กองทุนสุขภาพตำบล - กองทุนหลักประกันสุขภาพท้องถิ่น - กปท

แบบเสนอโครงการกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น

กปท.7

แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 17 (2) "ให้พิจารณาอนุมัติโครงการ หรือกิจกรรม ให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุนตามข้อ 10"

อาศัยอำนาจของประกาศ ฯ ข้อ 10 "เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ" จึงได้จัดทำแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

1.
ชื่อ
check_box_outline_blank
แผนงาน
check_box
โครงการ
check_box_outline_blank
กิจกรรม
โครงการ นับคาร์บ ลดพุง พยุงสุขภาพดี วิถีใหม่ห่างไกล NCDs เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2568
2.
ชื่อ
check_box_outline_blank
หน่วยงาน
check_box_outline_blank
องค์กร
check_box_outline_blank
กลุ่มประชาชน
รพ.สต.บ้านปากคลอง
3.
หลักการและเหตุผล

ปัจจุบันประชาชนในวัยทำงานส่วนใหญ่จะนั่งโต๊ะทำงานมีการเคลื่อนไหวร่างกายน้อยไม่ค่อยมีเวลาออกกำลังกายและไม่ค่อยสนใจเรื่องอาหาร มีการบริโภคอาหารหวานมัน และเค็มเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากขนมขบเคี้ยว ดื่มน้ำอัดลมและเครื่องดื่มประเภทกาแฟและน้ำผลไม้ที่เติมน้ำตาลแทนการดื่มน้ำเปล่า ซึ่งสามารถหาซื้อได้ง่าย พฤติกรรมการบริโภคอาหารที่ไม่เหมาะสม และการไม่ออกกำลังกาย นำมาซึ่งการมีภาวะโภชนาการเกินหรืออ้วนลงพุง โรคอ้วนลงพุง (Metabolic Syndrome) เป็นฆาตกรเงียบที่หลายคนคาดไม่ถึง คนที่อ้วนลงพุงจะมีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป โดยมีเส้นรอบเอวของเพศชายเกิน 36 นิ้ว หรือ 90 เซนติเมตร เพศหญิงเกิน 32 นิ้ว หรือ 80 เซนติเมตรซึ่งไขมันเหล่านี้จะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ มีผลให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี เกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวาน ข้อมูลในปี พ.ศ. 2563 จากสหพันธ์โรคอ้วน (World Obesity Federation) ผู้คนราว 1 พันล้านคน หรือคิดเป็น 1 ใน 7 คน กำลังเผชิญกับปัญหาโรคอ้วน สอดคล้องกับรายงาน World Health Statistics 2023 ขององค์การอนามัยโลก รายงานว่า มีผู้ใหญ่ 1.9 พันล้านคน หรือคิดเป็น 39% มีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน สำหรับประเทศไทย ข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุข พบว่าปี พ.ศ. 2566 คนไทยมีปัญหาน้ำหนักเกินและอ้วน 48.35%และกลุ่มคนไทยวัยทำงาน พบว่า 1 ใน 3ของคนไทยวัยทำงานเป็นโรคอ้วนโดยพบคนไทยวัยทำงานอายุ 19 – 59 ปี มีภาวะน้ำหนักเกินร้อยละ 20.31 และมีภาวะอ้วนร้อยละ 28.04 และจังหวัดพัทลุงพบวัยทำงานเป็นโรคอ้วน เป็นอันดับที่ 6 ของประเทศ คิดเป็นร้อยละ 35.33 จะเห็นได้ว่าภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วน เป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญซึ่งต้องเร่งแก้ไข เนื่องจากเป็นปัญหาหนึ่งซึ่งนำไปสู่ผลกระทบต่อสุขภาพ เศรษฐกิจและปัญหาทางจิตสังคมอย่างชัดเจน โรคที่เป็นผลกระทบจากภาวะโภชนาการเกินและโรคอ้วนต่อสุขภาพที่พบในผู้ใหญ่ ได้แก่ ข้อเข่าเสื่อม ภาวะอัมพฤกษ์ อัมพาต ความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง มะเร็งลำไส้ โรคซึมเศร้า เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ โดยเพิ่มการเคลื่อนไหวร่างกาย/การมีกิจกรรมทางกาย (Physical Activity) การพฤติกรรมสุขภาพด้านอาหารและโภชนาการ (Diet) ที่เหมาะสม ลดอาหารหวาน มัน เค็ม เพิ่มการรับประทานผักผลไม้ ควบคุมป้องกันไม่ให้เกิดภาวะโภชนาการเกิน ลดการสูบบุหรี่ ดื่มสุรา จัดการอารมณ์ เป็นการลดปัจจัยเสี่ยง ป้องกันภาวะน้ำหนักเกิน/อ้วนลงพุง และป้องกันการเกิดโรคไม่ติดต่อเรื้อรังได้ ทั้งนี้กรมอนามัยมีนโยบายส่งเสริมการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ 3อ. โดยดำเนินการสนับสนุนการจัดตั้งคลินิกปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพ (DPAC : Diet & Physical Activity Clinic) ในสถานบริการสาธารณสุขในทุกระดับ เพื่อให้ประชาชนได้รับการบริการในคลินิกไร้พุง (DPAC) ส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและควบคุมโรคไม่ติดต่อเรื้อรังให้แก่ประชาชน ในการนี้ รพ.สต.บ้านปากคลองได้เล็งเห็นความสำคัญของการมีภาวะอ้วนลงพุง เพราะจะทำให้เจ้าหน้าที่เอง หรือประชาชนในพื้นที่ ที่มีภาวะอ้วน เสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆได้จึงจัดให้มีโครงการลดพุงลดโรค เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพของตัวเอง เพื่อการมีสุขภาพที่ดีและยั่งยืน

