โครงการสถานีสะตารักษ์สุขภาพ ( Sata Health Station )
ชื่อโครงการ | โครงการสถานีสะตารักษ์สุขภาพ ( Sata Health Station ) |
รหัสโครงการ | 68-L3026-02-03 |
ประเภทการสนับสนุน | ประเภท 2 สนับสนุนกิจกรรมสร้างเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคของกลุ่มหรือองค์กรประชาชน/หน่วยงานอื่น |
หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มคน ที่รับผิดชอบโครงการ | กลุ่มหรือองค์กรประชาชน |
ชื่อองค์กรที่รับผิดชอบ | กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขหมู่บ้านสะตา |
วันที่อนุมัติ | 28 มกราคม 2568 |
ระยะเวลาดำเนินโครงการ | 1 ตุลาคม 2567 - 30 กันยายน 2568 |
กำหนดวันส่งรายงาน | 31 ตุลาคม 2568 |
งบประมาณ | 45,000.00 บาท |
ผู้รับผิดชอบโครงการ | นางสาวอามีเนาะ บาเหะ |
พี่เลี้ยงโครงการ | |
พื้นที่ดำเนินการ | ตำบลกอลำ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี |
ละติจูด-ลองจิจูด | place |
งวด | วันที่งวดโครงการ | วันที่งวดรายงาน | งบประมาณ (บาท) | |||
---|---|---|---|---|---|---|
จากวันที่ | ถึงวันที่ | จากวันที่ | ถึงวันที่ | |||
1 | 1 มี.ค. 2568 | 30 ก.ย. 2568 | 45,000.00 | |||
รวมงบประมาณ | 45,000.00 |
(ตามแนบท้ายประกาศคณะอนุกรรมการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคฯ พ.ศ. 2557)
กลุ่มเป้าหมาย | จำนวน(คน) | |
---|---|---|
กลุ่มเป้าหมายจำแนกตามช่วงวัย | ||
กลุ่มวัยทำงาน | 1131 | keyboard_arrow_down |
กิจกรรมหลักตามกลุ่มเป้าหมาย กลุ่มวัยทำงาน : |
||
กลุ่มเป้าหมายจำแนกกลุ่มเฉพาะ |
สถานการณ์ปัญหา | ขนาด |
---|
ความสำคัญของโครงการ สถานการณ์ หลักการและเหตุผล
กระทรวงมหาดไทย และ กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตระดับอำเภอ (พชอ.) เพื่อการขับเคลื่อนเศรษฐกิจฐานราก โดยกระทรวงสาธารณสุข มุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ ความแข็งแรง ให้ประชาชนมีพลังในการดำเนินชีวิตและใช้ความเข้มแข็งทาง ผ่านการขับเคลื่อนนโยบายมุ่งเน้นประเด็นที่ ๖ การพัฒนาระบบการแพทย์ปฐมภูมิ โดย “หลักการ ๓ หมอ” และใช้ระบบ Smart อสม. เป็นเครื่องมือในการดูแลจัดการเพิ่มความครอบคลุมการดูแลสุขภาพปฐมภูมิที่บ้านและชุมชน ส่งเสริมชุมชนเข้มแข็งรวมพลังสร้างสุขภาพดีประชาชนมีส่วนร่วมดูแลสุขภาพตนเองและครอบครัวให้แข็งแรง ส่งเสริมสนับสนุนภาคเอกชน ชุมชน ท้องถิ่น ในการร่วมสร้างสุขภาพคนไทยทุกกลุ่มวัยให้แข็งแรง
การจัดการสุขภาพจำเป็นต้องเกิดขึ้นตั้งแต่ระดับบุคคล และมีข้อมูลระดับชุมชนเพื่อการตัดสินใจ ในการจัดสรรทรัพยากรหรือกำหนดนโยบายที่เอื้อต่อการมีสุขภาวะที่ดีในการจัดการปัญหาโรคและภัยสุขภาพ การส่งเสริมให้ประชาชนดูแลสุขภาพตนเองอย่างเหมาะสมตามวัย จะเป็นการช่วยลดอัตราป่วยและอัตราตายจากโรคที่สามารถป้องกันได้ ซึ่งมีสาเหตุจากการมีพฤติกรรมสุขภาพที่ไม่ถูกต้องลดความแออัดของโรงพยาบาล ประชาชนแข็งแรงสามารถประกอบอาชีพเลี้ยงครอบครัวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
