กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในวัยเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.ปุโละปุโย

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

1. นางฮานีซะ แวสอเฮาะ
2. นางสาวรอซีดะห์วะตะกี
3. นางสาวซากียะห์ แวดาโอะ
4. นางสาวอามีเนาะ ลีเยาะบิง
5. นางสาวฟาตีฮะ บือราเฮง

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานอนามัยแม่และเด็ก

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด
1 เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด

 

59.46
2 เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด

 

51.92
3 เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด

 

46.88
4 เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด

 

46.67

การสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค หรือการให้วัคซีน ทำให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกัน ความต้านทานเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรค ทำให้โรคมีความรุนแรงน้อยลง วัคซีนทำหน้าที่เสมือนเป็นสิ่งกระตุ้นให้ร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันไว้เป็นเครื่องป้องกันให้ร่างกายต่อสู้กับเชื้อโรคบางชนิดได้ไม่ว่าจะเป็นเชื้อไวรัสหรือแบคทีเรีย การให้วัคซีนเป็นวิธีการหนึ่งในการสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง ซึ่งมีความคุ้มค่ากว่าการให้การรักษาโรคเมื่อมีการติดเชื้อหรือเป็นโรคแล้ว ปัจจุบันการให้วัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี สามารถป้องกันโรคต่างๆ เช่น โรควัณโรค โรคตับอักเสบบีโรคคอตีบ ไอกรน บาดทะยัก โปลิโอ โรคหัด และไข้สมองอักเสบ หากไม่ได้รับวัคซีนจะทำให้เกิดผลกระทบต่อตนเองในเรื่องความเสี่ยงของการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ส่วนผู้ปกครองเด็กก็จะมีผลกระทบในเรื่องรายได้ที่ต้องสูญเสียไปจากการที่ไม่สามารถประกอบอาชีพ เมื่อต้องดูแลบุตรที่เข้ารับการรักษาด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในโรงพยาบาล รวมถึงงบประมาณของสถานบริการสาธารณสุขในส่วนของยา และเวชภัณฑ์ที่ต้องใช้ไปในการดูแลรักษาผู้ป่วยแต่ละคนที่เพิ่มสูงขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อสังคมเมื่อเกิดการแพร่กระจายของเชื้อโรคในพื้นที่ระบาด
ข้อมูลผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก ๐-๕ ปี ของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ปีงบประมาณ 2567 พบว่า ในกลุ่มเด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 59.46 , เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 51.92 , เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 46.88 , เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิด คิดเป็นอัตราร้อยละ 46.67 (ข้อมูลจาก HDC ประจำเดือนตุลาคม 2567.) เกณฑ์มาตรฐานของการได้รับวัคซีนครบชุดตามเกณฑ์อายุกำหนดไว้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 จากข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นชัดเจนว่าการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคในเด็ก 0-5 ปี บ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี เป็นหนึ่งในปัญหาสาธารณสุขที่จะต้องได้รับการแก้ไขอย่างเร่งด่วน ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานอัตราป่วยตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนในพื้นที่ แต่พบว่าในพื้นที่ใกล้เคียง ได้เกิดการระบาดของโรคคอตีบ และโรคหัด สาเหตุ และปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ผลการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี ไม่เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนดที่ค้นพบจากการทำประชาคมสุขภาพในพื้นที่ คือ ขาดความต่อเนื่องของการติดตามเยี่ยมบ้านกลุ่มเป้าหมายวัคซีนในเด็ก ๐-๕ ปี ไม่มีเวทีให้ชุมชนได้แสดงความคิดเห็น และเสนอแนะแนวทางแก้ปัญหาการดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ดังนั้น กลวิธีการดำเนินงานสำหรับใช้แก้ปัญหาตามเหตุ และปัจจัยที่พบในครั้งนี้ คือ การใช้หลักการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในพื้นที่ โดยเฉพาะอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน ซึ่งถือว่าเป็นทรัพยากรบุคคลทางสาธารณสุขที่มีความสำคัญยิ่งที่อยู่ในพื้นที่ใกล้ชิดประชากรเป้าหมายที่สุด รวมถึงผู้นำศาสนาก็เป็นอีกภาคีเครือข่ายหนึ่งที่ไม่ควรมองข้ามเพราะเป็นผู้ดูแลเด็กโดยตรง และนำแนวคิดหรือทฤษฎีการสร้างแรงจูงใจต่อภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานมาเสริมความเป็นบุคคลจิตอาสาของภาคีเครือข่ายที่มีอยู่แล้วเป็นทุนเดิมให้มีขวัญและกำลังใจเพิ่มมากขึ้น
ดังนั้น เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าว โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านท่ากูโบ ตำบลปุโละปุโย อำเภอหนองจิก จังหวัดปัตตานี จึงได้จัดทำโครงการส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม เมื่อดำเนินการแล้วคาดว่าจะทำให้การดำเนินงานสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีความครอบคลุมมากยิ่งขึ้น และจะส่งผลทำให้ไม่มีอัตราป่วย หรืออัตราตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 1. เพื่อเพิ่มความครอบคลุมการได้รับวัคซีนสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค 0-5 ปี
  1. เด็กอายุครบ 1 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 70 2.เด็กอายุครบ 2 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 70 3.เด็กอายุครบ 3 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 70 4.เด็กอายุครบ 5 ปี ได้รับวัคซีนครบทุกชนิดคิดเป็นอัตราร้อยละ 70
0.00 70.00
2 2. เพื่อลดอัตราป่วยและตายด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนลดลง
0.00 0.00
3 3. เพื่อให้ผู้ปกครองเด็ก 0-5 ปี ได้รับความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
  1. ผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน
0.00
4 4. เพื่อพัฒนาศักยภาพแกนนำ ให้มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสามารถดูแลอาการข้างเคียงหลังจากเด็กได้รับวัคซีน
  1. แกนนำ มีความรู้ความเข้าใจ ตระหนักถึงโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีน และสามารถดูแลอาการข้างเคียงหลังจากเด็กได้รับวัคซีน
0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 1.จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล

ชื่อกิจกรรม
1.จัดทำโครงการเพื่อเสนออนุมัติโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพตำบล
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 2 2. ประชุมเครือข่ายชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการ และคืนข้อมูลปัญหาเรื่องการได้รับวัคซีนไม่ต่อเนื่องของเด็กอายุ 0-5 ปี ให้เครือข่ายชุมชนรับทราบ

ชื่อกิจกรรม
2. ประชุมเครือข่ายชุมชน เพื่อชี้แจงโครงการ และคืนข้อมูลปัญหาเรื่องการได้รับวัคซีนไม่ต่อเนื่องของเด็กอายุ 0-5 ปี ให้เครือข่ายชุมชนรับทราบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

ชี้แจงโครงการ และคืนข้อมูลปัญหาเรื่องการได้รับวัคซีนไม่ต่อเนื่องของเด็กอายุ 0-5 ปีให้เครือข่ายชุมชนรับทราบ พร้อมค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาเรื่องวัคซีนร่วมกัน - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 27 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 1,890 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 27 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 1,620 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

เครือข่ายชุมชนรับทราบปัญหาเรื่องการได้รับวัคซีนไม่ต่อเนื่องของเด็กอายุ0-5ปี พร้อมค้นหาแนวทางในการแก้ปัญหาร่วมกัน

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3510.00

กิจกรรมที่ 3 3.สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์/ล่าช้า

ชื่อกิจกรรม
3.สำรวจและจัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์/ล่าช้า
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.สำรวจรายชื่อเด็กในพื้นที่ๆได้รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์ 2.จัดทำทะเบียนกลุ่มเป้าหมายเด็กอายุ 0-5 ปี ที่มารับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์/ล่าช้า