4.
วัตถุประสงค์(เพื่อการจัดบริการสร้างเสริมสุขภาพ ป้องกันโรค ฟื้นฟูสมรรถภาพ และรักษาพยาบาลระดับปฐมภูมิเชิงรุก รวมถึงการจัดกระบวนการหรือกิจกรรมเพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค)
  • 1. เพื่อให้ประชาชนวัยทำงานช่วงอายุ 19-59ปี ได้รับการคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)และวัดรอบเอว เพื่อประเมินภาวะอ้วน
    ตัวชี้วัด : ประชาชนวัยทำงานช่วงอายุ 19-59ปีได้รับการคัดกรองค่าดัชนีมวลกาย (Body Mass Index : BMI)และวัดรอบเอว ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70
    ขนาดปัญหา 50.00 เป้าหมาย 70.00
  • 2. เพื่อให้ประชาชนในวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และได้เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวลดลง
    ตัวชี้วัด : ประชาชนในวัยทำงานที่มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ และได้เข้าร่วมโครงการ มีน้ำหนักและรอบเอวลดลง ร้อยละ 50
    ขนาดปัญหา 20.00 เป้าหมาย 50.00
  • 3. เพื่อเพิ่มพื้นที่การออกกำลังกายและมีคลีนิก DPAC ดำเนินงานต่อเนื่อง
    ตัวชี้วัด : มีการดำเนินงานคลีนิกลดพุง (DPAC)สมาชิกเข้าร่วมโครงการต่อเนื่องตลอดปีไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
    ขนาดปัญหา 0.00 เป้าหมาย 1.00
5.
วิธีดำเนินการ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)
  • 1. ประชุมชี้แจงโครงการ
    รายละเอียด

    ประชุมชี้แจงโครงการต่อเจ้าหน้าที่ และอสม.ในพื้นที่ เพื่อทำความเข้าใจโครงการร่วมกัน วางแผนการดำเนินโครงการ การคัดกรองเพื่อหาค่าดัชนีมวลกาย (BMI) และรอบเอว  รวมทั้งการประชาสัมพันธ์โครงการ

