตรายของโรคดังกล่าวการดูแลป้องกันตนเองให้ปลอดภัยจากโรค และร่วมกันขจัดต้นตอของปัญหา คือ ยุงลาย โดยร่วมมือ ร่วมแรง ร่วมใจ รวมกันทุกฝ่ายทั้งภาครัฐ และภาคประชาชน ครัวเรือน อสม. กรรมการชุมชน แกนนำในชุมชน ในการร่วมกันทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายในชุมชนอย่างต่อเนื่อง โดยการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนร่วมมือกันทำความสะอาด ปรับปรุงสภาพแวดล้อมของบ้านและชุมชน โดยนำมาตรการป้องกันโรคไข้เลือดออก 5 ป 1 ข มาใช้ ได้แก่ 1.ปิด ปิดภาชนะกักเก็บน้ำ 2. เปลี่ยน เปลี่ยนถ่ายน้ำ ทุก 7 วัน เช่น แจกันดอกไม้ ถังเก็บน้ำสำหรับอาบ 3. ปล่อย ปลาหางนกยูง หรือปลากินลูกน้ำในอ่างบัว หรือที่กักเก็บน้ำที่ไม่มีฝาปิด 4. ปรับปรุง สิ่งแวดล้อมไม่ให้มีน้ำขังในที่ต่าง ๆ 5. ปฏิบัติการดังกล่าวข้างต้นเป็นประจำทุกสัปดาห์ และในช่วงฤดูร้อนต่อช่วงฤดูฝน ต้องเพิ่ม 1 ข คือ ขัดภาชนะที่เคยใช้กักเก็บน้ำก่อนมารองรับน้ำครั้งใหม่
ดังนั้น อสม. ชุมชนเบตงฮูลู จึงได้จัดทำโครงการเบตงฮูลูร่วมใจป้องกันภัยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลาย ประจำปี 2568 เพื่อเผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกเพื่อความครอบคลุมของการรณรงค์กำจัดลูกน้ำยุงลายในชุมชนตามเป้าหมายเพื่อป้องกันและลดอัตราการป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกในชุมชน
- 1. กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไปรายละเอียด
กิจกรรมที่ 1 อบรมเชิงปฏิบัติการให้แก่เยาวชน และประชาชนทั่วไป - ค่าวิทยากรบรรยาย 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คน x 1 มื้อ x 75 บาท เป็นเงิน 7,500 บาท - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คน x 2 มื้อ x 35 บาท เป็นเงิน 7,000 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 1 ผืน เป็นเงิน 1,125 บาท - ค่าวัสดุอุปกรณ์ประกอบการอบรม (เอกสารแนบท้าย) เป็นเงิน 9,306 บาท - ค่าเข้ารูปเล่มสรุปผลการดำเนินงาน จำนวน 2 ชุด เป็นเงิน 300 บาท - ค่าเช่าสถานที่ 1 วัน เป็นเงิน 2,000 บาท
งบประมาณ 30,831.00 บาท - 2. กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมส่งเสริมการใช้สมุนไพรป้องกันยุงกัด “สวนสมุนไพรไล่ยุง”รายละเอียด
- ค่าจัดซื้อต้นกล้าสมุนไพรไล่ยุง เช่น ต้นตะไคร้ ต้นโหระพา ต้นมะกรูด ฯลฯ เป็นเงิน 1,000 บาท
งบประมาณ 1,000.00 บาท - 3. กิจกรรมที่ 3 รณรงค์ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ลูกน้ำยุงลายรายละเอียด
ค่าสื่อประชาสัมพันธ์ - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 0.90 x 2.4 เมตร จำนวน 5 ผืน
ผืนละ 540 บาท เป็นเงิน 2,700 บาท - ค่าป้ายไวนิลโครงการ ขนาด 1.5 x 3 เมตร จำนวน 2 ผืน
ผืนละ 1,125 บาท เป็นเงิน 2,250 บาท - ค่าโฟมบอร์ดสื่อประชาสัมพันธ์ 10 ชุด ชุดละ 250 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่าแผ่นพับสี จำนวน 300 แผ่น แผ่นละ 5 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท - ค่าทรายกำจัดลูกน้ำยุงลาย จำนวน 1 ถังๆละ 2,500 บาท เป็นเงิน 2,500 บาท - ค่ายากันยุงชนิดสเปรย์ ขนาด 300 ซีซี จำนวน 4 โหล โหลละ 850 บาท เป็นเงิน 3,400 บาทงบประมาณ 14,850.00 บาท
ตั้งแต่ วันที่ 1 มกราคม 2568 ถึง 31 พฤษภาคม 2568
ชุมชนเบตงฮูลู
รวมงบประมาณโครงการ 46,681.00 บาท
1.ผู้เข้าร่วมโครงการมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายตระหนักถึงพิษภัยของโรคและสามารถป้องกันโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลายได้อย่างถูกวิธี 2. ผู้เข้าร่วมโครงการ ประชาชนในชุมชนเกิดพฤติกรรมในการสำรวจและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย และกำจัดลูกน้ำยุงลายในครัวเรือนและชุมชนอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอจนเป็นวิถีชีวิต 3.ผู้ป่วยโรคไข้เลือดออกและโรคไข้ปวดข้อยุงลสยในชุมชนลดลง 4.ชุมชนเกิดความเข้มแข็งและมีศักยภาพในการดำเนินงานแก้ไขปัญหาสาธารณสุขในพื้นที่
ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้
- check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
- check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
- check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ
(............................................................)
ตำแหน่ง ............................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ
(...........................................................)
ตำแหน่ง ...............................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................
แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลเมืองเบตง รหัส กปท. L7161
อำเภอเบตง จังหวัดยะลา
ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้
(....................................................................)
ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม
วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................
ตำแหน่ง ....................................................................
วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................