กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการโรงเรียนพ่อแม่ ประจำปีงบประมาณ 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

1.นายมะกอเซ็งเจะแต
2.นางสาวมาวาตี สะมะแอ
3.นางสาวนูรฮายาตี มัณฑนาพร
4.นางสาวโรสนาณี แวกาจิ
5.นายซูเปียน มะมิง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก , แผนงานเด็ก เยาวชน ครอบครัว

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 ร้อยละของหญิงฝากครรภ์ที่สามารถฝากครรภ์ครบ 5 ครั้ง

 

1.00
2 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์

 

1.00
3 ร้อยละของแม่ที่เลี้ยงลูกด้วยนมแม่เป็นระยะเวลา 6 เดือน

 

1.00
4 ร้อยละของหญิงคลอด ที่ได้รับการตรวจและเยี่ยมหลังคลอด

 

1.00
5 ร้อยละของหญิงตั้งครรภ์ ที่ได้รับการคัดกรองและป้องกันโรคทาลัสซีเมีย

 

1.00
6 ร้อยละของหญิงวัยเจริญพันธุ์ ที่มีภาวะซีด

 

1.00

โรงเรียนพ่อเเม่ เป็นบริการของงกระทรวงสาธารณสุขที่มุ่งหวังจะพัฒนาคุณภาพ พ่อแม่ให้มีความพร้อมทางด้านความรู้เจตคติและทักษะในการอบรมเลี้ยงดูเด็กปฐมวัย ตั้งเเต่ เริ่มตั้งครรภ์ และพัฒนาความรู้ และทักษะอย่างต่อเนื่อง โดยเป้าหมายสำคัญคือเด็กปฐมวัย ทุกคนมีพัฒนาการสมวัยทั้งร่างกายและอารมณ์ เนื่องจากระยะตั้งครรภ์เป็นจุดเริ่มต้นที่มีความสำคัญสำหรับการให้กำเนิดทารกให้มีความสมบูรณ์ทั้งด้านร่างกายและสติปัญญา แม้ว่าการตั้งครรภ์ของสตรีจะเป็นภาวะที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ แต่เป็นภาวะที่หญิงตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมากทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์และสังคมทำให้หญิงตั้งครรภ์มีความไม่สุขสบายและมีความวิตกกังวลดังนั้นจึงจำเป็นที่หญิงตั้งครรภ์ต้องเรียนรู้เกี่ยวกับการดูเเลตนเองและทารกในครรภ์การเปลี่ยนแปลงของร่างกายตั้งเเต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด เพื่อป้องกันการเกิดปัญหาในทุกระยะในการตั้งครรภ์ นอกจากหญิงตั้งครรภ์ จะต้องมีความเข้าใจ เรื่อง สภาวะที่เปลี่ยนไปของร่างกายตนเองแล้ว สามีและบุคคลในครอบครัว ควรจะมีความเข้าใจ และช่วยเหลือ ดูเเลหญิงตั้งครรภ์ และทารกด้วย
จากผลการดำเนินงานอนามัยแม่และเด็กของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย ปี 2567 พบว่าหญิงตั้งครรภ์ 61ราย มีภาวะซีด5ราย คิดเป็นร้อยละ 8.20 น้อยลง (ปี 2566 10.12)(เกณฑ์เป้าหมายกำหนดไม่เกินร้อยละ10) การตรวจพัฒนาการ ในเด็ก 0-5 ปี พบสงสัยพัฒนาการล่าช้า จำนวน 11 คน พัฒนาการของเด็กนั้น จำเป็นจะต้องช่วยกันกระตุ้นและส่งเสริม จากมารดา และผู้ใกล้ชิด จากข้อมูลดั่งกล่าวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลปุโละปุโย จึงได้จัดทำโครงการ โรงเรียน พ่อเเม่ ปี 2567 ขึ้น เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์ สามีและญาติ ที่คาดว่าจะมีบุตรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดูแล หญิงตั้งครรภ์ระยะตั้งครรภ์ ระยะหลังคลอดส่งเสริมให้มารดาหลังคลอด มีภาวะโภชนาการที่ดี ส่งเสริมการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ และระยะที่พ่อแม่นำเด็กมารับบริการที่คลินิกสุขภาพเด็กดีตั้งเเต่เเรกเกิดที่ถูกต้องอันจะส่งผลให้ทารกแรกเกิดมีสุขภาพอนามัยที่ดี มีพัฒนาการสมวัยซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติต่อไป

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 วัตถุประสงค์ ข้อที่ 1 เพื่อหญิงวัยเจริญพันธ์มีความพร้อมในการตั้งครรภ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ขณะตั้งครรภ์

1.ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนขณะตั้งครรภ์ 2.หญิงวัยเจริญพันธ์มีความรู้ในการดูแลตัวเอง ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80