    ไม่มีงบประมาณ

    งบประมาณ 0.00 บาท
  • 2. คัดกรองเพื่อประเมินดัชนีมวลกายและวัดรอบเอวในกลุ่มวัยทำงาน อายุ 19 - 59 ปี
    รายละเอียด

    อสม.ออกคัดกรองหาค่าดัชนีมวลกาย (ฺBMI)และวัดรอบเอวโดยชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว ในประชาชนกลุ่มอายุ 19 - 59 ปี ค้นหาอาสาสมัครเพื่อเป็นสมาชิกเข้าร่วมโครงการ

    งบประมาณ

    • เครื่องชั่งน้ำหนักแบบดิจิทอล เครื่องละ 2,500 บาท จำนวน 2 เครื่อง เป็นเงิน 5,000 บาท

    • สายวัดรอบเอว เส้นละ 30 บาท จำนวน 5 เส้น เป็นเงิน 150 บาท

    งบประมาณ 5,150.00 บาท
  • 3. อบรมให้ความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหารและการออกกำลังกาย
    รายละเอียด

    ผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 50 คน ที่เป็นกลุ่มเสี่ยงของการเกิดโรค มีภาวะน้ำหนักเกินเกณฑ์ , อ้วนเข้าร่วมกิจกรรมลดพุง มีกิจกรรมดังนี้

    1.ลงทะเบียน/ซักถามประวัติ/ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว

    2.ประเมินความเสี่ยงพฤติกรรมสุขภาพ การกินและการออกแรง/ออกกำลังกาย

    3.ประเมินภาวะสุขภาพ/ทดสอบสมรรถภาพทางกาย

    4.ประเมินความพร้อม (State of change) ตั้งเป้าหมายการลดน้ำหนัก ระยะสั้น 1 เดือน และระยะยาว 6 เดือน

    5.ให้ความรู้/จัดโปรแกรม/สอนสาธิต จากวิทยากรสาธารณสุขที่มีความเชี่ยวชาญ ในด้าน

    • อาหาร/โภชนาการ

    • ออกกลังกาย

    • อารมณ์

    งบประมาณ

    -ค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง,วิทยากรจำนวน 55 คน คนละ 2 มื้อๆละ 25 บาทต่อคน เป็นเงิน 2,750 บาท

    -ค่าอาหารกลางวันและเครื่องดื่มของผู้เข้ารับการอบรมและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง,วิทยากรจำนวน 55 คน คนละ 1 มื้อๆละ 50 บาทต่อคน เป็นเงิน 2,750 บาท

    -ค่าสมนาคุณวิทยากรอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การนับคาร์บและการออกกำลังกายชั่วโมงละ 600 บาท จำนวน 6 ชั่วโมง เป็นเงิน 3,600 บาท

    -สมุดบันทึกสุขภาพ จำนวน 50 เล่ม เล่มละ 30 บาท เป็นเงิน 1,500 บาท

    งบประมาณ 10,600.00 บาท
  • 4. ออกกำลังกายแบบแอโรบิกร่วมกัน
    รายละเอียด

    ร่วมกิจกรรมกายบริหาร ออกกำลังกายแบบแอโรบิก โดยการเต้นรำเข้าจังหวะเพลงผ่านVDOทุกวัน จันทร์ - วันศุกร์ ตั้งแต่เวลา 15.30 น.- 16.30 น.ณ ห้องประชุม รพ.สต.บ้านปากคลอง

    งบประมาณ
    -ผ้ายืดออกกำลังกาย เส้นละ 50 บาท จำนวน 10 เส้น เป็นเงิน 500 บาท

    -ยางยืดออกกำลังกาย เส้นละ 100 บาท จำนวน 5 เส้น เป็นเงิน 500 บาท

    -จานทวิส อันละ 120 บาท จำนวน 3 อัน เป็นเงิน 360 บาท

    งบประมาณ 1,360.00 บาท
  • 5. เข้าร่วมคลินิกลดพุง 1ครั้งต่อเดือน
    รายละเอียด

    เข้าร่วมคลีนิกลดพุงลดโรค1ครั้ง/เดือน โดยจะพบกันทุกวันศุกร์ อาทิตย์สุดท้ายของเดือน มีกิจกรรม

