โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านตะโหมด ปี 2568
ชื่อโครงการ | โครงการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง รพ.สต.บ้านตะโหมด ปี 2568 |
รหัสโครงการ | |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 1 สนับสนุนการจัดบริการสาธารณสุขของ หน่วยบริการ/สถานบริการ/หน่วยงานสาธารณสุข |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | หน่วยบริการหรือสถานบริการสาธารณสุข เช่น รพ.สต. |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมด |
วันที่อนุมัติ | 24 ธันวาคม 2567 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 กุมภาพันธ์ 2568 - 30 เมษายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 30 เมษายน 2568 |
งบประมาณ | 23,825.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางจารี คุ่มเคี่ยม |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ | ||
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง | 207 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง : |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
โรคหลอดเลือดสมอง(Stroke) เป็นหนึ่งในสาเหตุสำคัญที่ทำให้เกิดความพิการและการเสียชีวิตทั่วโลก โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีโรคเรื้อรัง เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคหัวใจ ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การป้องกันและเฝ้าระวังความเสี่ยงของโรคนี้จึงมีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดภาระโลกและการสูญเสียทางเศรษฐกิจและสังคม ในประเทศไทยผู้ป่วยโรคเรื้อรังมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งส่งผลให้มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง ปัจจุบันโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านตะโหมดมีผู้ป่วยโรคเรื้อรังแยกเป็นรายโรค โดยมีผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจำนวนทั้งหมด 543 คน ผู้ป่วยโรคเบาหวานจำนวน 231 คน มีภาวะแทรกซ้อนโรคหลอดเลือดสมอง จำนวน 19 ราย (ร้อยละ 0.63) เสียชีวิต 5 ราย (ร้อยละ 0.16) มีความพิการต้องได้รับการฟื้นฟูและดูแลต่อเนื่อง จำนวน 14 ราย (ร้อยละ 0.46) การสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพ เป็นปัจจัยสำคัญของประชาชนทุกช่วงวัยทั้งในภาวะสุขภาพดีและเจ็บป่วยซึ่งส่งผลต่อการปฏิบัติพฤติกรรมสุขภาพ และผลลัพธ์ทางสุขภาพ หากประชาชนได้รับการพัฒนาความรอบรู้ด้านสุขภาพก็จะมีพฤติกรรมการดูแลตนเองที่ดีขึ้น ส่งผลให้เจ็บป่วยและเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาน้อยลง ซึ่งหากบุคคลมีความรอบรู้ด้านสุขภาพสูงจะสามารถเข้าใจข้อมูลต่างๆ และสามารถใช้ข้อมูลในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เหมาะสมด้วยตนเองได้ ดังนั้น การพัฒนาโครงการนี้จึงมีความสำคัญในการสนับสนุนการสร้างความรอบรู้ด้านสุขภาพเพื่อเฝ้าระวังและป้องกันโรคหลอดเลือดในสมอง โดยเป้าหมายสูงสุดคือ ผู้ป่วยสามารถจัดการความเสี่ยงของตนเองได้อย่างมีประสิทธิภาพการป้องก้นโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ส่งเสริมการเฝ้าระวังและติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะนำไปสู่การลดอัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยรวมถึงลดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในระยะยาว
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อเฝ้าระวังและป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยเสี่ยง อัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเป้าหมายลดลง ร้อยละ 5 |
0.00 | |
2 | เพื่อส่งเสริมให้ผู้ป่วยโรคเรื้อรังได้รับการตรวจคัดกรองปัจจัยเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมองอย่างต่อเนื่อง ร้อยละการเข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 |
0.00 | |
3 | เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการควบคุมปัจจัยเสี่ยงของโรคหลอดเลือดสมองแก่ผู้ป่วยและครอบครัว ความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มเป้าหมายเพิ่มขึ้น ร้อยละ 80 |
0.00 | |
4 | เพื่อส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพของผู้ป่วยโรคเรื้อรัง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือดสมอง การควบคุมปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิต ควบคุมได้ ร้อยละ 60 ระดับน้ำตาลในเลือดคุมได้ ร้อยละ 40 |
0.00 |
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
คงเหลือ (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 23,825.00 | 0 | 0.00 | 23,825.00 | |
21 - 28 ก.พ. 68 | กิจกรรมตรวจคัดกรองและประเมินความเสี่ยงโรคหลอดเลือดสมอง | 0 | 5,175.00 | - | - | ||
19 มี.ค. 68 | กิจกรรมการอบรมและให้ความรู้แก่ผู้ป่วย | 0 | 15,600.00 | - | - | ||
2 เม.ย. 68 | กิจกรรมติดตามและให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง | 0 | 3,050.00 | - | - | ||
รวมทั้งสิ้น | 0 | 23,825.00 | 0 | 0.00 | 23,825.00 |
1ผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดสมองได้รับการตรวจคัดกรองอย่างสม่ำเสมอ 2ผู้ป่วยและครอบครัวมีความรู้และทักษะในการป้องกันโรคหลอดเลือดสมองและสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงได้อย่างเหมาะสม 3ลออัตราการเกิดโรคหลอดเลือดสมองในกลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรังในพื้นที่ดำเนินโครงการ 4ผู้ป่วยมีพฤติกรรมสุขภาพที่ดีขึ้น เช่น การออกกลังกาย การรับประทานอาหารที่เหมาะสม และการควบคุมความดันโลหิต น้ำตาลในเลือด และไขมัน
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 24 ธ.ค. 2567 00:00 น.