กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบฟอร์มพัฒนาโครงการ กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการสถานีสะตารักษ์สุขภาพ ( Sata Health Station )

ชื่อโครงการควรสั้น กระชับ เข้าใจง่าย และสื่อสาระของสิ่งที่จะทำอย่างชัดเจน ควรจะระบุชื่อชุมชนในชื่อโครงการเพื่อความสะดวกในการค้นหา

กองทุนสุขภาพตำบล อบต.กอลำ

ม.4-ม.5

2. ความสอดคล้องกับแผนงาน

แผนงานกลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีความเสี่ยง

3. สถานการณ์

สถานการณ์ปัญหาขนาด

กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ความแข็งแรง ให้ประชาชนมีพลังในการดำเนินชีวิตและใช้ความเข้มแข็งทาง ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายมุ่งเน้นประเด็นที่ ๖ การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ โดย “หลักการ ๓ หมอ” และใช้ระบบ Smart อสม. เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการเพิ่มความครอบคลุมการดูแลสุขภาพปฐมภูมิที่บ้านและชุมชน ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งรวมพลังสร้างสุขภาพดีประชาชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวให้แข็งแรง ส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ในการร่วมสร้างสุขภาพคนไทยทุกกลุ่มวัยให้แข็งแรง
การจัดการสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับบุคคล และมีข้อมูลระดับชุมชนเพื่อการตัดสินใจ ในการจัดสรรทรัพยากรหรือกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีในการจัดการปัญหาโรคและภัยสุขภาพ การส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสมตามวัย จะเป็นการช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งมีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องลดความแออัดของโรงพยาบาล ประชาชนแข็งแรงสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นที่บ้านสะตา ตำบลกอลำ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ ๓,๕๓๒ คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน ๓๕ คน เป็นกลุ่มองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตำบลที่สามารถให้บริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนได้ทันท่วงที ให้ความช่วยเหลืองานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึง และทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่ อสม.ดำเนินการในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กิจกรรมคัดกรองโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปีวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด การดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน การนัดให้ไปรับบริการต่างๆ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็ต้องมีอุปกรณ์ ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด สายวัดรอบเอว หรืออื่น ๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกัน ความพร้อมของอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอ ในการให้บริการประชาชน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านสะตา ตำบลกอลำ จึงได้จัดทำโครงการสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station)เสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อจัดตั้งสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station)พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข และ ประชาชนมีความสะดวกในการรับการคัดกรองบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นพร้อมให้คำปรึกษา การส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะเข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น โดยที่บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องไปรับบริการที่รพ.สต. เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการได้อีกด้วย

ระบุสถานการณ์ หลักการและเหตุผล หรือ ที่มาของการทำโครงการ เพิ่มเติม

4. วัตถุประสงค์และตัวชี้วัด

  • บอกจุดมุ่งหมายในการดำเนินงานโครงการ และสิ่งที่ต้องการให้เกิดผลจากการดำเนินงานโครงการ วัตถุประสงค์นี้จะต้อง เฉพาะเจาะจง วัดได้จริง แสดงโอกาสที่จะเกิดผลสำเร็จ สอดคล้องกับหลักการและเหตุผล ในระยะเวลาที่กำหนด
  • ตัวชี้วัด ให้ระบุความชัดเจนว่า เมื่อดำเนินการตามโครงการเสร็จแล้ว จะเกิดการเปลี่ยนแปลงหรือบรรลุผลสำเร็จอะไรบ้างและมากน้อยเพียงใด และควรแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงเป็นรูปธรรมวัดผลได้ และระบุตัวชี้วัดความสำเร็จของโครงการทั้งในระดับผลผลิตและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์
วัตถุประสงค์ / ตัวชี้วัดความสำเร็จขนาดเป้าหมาย 1 ปี

๓.๑ เพื่อจัดจัดตั้งสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station)พร้อมเครื่องมือตรวจสุขภาพประจำหมู่บ้าน
๓.๒ อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ภายในสถานีสะตารักษ์สุขภาพ(Sata Health Station)รวมถึงการวิเคราะห์ การแปลผล การบันทึกในระบบรายงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
๓.๓ ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้ทันท่วงที สะดวกและ รวดเร็ว

5. กลุ่มเป้าหมาย

กลุ่มเป้าหมายจำนวน(คน)
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย
กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน
กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน
กลุ่มวัยทำงาน
กลุ่มผู้สูงอายุ
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ
กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด
กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง
กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ
กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง
สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)]

6. ระยะเวลาดำเนินงาน

วันเริ่มต้น 01/10/2024

กำหนดเสร็จ 30/09/2025

7. วิธีการดำเนินงาน

  • กิจกรรม แสดงขั้นตอนการทำกิจกรรมและกระบวนการดำเนินงาน เขียนให้ละเอียดว่าจะทำอะไร อย่างไร จึงจะสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่วางไว้ เขียนให้เห็นลำดับเป็นขั้นเป็นตอน
  • งบประมาณ ในแต่ละกิจกรรม ขอให้จำแนกรายการค่าใช้จ่ายต่างๆ โดยละเอียด

กิจกรรมที่ 1 อบรมให้ความรู้การสถานีสะตารักษ์สุขภาพ

ชื่อกิจกรรม
อบรมให้ความรู้การสถานีสะตารักษ์สุขภาพ
รายละเอียดกิจกรรม/งบประมาณ/อื่นๆ

 

ระยะเวลาดำเนินงาน
1 ตุลาคม 2567 ถึง 30 กันยายน 2568
ผลผลิต (Output) / ผลลัพธ์ (Outcome)

 

จำนวนเงินงบประมาณของกิจกรรม (บาท)
45000.00

งบประมาณโครงการ

จำนวนงบประมาณที่ต้องการสนับสนุน จำนวน 45,000.00 บาท

หมายเหตุ :

8. ผลการดำเนินงานที่คาดหวัง

ผลจากการดำเนินโครงการท่านคาดว่าจะเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างไร?

๑๐.๑ สถานีสะตารักษ์สุขภาพมีเครื่องมือตรวจสุขภาพที่จำเป็นครบครัน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น
๑๐.๒ ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงสถานีรักษ์สุขภาพได้ ทำให้เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ทันเวลา สะดวก และรวดเร็ว
๑๐.๓ อาสาสมัครสาธารณสุขจะได้รับการพัฒนาศักยภาพ จะมีอุปกรณ์เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการคัดกรองสุขภาพประชาชน รวมถึงการให้คำแนะนำด้านสุขภาพจิตเสริมสร้างความรอบรู้ เพิ่มความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ
๑๐.๔เครือข่ายสุขภาพในชุมชน สามารถนำข้อมูลการคัดกรอง ใช้ในการวิเคราะห์และการวางแผนด้านการจัดการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่


>