    1.ลงทะเบียน

    2.วัดความดันโลหิต ชั่งน้ำหนัก วัดส่วนสูง วัดรอบเอว

    3.ติดตามประเมินภาวะสุขภาพ สอบถาม/ทบทวนและแลกเปลี่ยนการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (สามารถทำได้หรือไม่,อย่างไร)

    4.วิเคราะห์และประเมินการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม ข้อมูลภาวะสุขภาพ และแบบบันทึกพฤติกรรมการบริโภคอาหาร และการเพิ่มการเคลื่อนไหว/การออกกำลังกายที่ผ่านมา ตามเป้าหมายที่ตั้งไว

    5.วิเคราะห์และสรุปผลการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม

    • ผู้ร่วมโครงการสามารถปรับพฤติกรรมได้ตามเป้าหมาย ควรสนับสนุนและส่งเสริมพฤติกรรม ดังกล่าวต่อไป หรือ เพิ่มเติมเป้าหมายพฤติกรรมที่ดีให้ให้มากขึ้น

    -ผู้รับบริการไม่สามารถปรับพฤติกรรมได้ตามเป้าหมาย ควรหาแนวทางแก้ปัญหาหรือ ปรับลดเป้าหมายพฤติกรรมให้สามารถปฏิบัติได้ง่ายขึ้น และเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิต

    -พบปัญหาการปรับพฤติกรรม ส่งต่อผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆเช่นนักโภชนาการ นักกิจกรรมบำบัด แพทย์ประจำรพ.สต.

    6.กำหนด/วางแผนการปฏิบัติการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามเป้าหมายในระยะต่อไป

    7.แจกสื่อ/เอกสาร องค์ความรู้ที่เกี่ยวข้อง (ขึ้นอยู่กับความจำเป็น)

    8.นัดหมาย ติดตาม/ประเมินผล ครั้งต่อไป (ทุก 1-2 เดือนในระเวลา 5 เดือน)

    งบประมาณ

    ป้ายพลาสวูด(Plaswood) คลินิก นับคาร์บ ลดพุง โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านปากคลอง ความหนา 5 มิลลิเมตร ขนาด 50 x 120 เซนติเมตร จำนวน 1 ป้าย ราคา 500 บาท

    งบประมาณ 500.00 บาท
  • 6. อบไอน้ำสมุนไพร
    รายละเอียด

    มีการรับสมัครเพื่อเข้ารับการอบไอน้ำสมุนไพร จากผู้เข้าร่วมโครงการลดพุง 15 คน การอบไอน้ำสมุนไพรจะช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดลมให้ดีขึ้น และช่วยเปิดรูขุมขนและขับเหงื่อ เพื่อให้รู้สึกสบายตัว ซึ่งการอบไอน้ำสมุนไพรจะอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์แผนไทย รพ.สต.บ้านปากคลอง

    ขั้นตอนในการอบสมุนไพร

    1. วัดความดันโลหิตก่อนทำการอบสมุนไพร

    2. นำน้ำประพรมร่างกาย หรืออาบน้ำเพื่อชำระล้างสิ่งสกปรกที่อาจติดอยู่ตามรูขุมขน

    3. เข้าทำการอบ 2 ครั้ง ครั้งละ 15 นาที กรณีผู้ไม่เคยอบควรอบ 3 ครั้ง ครั้งละ 10 นาที

    4. เมื่อครบจำนวนนาทีไม่ควรอาบน้ำทันที ต้องออกมานั่งพักให้เหงื่อแห้งแล้วจึงอาบน้ำ

    5. เมื่อทำการอบจนครบขั้นตอนควรชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิตดูว่า อาการดีขึ้นหรือไม่

