กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านตะโหมด ปี 2568

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านตะโหมด ปี 2568

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลตะโหมด

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานโรคเรื้อรัง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดภาระโลกและการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศไทยผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมดมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังแยกเป็นรายโรค โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวนทั้งหมด 543 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 231 คน มีภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 19 ราย (ร้อยละ 0.63) เสียชีวิต 5 ราย (ร้อยละ 0.16) มีความพิการต้องได้รับการฟื้นฟูและดูแลต่อเนื่อง จำนวน 14 ราย (ร้อยละ 0.46) การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญของประชาชนทุกช่วงวัยทั้งในภาวะสุขภาพดีและเจ็บป่วยซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางสุขภาพ หากประชาชนได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพก็จะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ส่งผลให้เจ็บป่วยและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยลง ซึ่งหากบุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงจะสามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ และสามารถใช้ข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยตนเองได้ ดังนั้น การพัฒนาโครงการนี้จึงมีความสำคัญในการสนับสนุนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ผู้ป่วยสามารถจัดการความเสี่ยงของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพการป้องก้นโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งเสริมการเฝ้าระวังและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี
1 เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยเสี่ยง

อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเป้าหมายลดลง ร้อยละ 5

0.00
2 เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง

ร้อยละการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น  ร้อยละ 80

0.00
3 เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแก่ผู้ป่วยและครอบครัว

ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80

0.00
4 เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง

การควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิต ควบคุมได้ ร้อยละ 60 ระดับน้ำตาลในเลือดคุมได้ ร้อยละ 40

0.00

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง 207
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/02/2025

กำหนดเสร็จ 30/04/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยโรคเบาหวานความดันโลหิตสูงที่รับยาใน รพ.สต. จำนวน 207 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 207 คนๆ ละ1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5175 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
21 กุมภาพันธ์ 2568 ถึง 28 กุมภาพันธ์ 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
5175.00

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมการอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมการอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

กลุ่มเป้าหมาย ผู้ป่วยที่มีการคัดกรองความเสี่ยงพบความเสี่ยงที่ต้องเฝ้าระวัง คาดประมาณ จำนวน 50 คน แกนนำสุขภาพ อสม.และผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 50 คน ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 100 คนๆ ละ 2 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 5000 บาท ค่าอาหารกลางวัน จำนวน 100 คนๆ ละ 70 บาท เป็นเงิน 7000 บาท ค่าวิทยากรจำนวน 6 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท เป็นเงิน 3600 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
19 มีนาคม 2568 ถึง 19 มีนาคม 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
15600.00

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมติดตามและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง

ชื่อกิจกรรม
กิจกรรมติดตามและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

แกนนำสุขภาพ อสม. และผู้ดูแลผู้ป่วย จำนวน 50 คน
ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่ม จำนวน 50 คนๆ ละ 1 มื้อๆ ละ 25 บาท เป็นเงิน 1250 บาท ค่าวิทยากร จำนวน 3 ชั่วโมงๆ ละ 600 บาท  เป็นเงิน 1800 บาท

ระยะเวลาดำเนินงาน
2 เมษายน 2568 ถึง 2 เมษายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
3050.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 23,825.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

1ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ
2ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม
3ลออัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ดำเนินโครงการ
4ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การออกกลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการควบคุมความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และไขมัน


>