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

มีทะเบียนติดตามเด็กที่รับวัคซีนไม่ครบตามเกณฑ์

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 4 4.จัดทำป้ายไวนิลโครงการ ส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม

ชื่อกิจกรรม
4.จัดทำป้ายไวนิลโครงการ ส่งเสริมการได้รับวัคซีนในเด็ก 0-5 ปี ครบตามเกณฑ์ โดยชุมชนมีส่วนร่วม
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ
  • ค่าป้ายโครงการฯ ขนาด 1.2x3 เมตร จำวนว 1 ผืน เป็นเงิน 720 บาท
  • ค่าวัสดุอุปกรณ์ในการทำสื่อ/ทำกิจกรรมตลอดโครงการ เป็นเงิน 810 บาท
ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1530.00

กิจกรรมที่ 5 5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้เรื่องวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้แก่ อสม. และผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี

ชื่อกิจกรรม
5. ประชุมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ให้ความรู้เรื่องวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้แก่ อสม. และผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.ประชุมให้ความรู้เรื่องวัคซีนและโรคที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีนให้แก่ อสม. และผู้ปกครองเด็กอายุ 0-5 ปี 2.กิจกรรมเข้ากลุ่ม สาธิตวิธีการเช็ตตัวลดไข้ที่ถูกวิธี เมื่อบุตรมีอาการไข้หลังได้รับวัคซีน
โดยจัดเป็น 2 รุ่น
- รุ่นที่ 1 จำนวน 61 คน - รุ่นที่ 2 จำนวน 61 คน รุ่นที่ 1 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 61 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 4,270 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 61 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,660 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท รุ่นที่ 2 - ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 61 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อเป็นเงิน 4,270 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 61 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 3,660 บาท - ค่าวิทยากร จำนวน 6 ชั่วโมง ชั่วโมงละ 600 บาท เป็นเงิน 3,600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
23060.00

กิจกรรมที่ 6 6. พัฒนาระบบติดตามให้มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
6. พัฒนาระบบติดตามให้มีคุณภาพ และมีความต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.อสม.ติดตามและนำส่งเด็กอายุ 0-5 ปี มารับวัคซีนที่รพ.สต.และอสม.ติดตามดูแลอาการข้างเคียงหลังจากเด็กได้รับวัคซีน เพื่อลดความกังวลให้กับผู้ปกครองเด็ก 2. ติดตามการรับวัคซีน กรณีเด็กที่รับวัคซีนไม่ต่อเนื่อง เจ้าหน้าที่จะมีการติดตามทางโทรศัพท์ก่อนวันนัด1-2 วัน 3.ติดตามเยี่ยมบ้านแบบองค์รวม โดยทีมเครือข่ายชุมชน กรณีที่ผู้ปกครองปฏิเสธการรับวัคซีนของบุตร

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 31 ตุลาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
0.00

กิจกรรมที่ 7 7. กิจกรรมจัดเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนครบและผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนไม่ครบ

ชื่อกิจกรรม
7. กิจกรรมจัดเวทีถอดบทเรียนและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนครบและผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนไม่ครบ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

1.เข้ากลุ่มแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนครบและผู้ปกครองที่บุตรฉีดวัคซีนไม่ครบ
- ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 80 คนๆละ 35 บาท จำนวน 2 มื้อ เป็นเงิน 5,600 บาท - ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 80 คนๆละ 60 บาท จำนวน 1 มื้อ เป็นเงิน 4,800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
10400.00

กิจกรรมที่ 8 8.กิจกรรมมอบประกาศนียบัตร “เด็กดีต้นแบบ รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ”

ชื่อกิจกรรม
8.กิจกรรมมอบประกาศนียบัตร “เด็กดีต้นแบบ รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ”
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

มอบประกาศนียบัตร “เด็กดีต้นแบบ รับวัคซีนครบตามเกณฑ์อายุ” แก่ผู้ปกครองและเด็กที่รับวัคซีนครบตามเกณฑ์

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 มกราคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
1500.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 40,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?


>