    6. แต่ละคนจะได้อบไอน้ำสมุนไพร อาทิตย์ละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 เดือน

    งบประมาณ

    ชุดสมุนไพรอบไอน้ำ ชุดละ 50 บาท จำนวน 240 ชุด รวมเป็นเงิน 12,000 บาท

    งบประมาณ 12,000.00 บาท
  • 7. สรุปผลการดำเนินโครงการและถอดบทเรียนคืนข้อมูล
    รายละเอียด

    สรุปและรายงานผลโครงการและจัดทำรูปเล่ม โครงการDPACลดพุง พยุงสุขภาพดี วิถีใหม่ห่างไกล NCDs เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน ปีงบประมาณ 2568

    งบประมาณ

    ค่าเข้ารูปเล่มโครงการ 200 บาท

    งบประมาณ 200.00 บาท
6.
กลุ่มเป้าหมาย และกิจกรรม(เลือกได้มากกว่า 1 ข้อ)
6.1. กลุ่มหญิงตั้งครรภ์และหญิงหลังคลอด จำนวน คน

6.2. กลุ่มเด็กเล็กและเด็กก่อนวัยเรียน จำนวน คน

6.3. กลุ่มเด็กวัยเรียนและเยาวชน จำนวน คน

6.4. กลุ่มวัยทำงาน จำนวน คน

6.5. กลุ่มผู้สูงอายุ จำนวน คน

6.6. กลุ่มผู้ป่วยโรคเรื้อรัง จำนวน คน

6.7. กลุ่มคนพิการและทุพพลภาพ จำนวน คน

6.8. กลุ่มประชาชนทั่วไปที่มีภาวะเสี่ยง จำนวน คน

6.9. สำหรับการบริหารหรือพัฒนากองทุนฯ [ข้อ 10(4)] จำนวน คน

7.
ระยะเวลาดำเนินการ(ควรระบุตามการดำเนินงานจริง)

ตั้งแต่ วันที่ 1 มีนาคม 2568 ถึง 30 กันยายน 2568

8.
สถานที่ดำเนินการ

พื้นที่ดำเนินการ หมู่ 1 (เขตเทศบาลตำบลบ้านสวน) , ม.2,ม.3,ม.5 ,ม.7 ต.มะกอกเหนือ อ.ควนขนุน จ.พัทลุง

9.
งบประมาณ(ให้สอดคล้องกับวิธีดำเนินการ ที่ตั้งไว้ตามข้อ 5)

รวมงบประมาณโครงการ 29,810.00 บาท

หมายเหตุ : ทุกรายการถั่วเฉลี่ยกันได้

10.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ(ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ตามข้อ 4)

-ประชาชนในวัยทำงานเกิดความตระหนักในการดูแลสุขภาพ ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคอาหาร การมีกิจกรรมทางกาย การจัดการอารมณ์ เพื่อลดน้ำหนักลดเอว สู่การมีสุขภาวะที่ดี -ผู้เข้าร่วมโครงการลดพุงลดโรค (DPAC) สามารถลดน้ำหนักและลดเอวได้สำเร็จ -มีการดำเนินโครงการลดพุงลดโรคผ่านคลีนิกDPACต่อเนื่อง

11.
คำรับรองความซ้ำซ้อนของงบประมาณ

ข้าพเจ้า ................................................................ ตำแหน่ง.................................................... หน่วยงาน................................................................................ หมายเลขโทรศัพท์......................................................... ในฐานะของผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ขอรับรองว่า แผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ที่เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ ในครั้งนี้

  • check_box_outline_blank ไม่ได้ซ้ำซ้อนกับงบประมาณที่ได้รับจากแหล่งอื่น
  • check_box_outline_blank สอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน ของ กปท.
  • check_box_outline_blank รับทราบถึงกฎ ระเบียบ ข้อบังคับ และวิธีการดำเนินงานตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการระบบหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม แล้ว


ลงชื่อ............................................................ผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................
- เห็นชอบ/อนุมัติ
- ให้เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากกองทุนหลักประกันสุขภาพ


ลงชื่อ............................................................หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

      (............................................................)