พื้นที่บ้านสะตา ตำบลกอลำ ซึ่งมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ ๓,๕๓๒ คน มีอาสาสมัครสาธารณสุขจำนวน ๓๕ คน เป็นกลุ่มองค์กรที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชนมากที่สุด และเป็นผู้ที่รู้ปัญหาความต้องการของประชาชนในชุมชนได้เป็นอย่างดี เป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในตำบลที่สามารถให้บริการด้านสุขภาพขั้นพื้นฐานแก่ประชาชนได้ทันท่วงที ให้ความช่วยเหลืองานด้านการส่งเสริมสุขภาพ การให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับสุขภาพ พร้อมทั้งกระจายข่าวสารด้านสุขภาพให้แก่ประชาชนในเขตที่ตัวเองรับผิดชอบได้รับทราบ เพื่อให้ประชาชนได้รับบริการที่ทั่วถึง และทันเวลา สำหรับกิจกรรมที่ อสม.ดำเนินการในพื้นที่ ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กิจกรรมคัดกรองโภชนาการเด็ก ๐-๕ ปีวัดความดันโลหิต เจาะเลือดตรวจน้ำตาลในเลือด การดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน การนัดให้ไปรับบริการต่างๆ ฯลฯ ซึ่งในแต่ละกิจกรรมก็ต้องมีอุปกรณ์ ในการให้บริการ เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องตรวจน้ำตาลในเลือด สายวัดรอบเอว หรืออื่น ๆ ที่สนับสนุนการให้บริการ ในขณะเดียวกัน ความพร้อมของอุปกรณ์ดังกล่าว ยังมีไม่เพียงพอ ในการให้บริการประชาชน
ดังนั้น ชมรมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านบ้านสะตา ตำบลกอลำ จึงได้จัดทำโครงการสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station)เสนอต่อกองทุนหลักประกันสุขภาพ เพื่อจัดตั้งสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station)พัฒนาศักยภาพอาสาสมัครสาธารณสุข และ ประชาชนมีความสะดวกในการรับการคัดกรองบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นพร้อมให้คำปรึกษา การส่งเสริมการดูแลสุขภาพจิตเชิงจิตสังคมสู่ระดับชุมชน เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนในการที่จะเข้าถึงบริการในกรณีที่จำเป็น โดยที่บางครั้งไม่จำเป็นที่จะต้องไปรับบริการที่รพ.สต. เป็นการประหยัดเวลา และค่าใช้จ่ายให้กับผู้รับบริการได้อีกด้วย
วัตถุประสงค์/ตัวชี้วัดความสำเร็จ | ขนาดปัญหา | เป้าหมาย 1 ปี | |
---|---|---|---|
1 | เพื่อจัดจัดตั้งสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station) พร้อมเครื่องมือตรวจสุขภาพประจำหมู่บ้าน
|
||
2 | ประชาชนสามารถเข้าถึงการตรวจสุขภาพเบื้องต้น ได้ทันท่วงที สะดวกและ รวดเร็ว
|
||
3 | อาสาสมัครสาธารณสุขได้รับการฝึกอบรมเกี่ยวกับการใช้อุปกรณ์ภายในสถานีสะตารักษ์สุขภาพ (Sata Health Station) รวมถึงการวิเคราะห์ การแปลผล การบันทึกในระบบรายงานได้อย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ
|
hourglass_emptyไม่มีกลุ่มกิจกรรม | กลุ่มเป้าหมาย (คน) |
งบกิจกรรม (บาท) |
ทำแล้ว |
ใช้จ่ายแล้ว (บาท) |
||
วันที่ | กิจกรรม | 0 | 45,000.00 | 0 | 0.00 | |
1 ต.ค. 67 - 30 ก.ย. 68 | อบรมให้ความรู้การสถานีสะตารักษ์สุขภาพ | 0 | 45,000.00 | - |
๑๐.๑ สถานีสะตารักษ์สุขภาพมีเครื่องมือตรวจสุขภาพที่จำเป็นครบครัน เช่น เครื่องวัดความดันโลหิต เครื่องวัดระดับน้ำตาลในเลือด เป็นต้น ๑๐.๒ ประชาชนในชุมชนสามารถเข้าถึงสถานีรักษ์สุขภาพได้ ทำให้เข้าถึงบริการตรวจสุขภาพเบื้องต้นได้ทันเวลา สะดวก และรวดเร็ว ๑๐.๓ อาสาสมัครสาธารณสุขจะได้รับการพัฒนาศักยภาพ จะมีอุปกรณ์เพียงพอในการปฏิบัติหน้าที่ในการให้บริการคัดกรองสุขภาพประชาชน รวมถึงการให้คำแนะนำด้านสุขภาพจิตเสริมสร้างความรอบรู้ เพิ่มความเข้าใจ ในการดูแลสุขภาพ ๑๐.๔เครือข่ายสุขภาพในชุมชน สามารถนำข้อมูลการคัดกรอง ใช้ในการวิเคราะห์และการวางแผนด้านการจัดการสุขภาพของประชาชนในพื้นที่
โครงการเข้าสู่ระบบเมื่อวันที่ 8 ม.ค. 2568 00:00 น.