1.00 1.00
2 ข้อที่ 2 เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลสุขภาพขณะตั้งครรภ์ตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่
  1. หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวได้รับการอบรมตามหลักสูตรโรงเรียนพ่อแม่ครบ ร้อยละ 100
1.00 1.00
3 ข้อที่ 3 เพื่อหญิงตั้งครรภ์มีน้ำหนักขึ้นปกติตามเกณฑ์
  1. ทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2500 กรัม ไม่เกินร้อยละ 10
1.00 1.00
4 ข้อที่ 4 เพื่อหญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์และไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนหลังคลอด
  1. ได้รับการเยี่ยมหลังคลอด ร้อยละ 100 .ได้รับการส่งเสริมสุขภาพหลังคลอด ร้อยละ 100
1.00 1.00
5 ข้อที่ 5 เพื่อหญิงตั้งครรภ์คลอดที่สถานบริการ
  1. ได้รับการคลอดที่สถานบริการ ร้อยละ 90
1.00 1.00
6 ข้อที่ 6 เพื่อหญิงหลังคลอดมีการวางแผนครอบครัว
  1. ได้รับการวางแผนครอบครัวหลังคลอด ร้อยละ 70
1.00 1.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน 65
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด 50
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง 100
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]
กลุ่มเป้าหมายจำแนกเพิ่มเติม
ผู้ดูแล 50

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.1 รณรงค์ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่

ชื่อกิจกรรม
1.1 รณรงค์ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าป้ายโครงการ ขนาด 1.2 × 3 m ราคาป้ายละ 720 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ค้นหาหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ขนาด 1.2 × 3 m ราคาป้ายละ 720 บาทจำนวน 5 ป้าย รวมเป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าป้ายประชาสัมพันธ์รณรงค์ให้หญิงตั้งครรภ์คลอดโรงพยาบาลขนาด 1.2 × 3 m ราคาป้ายละ 720 บาท จำนวน 5 ป้าย จำนวนรวมเป็นเงิน 3,600 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 7,920 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
7920.00

กิจกรรมที่ 2 2.1 อบรมหญิงหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และอสม. เรื่องการวางแผนครอบครัวและการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมาย 250 คน โดยแบ่งเป็น 5 หมู่2.2 อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์2.3 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีจำนวน 2 ครั้งคือก่อนอายุครรภ์น้อยกว่า 2

ชื่อกิจกรรม
2.1 อบรมหญิงหญิงวัยเจริญพันธุ์ หญิงตั้งครรภ์และอสม. เรื่องการวางแผนครอบครัวและการฝากครรภ์ก่อน 12 สัปดาห์ กลุ่มเป้าหมาย 250 คน โดยแบ่งเป็น 5 หมู่2.2 อบรมหญิงวัยเจริญพันธุ์2.3 อบรมให้ความรู้หญิงตั้งครรภ์และสามีจำนวน 2 ครั้งคือก่อนอายุครรภ์น้อยกว่า 2
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

-ค่าวิทยากรในการอบรมจำนวน 6 ชั่วโมง ×ชั่วโมงละ 600 บาท×จำนวน 1 คน×จำนวน 5 วัน
รวมเป็นเงิน 18,000 บาท -ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 1 มื้อ × มื้อละ 60 บาท×จำนวน 50 คน×จำนวน 5 วันรวมเป็นเงิน 15,000 บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อ×มื้อละ 30 บาท × จำนวน 50 คน×จำนวน 5 วัน รวมเป็นเงิน 15,000 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรม เช่น กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี กระดาษA4สมุดปกแข็งปากกา จำนวน 1,200 บาท x 5 หมู่ รวมเป็นเงิน 6,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 54,000 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
54000.00

กิจกรรมที่ 3 3.1 อบรม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุโละปุโย โดยให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้คลอดที่โรงพยาบาล

ชื่อกิจกรรม
3.1 อบรม อาสาสมัครสาธารณสุขตำบลปุโละปุโย โดยให้ความรู้เรื่องการวางแผนครอบครัวความรู้เรื่องการฝากครรภ์คุณภาพ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ให้คลอดที่โรงพยาบาล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าอาหารกลางวันจำนวน 1 มื้อ x มื้อละ 60 บาท x จำนวน 65 คน รวมเป็นเงิน 3,900บาท -ค่าอาหารว่างจำนวน 2 มื้อxมื้อละ 30 บาท จำนวน 65 คน รวมเป็นเงิน 3,900 บาท -ค่าวิทยากรในการอบรมจำนวน 6 ชั่วโมง x ชั่วโมงละ 600 บาท x จำนวน 1 คน รวมเป็นเงิน 3,600 บาท -ค่าวัสดุอุปกรณ์ใช้ในการอบรม เช่น กระดาษชาร์ท ปากกาเคมี กระดาษA4สมุดปกแข็งปากกา จำนวน 1,680 บาทรวมเป็นเงิน 1,680 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 13,080 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
ถึง
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
13080.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 75,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1.หญิงตั้งครรภ์รายใหม่มาฝากครรภ์ก่อนอายุครรภ์น้อยกว่า 12 สัปดาห์ ร้อยละ 60
2.หญิงตั้งครรภ์มีภาวะโภชนาการที่ดี ร้อยละ 60
3.ทารกแรกเกิดน้ำหนักผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 70
4.หญิงตั้งครรภ์และครอบครัวมีความรู้ในการดูแลด้านโภชนาการในตนเองและทารก ร้อยละ 70
5.หญิงตั้งครรภ์คลอดในสถานบริการ ร้อยละ 90
6.หญิงหลังคลอดได้รับการเยี่ยมตามเกณฑ์ ร้อยละ 100


>