ตำแหน่ง ............................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................

กปท.8

แบบเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
เรื่อง ขอเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ประจำปีงบประมาณ 2568
เรียน ประธานกรรมการกองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน
เอกสารแนบ แบบจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม (แบบ กปท.7) จำนวน 1 ชุด

ตามประกาศคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง หลักเกณฑ์เพื่อสนับสนุนให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุนหลักประกันสุขภาพในระดับท้องถิ่นหรือพื้นที่ พ.ศ.2567 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ข้อ 10 “เงินกองทุนหลักประกันสุขภาพตามข้อ 7 วรรคหนึ่ง ให้ใช้จ่ายเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมเป็นค่าใช้จ่ายตามแผนงาน โครงการ หรือกิจกรรม ที่คณะกรรมการกองทุนอนุมัติ” นั้น

หน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ได้ดำเนินการจัดทำแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม มาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ กปท. ตามเอกสารแนบ

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาอนุมัติ

ลงชื่อ .................................................. หัวหน้าหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน

(...........................................................)

ตำแหน่ง ...............................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ......................................

กปท.9

แบบอนุมัติแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

กองทุนสุขภาพตำบล เทศบาลตำบลบ้านสวน รหัส กปท. L3325

อำเภอควนขนุน จังหวัดพัทลุง

วัน...........เดือน............................................ พ.ศ. ............
ผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม

ตามมติการประชุมคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพ ครั้งที่ ....................... เมื่อวันที่ .................................................... สรุปผลการพิจารณาแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ดังนี้

1. ความสอดคล้องกับแผนสุขภาพชุมชน
check_box_outline_blank
สอดคล้อง
check_box_outline_blank
ไม่สอดคล้อง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
2. ความซ้ำซ้อนของงบประมาณกองทุน ฯ กับงบประมาณจากแหล่งอื่น
check_box_outline_blank
ซ้ำซ้อน
check_box_outline_blank
ไม่ซ้ำซ้อน
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
3. ความเสี่ยงจากผลประโยชน์ทับซ้อน
check_box_outline_blank
เสี่ยง
check_box_outline_blank
ไม่เสี่ยง
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
4. เป็นหน่วยงาน/องค์กร/กลุ่มประชาชน ที่มีสิทธิขอรับงบประมาณ (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
5. ประเภทการสนับสนุน (ตามประกาศ ฯ พ.ศ. 2567 ข้อ 10) (เลือกเพียง 1 ข้อ)
6.งบประมาณที่เสนอ จำนวน 29,810.00 บาท
check_box_outline_blank
อนุมัติงบประมาณ เนื่องจากแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
check_box_outline_blank
ประชาชนได้รับผลประโยชน์
check_box_outline_blank
ตรงตามวัตถุประสงค์ของกองทุนฯ
check_box_outline_blank
ผู้รับผิดชอบงานมีศักยภาพ
check_box_outline_blank
ค่าใช้จ่ายมีความคุ้มค่า
จึงเห็นควรสนับสนุน เป็นเงิน จำนวน ........................................ บาท
ความเห็นเพิ่มเติม..................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ไม่อนุมัติงบประมาณ
เพราะ...................................................................................................................................................
check_box_outline_blank
ให้รายงานผลการดำเนินงานแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม
ภายในวันที่................................................(ตามแบบฟอร์ม ฯ กปท.10)
check_box_outline_blank
ให้ อปท. แจ้งผู้เสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรม ทราบผล เพื่อดำเนินการ ต่อไป
ลงชื่อ ....................................................................

(....................................................................)

ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบการประชุม

วันที่-เดือน-พ.ศ. ....................................................

ลงชื่อ ....................................................................

ตำแหน่ง ....................................................................

วันที่-เดือน-พ.ศ. ..................................................